กัมพูชาวางโครงการสายส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อทำการนำเข้าพลังงานไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (MME) ระบุว่าการก่อสร้างสายส่งกำลังไฟฟ้ามูลค่ารวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์ที่เชื่อมระหว่างกัมพูชากับสปป.ลาวและชายแดนไทยจะแล้วเสร็จในปีหน้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน โดยรัฐบาลผ่านคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการลงทุนสายส่งกำลัง 500 กิโลโวลต์ จากพนมเปญไปยังชายแดนกัมพูชา-สปป.ลาวและสายส่งกำลังอีก 500 กิโลโวลต์จากพระตะบองถึงชายแดนกัมพูชา-ไทย ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพลังงานของ MME กล่าวว่ารัฐบาลได้เชิญ SchneiTec Co Ltd. เข้าลงทุนใน 2 โครงการนี้หลังจากที่ได้เสนอให้บริษัททำการศึกษาทางเทคนิคและการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนหน้านี้ โดยกล่าวว่าสายส่งกำลังที่เชื่อมต่อไปยังชายแดน สปป.ลาว จะมีความยาว 300 กม. และอีกสายหนึ่งจากจังหวัดพระตะบองถึงชายแดนไทยจะอยู่ที่ประมาณ 110 กม. ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะนำเข้าไฟฟ้าประมาณ 300 mW จากโรงงานในเฟสแรกภายในปี 2025 และอีก 300 mW ในปีต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777612/400-million-transmission-line-to-bring-in-laos-thailand-power/

รัฐบาลกัมพูชาหารือนักลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนสายใหม่

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) จัดให้มีการปรึกษาหารือเพื่อตัดสินใจที่ตั้งของถนนสายที่ 4 รอบกรุงพนมเปญ โดยเมื่อสร้างเสร็จแล้วคาดว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและการขนส่งสินค้า แต่ที่ตั้งของโครงการอยู่ระหว่างการควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นราคาที่ดินซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในโครงการที่ผ่านมา ซึ่งให้คำปรึกษาและนำเสนอโดย China Road and Bridge Corp (CRBC.) ในภาพรวมของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยการปรึกษาหารือมีตัวแทนจากกระทรวงและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดจนตัวแทนจาก 10 บริษัท ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ ซึ่ง MPWT ยืนยันว่าจะสร้างถนนใหม่หลังจากการก่อสร้างถนนวงแหวนแห่งชาติที่ 3 เสร็จสมบูรณ์ ที่มีความยาวอยู่ที่ 53 กิโลเมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2022 ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น และในช่วงสองปีที่ผ่านมาราคาที่ดินริมถนนทางหลวงสูงขึ้นถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50775152/speculation-fears-over-location-of-new-ring-road/

กัมพูชาวางแผนส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ

แต้มต่อของกัมพูชาในการทำธุรกิจตั้งแต่ดั่งเดิมคือการขาดโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับสำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งขาดความสะดวกในการทำธุรกิจและต้นทุนการผลิตที่สูงยังคงเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนที่จะต้องทำการพัฒนาบนโครงสร้างพื้นฐานหากประเทศต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในระดับภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังระบุว่ากัมพูชาได้เสนอแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพให้กับนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นภาคแรงงาน โครงสร้างประชากร ค่าแรงขั้นต่ำ ยังเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่น่าดึงดูดที่สุดของประเทศเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งโครงการทางด่วนพนมเปญ – สีหนุวิลล์กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังพัฒนาพนมเปญโลจิสติกส์คอมเพล็กซ์ (PPLC) ให้เป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพในการส่งเสริมภาคการขนส่งของกัมพูชาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและโลกในวงกว้างได้ ไปจนถึงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟให้กระจายไปได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774345/promoting-infrastructure-to-boost-trade-status/

ADB ให้เงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ แก่กัมพูชาสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในกรุงพนมเปญและอีกสามจังหวัดโดยรอบ ซึ่งโครงการนี้จะนำร่องระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดยูทิลิตี้แห่งแรกในกัมพูชา โดยคำแถลงกล่าวว่าโครงการนี้จะช่วย Electricite du Cambodge ที่ทำสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าแห่งชาติของกัมพูชาเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งโดยการจัดหาเงินทุนในการก่อสร้างสายส่ง 115–230 กิโลโวลต์ 4 สายและสถานีย่อย 10 แห่ง ในพนมเปญ กัมปงชนัง กำปงจาม และจังหวัดตาแก้ว ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บไฟฟ้าได้ 16 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง และให้บริการเพื่อช่วยในการผสมผสานพลังงานหมุนเวียน การบรรเทาความแออัดของระบบส่งผ่านและการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานทางด้านไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763512/adb-provides-127-8-million-loan-for-reliable-electricity-infrastructure/

กัมพูชาวางแผนจัดซื้อเครนใหม่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท่าเรือน้ำลึก

Kalmar ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Cargotec ได้สรุปข้อตกลงระหว่าง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) เพื่อจัดหาเครนจาก Kalmar SmartPower Rubber-Tyred Gantry (RTG) จำนวน 4 ตัว สำหรับท่าเรือ LM17 Container Terminal โดย Cargotec จำทำการส่งมอบเครนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ซึ่งท่าเรือ LM17 ของ PPAP เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ในเดือนมกราคมปี 2013 ในจังหวัดกันดาล สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ราว 150,000 TEUs ณ ปัจจุบัน ซึ่งการสั่งซื้อเครนในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือน้ำลึก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตของบริษัทภายในประเทศที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทอร์มินัลขนส่งให้เป็นสองเท่า รวมถึงเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในท่าเรือที่ได้มาตรฐานในระดับสากล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758112/kalmar-smartpower-rtgs-chosen-for-port-expansion-in-cambodia/

