เวียดนามเผยยอดการค้าระหว่างประเทศ ม.ค.-ก.ย. แตะ 389 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม อยู่ที่ 388.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบปีต่อปี (หรือ 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 4.1 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 202.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 เหลืออยู่ที่ 186.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้าถึง 16.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ทั้งนี้ ในเดือนก.ย. มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามทำสถิติสูงสุดแตะราว 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าสูงสุดติดต่อกัน 2 เดือน นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบปีต่อปี นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 อยู่ที่ 79.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบปีต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบไตรมาสที่ 2

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-turnover-hits-nearly-us389-billion-in-jan-sept-314477.html

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับไทยอยู่ที่ 5.07 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 5,073 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่าราว 913 ล้านดอลลาร์ ไปยังประเทศไทยลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีถึงร้อยละ 40 ตามตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ไทย ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยสูงถึง 4,161 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 คิดเป็น 9,418 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกไปยังไทย 2,272 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 195

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770207/cambodia-thailand-trade-breech-5-07-billion-in-first-eight-months-registering-a-16-percent-decrease/

มูลค่าการค้าเมียนมาสูงขึ้นแม้ COVID-19 ระบาด

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ณ เดือนสิงหาคม 63 หนึ่งเดือนก่อนปิดปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึง 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้จะมีการระบาดของ COVID-19 การส่งออกแตะที่ 16.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้า 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้าประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าสำหรับการ ผลิต ตามด้วยผลิตผลทางการเกษตรทรัพยากรและแร่ธาตุที่ขุดได้ การนำเข้าประกอบด้วยสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์ ยานพาหนะและเครื่องจักร ตลอดจนวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ประเทศคู่ค้าอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย เกาหลี และเวียดนาม เมื่อเร็วๆ นี้ การค้าชายแดนได้รับผลกระทบ เช่น การค้าที่ท่าขี้เหล็กของรัฐฉานชายแดนระหว่างเมียนมาและไทยเพิ่งปิดไปส่วนไทยอนุญาตให้รถจากเมียนมาเพียง 6 คันเข้าอำเภอแม่สายของไทยได้ การค้าระหว่างเมียนมาและจีนยังต้องหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (Ruili) ถูกปิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบ COVID-19 หลุ่ยลี่เป็นจุดผ่านแดนสำคัญระหว่างจีนและเมียนมาใกล้กับมูเซของรัฐฉาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-rise-despite-covid-19.html

เปิดเวทีรับฟังเอฟทีเอ ไทย-อียู 22ก.ย.นี้ เพิ่มโอกาสค้าขายสินค้าไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู 22 ก.ย.นี้ หลัง “ไอเอฟดี” ศึกษาเสร็จแล้ว “อรมน” ชี้ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับประเทศที่มี FTA รวม 62.8% ถ้าได้อียูที่มีสัดส่วนการค้า 7.9% จะทำให้การค้าของไทยกับประเทศที่ทำ FTA เพิ่มเป็น 70.7% ยิ่งสร้างโอกาสค้าขาย แย้มผลศึกษา สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกได้เพียบ แต่ก็ต้องเปิดตลาดให้อียูเพิ่ม จับตาหากเจรจา ต้องรับมือกับประเด็นใหม่ๆ ด้วย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดการสัมมนา “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ในวันที่ 22 ก.ย.2563 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งระดมความเห็นเรื่องการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นเสนอระดับนโยบายประกอบการพิจารณาตัดสินใจการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ ผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า การทำ FTA กับอียูจะช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปอียู เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก แต่ในทางกลับกัน ไทยจะต้องเปิดตลาดให้อียู ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการไทยนำเข้าสินค้าบางชนิดจากอียูเพิ่มขึ้น เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เมล็ดพืชน้ำมัน และสินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น ขณะเดียวกัน ยังพบว่า FTA ที่อียูทำกับสิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ รวมไว้ในการจัดทำ FTA ด้วย เช่น การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานแรงงาน และการปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยต้องพิจารณาระดมความเห็นว่าไทยพร้อมที่จะเจรจากับอียูในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร เพราะจะมีผลต่อการนำไปสู่การปรับกฎเกณฑ์ทางการค้าของไทย.

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/796498

รอบสองเดือนการค้าเมียนมา-จีน แตะ1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและจีนอยู่ที่ 1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสองเดือนของปีงบประมาณนี้และเมียนมามีดุลการค้าเนื่องจากนำเข้าสินค้าเพียง 551 ล้านดอลลาร์ ส่วนการส่งออกมูลค่ากว่า 785 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งสองประเทศเปิดศูนย์ธุรกิจและดำเนินการเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและการลงทุนตามที่กระทรวงกำหนด กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาลงนาม MoU กับจีนเพื่อจัดตั้งเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน (EOI) และเชิญให้นักธุรกิจท้องถิ่นเข้าร่วมในพื้นที่ดังกล่าวเช่น Muse, Nantkhan, Kanpiketie, Laukkai และ Chinshwehaw

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-trade-volume-reaches-to-us1337-b-within-two-months

ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน ทะลุ 117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมอยู่ที่ 517.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 264.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 253.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สำหรับยอดเกินดุลการค้าในปีที่แล้วอยู่ที่ 11.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งนี้  จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.6 ของยอดการค้ารวมในปีที่แล้ว) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าจากจีนเติบโตอย่างมาก ขณะที่ เวียดนามส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น ดุลการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน จึงขาดดุลการค้ามากกว่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571193/viet-nam-china-import-export-turnover-reaches-117-billion.html

การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้น 13.8%

การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่าถึง 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 13.8% จากเดือนมกราคมถึงตุลาคม โดยการเพิ่มขึ้นของอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งทั้งสองประเทศมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการค้าให้ถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 โดยหอการค้าเวียดนามและหอการค้ากัมพูชาร่วมกันจัดเวทีธุรกิจในกรุงพนมเปญ ซึ่งฟอรัมในครั้งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยพวกเขาได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนการค้าและการปกป้องผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขององค์กร ซึ่งเวียดนามรายงานว่าขณะนี้มีโครงการลงทุน 214 แห่ง ในกัมพูชาด้วยการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สิ่งนี้ทำให้เวียดนามเป็นผู้ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับห้าในกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชามีโครงการลงทุน 21 โครงการในเวียดนามด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 64 ล้านเหรียญสหรัฐติดอันดับ 54 ใน 132 ประเทศที่ลงทุนในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50669272/kingdoms-trade-with-vietnam-rises-13-8/

มูลค่าการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นราว 590 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 15 พ.ย.ของปีงบประมาณนี้มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 4.598 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 587.875 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขาดดุลการค้าเกือบ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2.289 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่มูลค่าการนำเข้าแตะ 2.309 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดุลการค้าขาดดุลลดลงกว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เกษตร, สัตว์, ทะเล, ป่าไม้, เหมืองแร่, ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ และวัตถุดิบ CMP มูลค่าการค้าโดยรวมคาดว่าจะสูงถึง 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 การส่งออกสามารถทำรายได้มากถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 62-62 มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 34,979 ล้านเหรียญสหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/total-trade-value-increases-by-around-590-m

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 37% ในช่วงเก้าเดือนแรก

ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลสหรัฐแสดงให้เห็นว่าการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นกว่า 37% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 38% เป็น 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯมีมูลค่าอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญเพิ่มขึ้น 24% ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ทำการส่งออกไปยังสหรัฐฯคือสิ่งทอ, รองเท้า, สินค้าทางการท่องเที่ยว, และสินค้าเกษตร ส่วนของสินค้าที่กัมพูชานำเข้าส่วนมากจะเป็นยานพาหนะ, อาหารสัตว์ และเครื่องจักร  โดยในเดือนกรกฎาคม 2559 กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวไปยังสหรัฐฯภายใต้สิทธิ GSP ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯมีมูลค่าถึง 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657709/cambodia-us-trade-up-37-pct-in-first-nine-months/

ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและกวางสีที่กำลังจะขยายตัว

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาให้คำมั่นว่าจะเพิ่มปริมาณการค้ากับมณฑลกวางสีทางตอนใต้ของจีนภายในสิ้นปีนี้ประมาณ 30% โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ที่ 54 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วและคาดว่าในปีนี้จะมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลได้ปฏิรูปและร่างมาตรการที่เป็นรูปธรรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจในกัมพูชาเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยรวมระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่าการค้าประมาณ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ในขณะที่จีนทำการลงทุนในกัมพูชาประมาณ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนักลงทุนจีนมีส่วนร่วมในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจในกัมพูชาเช่นโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ การเงิน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50645741/cambodia-guangxi-trade-volume-to-expand-commerce-ministry/