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat ดำเนินการระยะสองในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat จะเริ่มดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำให้เข้ากับการวางผังเมืองรวมถึงมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง บันทึกความเข้าใจ (MOU) สำหรับกองทุนดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ได้รับความร่วมมือระหว่างกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งและมูลนิธิที่อยู่อาศัยของสหประชาชาติ ซึ่งภายในงานนางวิไลคำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของน้ำ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และเธอหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเข้าถึงผู้คนที่เปราะบางมากขึ้น การพัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำดังกล่าว จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่ในการทำให้แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว แข็งแกร่งและดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนได้มากขึ้นและเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกจสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_165.php

อัตราความยากจนสปป.ลาวยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

แนวโน้มความยากจนในสปป.ลาวยังคงลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1992-1993 อัตราอยู่ที่ร้อยละ 46 และลดลงเป็นร้อยละ 39 ในปี 1997-1998 จนในปี 2561-2562 ลดลงเหลือร้อยละ 18.3 โดยมีปัจจัยจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟฟ้า ระบบการขนส่ง น้ำสะอาดและการเข้าถึงสุขาภิบาลรวมถึงการบริโภคหรือความมั่นคงด้านอาหาร ตามข้อมูลจากการสำรวจการบริโภคและการใช้จ่ายของสปป.ลาวในปี 2561-2562 การบริโภคและการใช้จ่ายของครัวเรือนในสปป.ลาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 เมื่อเทียบกับปี 2555-2556 นอกจากนี้จากการสำรวจของสำนักงานสถิติลาว (LSB) ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนพบว่าประชาชนสปป.ลาวสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.8 การเข้าถึงไฟฟ้าร้อยละ 76.5 การเข้าถึงโครงการฉีดวัคซีนได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3    ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สนับสนุนให้ความยากจนของสปป.ลาวลดลงอย่างต่อเนื่องนั้นเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Poverty145.php

กัมพูชาวางแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มเติมในสีหนุวิลล์ปีหน้า

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Phase 1 ในจังหวัดสีหนุวิลล์มีกำหนดเริ่มต้นในปี 2021 และคาดว่าจะใช้เวลาสามปีในการก่อสร้างจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรองผู้อำนวยการท่าเรืออัตโนมัติสีหนุวิลล์กล่าวว่าการออกแบบรายละเอียดของโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทเพื่อทำการก่อสร้าง ซึ่งท่าเรือน้ำลึกที่กำลังจะก่อสร้างนี้มีความยาว 350 เมตร มีความลึกอยู่ที่ 14.50 เมตร โดยสามารถรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 13 เมตร และเรือขนาดกลางที่มีความจุ 5,000 TEU ได้ ซึ่งใช้เงินทุนจากการกู้ยืมเงินทางญี่ปุ่นประมาณ 209 ล้านดอลลาร์ ในเฟสแรกของท่าเรือน้ำลึกในการสร้างขึ้นด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747703/deep-water-port-terminal-construction-at-sihanoukville-to-begin-next-year/

EXIM BANK ปล่อยกู้ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป. ลาว

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (บีซีพีจี) ร่วมลงนามกับ ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว นอกจากนี้ยังร่วมลงนามกับนายมานาบุ อิโนอุเอะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) (SMTBT) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 6,465.07 ล้านเยน (ประมาณ 1,900 ล้านบาท) ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ชิบะ 1 (Chiba 1) ในประเทศญี่ปุ่น ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ บีซีพีจี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานทดแทนเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยมี ไอซีบีซี (ไทย) และ ไอซีบีซี เวียงจันทน์ ร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่บริษัท บีซีพีจี อินโดไชน่า จำกัด สำหรับลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Nam San 3A และ Nam San 3B ใน สปป. ลาว กำลังการผลิตรวม 114 เมกะวัตต์ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของเวียดนาม และ สปป.ลาว ในการก่อสร้างสายส่งเชื่อมต่อชายแดนของทั้งสองประเทศ เพื่อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ไปยังประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/628866

คลองชลประทานภายในกัมพูชาเข้าถึงพื้นที่การเพาะปลูกกว่าร้อยละ 62

ในช่วงกลางปี 2563 ระบบชลประทานของกัมพูชาสามารถเข้าถึงได้โดยประมาณร้อยละ 62 ของพื้นที่เพาะปลูก 2,957,400 เฮกตาร์ทั่วประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะเพิ่มความครอบคลุมต่อไปเมื่อโครงการพัฒนาชลประทานขนาดใหญ่ 12 โครงการเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566 ซึ่งในปี 2562 น้ำชลประทานครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม 1,835,422 เฮกตาร์ ทั่วประเทศกัมพูชารวมถึง 537,077 เฮกตาร์ สำหรับปลูกข้าวในฤดูแล้งและ 1,298,345 เฮกตาร์สำหรับปลูกข้าวในฤดูฝน  หากเปรียบเทียบกับความครอบคลุมของการชลประทานระหว่าง 2510-2562 การเข้าถึงของคลองชลประทานเพิ่มขึ้นร้อยละ 81รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยังเน้นย้ำถึงความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการฟื้นฟูและพัฒนาระบบชลประทานของกัมพูชาเพื่อสนับสนุนและขยายการพัฒนาการเกษตรของประเทศต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739924/water-from-cambodias-irrigation-canals-accessible-by-62-of-total-farm-land/