จีดีพีเมียนมาโต 6% ในปีหน้า

ประชุมร่วมรัฐสภา ( Pyidaungsu Hluttaw) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา U Set Aung รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการคลังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ในปีงบประมาณ 2563-2564  ตามร่างพระราชบัญญัติการวางแผนแห่งชาติ จีดีพีของประเทศคาดจะสูงถึง 125.8 ล้านล้านจัตและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีคาดว่าจะมากกว่า 2.2 ล้านจัต เมื่อเทียบปีงบประมาณ 2562-2563 อยู่ที่ 2 ล้านจัตใน และปี 2561-2562 อยู่ที่ 1.9 ล้านจัต โดยภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการถือเป็นรายได้หลักของจีดีพี ซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ 2.6%, 6.5% และ 7.4% ตามลำดับ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-grow-6-next-year.html

INFOGRAPHIC : ครึ่งแรกของปี 2563 GDP เวียดนามโต 1.81%

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามขยายตัวชะลอ 1.81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ซึ่งเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วง 6 เดือนของปี 2554-2563

ที่มา : https://baodautu.vn/infographic-gdp-6-thang-nam-2020-tang-181-d124941.html

เวิลด์แบงก์ชี้จีดีพีไทยปี’63 หดตัวกว่า 5% คาดตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยเวิลด์แบงก์คาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ปีนี้อาจหดตัวกว่า 5% และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่า ที่จะกลับสู่ระดับจีดีพีก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 การส่งออกคาดหดตัวประมาณ 6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลง 3.2% เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาส 2/2563 ประกอบกับมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางไปถึงครัวเรือนที่ยากจน ภาคการท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 “ประมาณการว่าไทยจะมีคนตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน ทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง ซึ่งจากรายงานยังพบอีกว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรกเป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาส 2/2563 โดยเฉพาะ สัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6% เป็น 20%”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4412170

เศรษฐกิจเวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตในระดับต่ำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.81 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ครึ่งปีแรกปี 2554 ซึ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า GDP ของเวียดนามเติบโตร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสสองของปี 2554-2563 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงไตรมาสสอง และรัฐบาลเพิ่มข้อปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรก ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมงมีการขยายตัวร้อยละ 1.19, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างเติบโตร้อยละ 2.98 และภาคบริการเติบโตร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการ GSO กล่าวว่าผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลกระทบทางลบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงระบบการเมือง เป็นต้น รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีเห็นถึงความสำคัญในการต่อสู้กับ COVID-19 และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องสุขภาพและชีวิตของผู้คน แม้ว่าจะสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็ตาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-records-decadelow-h1-growth/177673.vnp

พิษโควิด จีดีพีดิ่ง! ว่างงานพุ่งรอบ 20 ปี

ทีดีอาร์ไอชี้ โควิด-19 พ่นพิษ อัตราว่างงานพุ่ง 8-12 เท่าสูงสุดในรอบ 20 ปี เหตุเศรษฐกิจหดตัวแรง และชะลอต่อเนื่อง 2-3 ปีข้าง เตรีบมทบทวนตัวเลขเพิ่ม หลังธปท.ปรับคาดการณ์จีดีพี เหลือติดลบ 8.1% จากเดิมติดลบ 5.3%  ด้านกสิกรไทยชี้ อัตราว่างงานค้างไม่ตํ่ากว่า1 ล้านคน ตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) เศรษฐกิจไทยปีนี้ทั้งปี มีแนวโน้มจะติดลบถึง 8.1% จากที่คาดการณ์เดิมจะติดลบ 5.3% เหตุเพราะตัวเลขจากทีมเศรษฐกิจรัฐบาลได้ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 จะติดลบถึง 15.5% และจะติดลบน้อยลงเหลือ 10.2% ในไตรมาส 3 และเหลือติดลบ 5.5% ในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนสถานการณ์ด้านแรงงานนั้น อัตราว่างงานจะเพิ่ม 3-4% จากเดิมอยู่ที่ระดับ 1% ซึ่งค่อนข้างสูงมาก หากย้อนเทียบกับต้มยำกุ้ง ภาคเกษตรและการบริโภคภายในประเทศยังดี แต่วันนี้ตรงกันข้าม ซึ่งภาคการท่องเที่ยวยังน่าเป็นห่วง เพราะก่อนหน้าไทยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนแต่หากนักท่องเที่ยวไม่กลับมาก็มีความเสี่ยงสูง

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/439975?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

รัฐบาลสปป.ลาวปรับเป้าหมายการเติบโตของ GDP

รัฐบาลได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการตัดสินใจที่จะลดเป้าหมายจีดีพีในปี 63 ให้เป้าหมายการเติบโตของจีดีพี ลดลงจาก 6.5% เหลือ 3.3-3.6% เนื่องจาก Covid-19  และยังขอลดการจัดเก็บรายได้และเป้าหมายการใช้จ่ายจาก 28,997 พันล้านกีบเป็น 22,725 พันล้านกีบและจาก 35,693 พันล้านกีบเป็น 33,043 พันล้านกีบตามลำดับ ในส่วนของค่าใช้จ่ายเสนอให้ลดงบประมาณลง 30% สำหรับองค์กรระดับกลางและลด 10% สำหรับองค์กรท้องถิ่น ยังแนะนำให้เลื่อนการชำระงบประมาณการลงทุนภาครัฐอย่างน้อย 50% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ขออนุมัติการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลงบประมาณจาก 3.77% ของ GDP เป็น 5.87% ซึ่งจะเพิ่มจาก 6,696 พันล้านเป็น 10,318 พันล้านกีบ ทั้งนี้ยังได้แนะนำมาตรการที่รัฐบาลวางแผนที่จะดำเนินการในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนการจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมการเติบโตของปริมาณเงินและสินเชื่อด้อยคุณภาพ สร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน มาตรการอื่นๆรวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนในและต่างประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจ พัฒนาทักษะของแรงงานและบรรเทาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt121.php

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

GDP เมียนมาคาดลดลงเล็กน้อย

จากการคาดการณ์ GDP ของปีงบประมาณปัจจุบันของปี 2562-2563 จะลดลงเล็กน้อย ประมาณการ GDP เบื้องต้น ได้รับการแก้ไขเป็น 118.9 ล้านล้านจัตมากกว่า 119 ล้านล้านจัตจากกปีก่อนหน้าเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลให้ขาดดุลการคลังต่อ GDP จะลดลงเป็น 5.5% จาก 5.7% รายได้จากภาษีคาดว่าในอีกสี่เดือนข้างหน้าคาดว่าจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5050 พันล้านยูโรส่งผลให้รายได้ภาษีต่อจีดีพี 7.1% จาก 6.7%

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-estimate-be-slightly-reduced.html

สศช.ประเมินพิษ “โควิด” ฉุดจีดีพีไทยทั้งปีติดลบ 5-6%

สศช.เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 63 ติดลบ 1.8% ส่วนแนวโน้มปี 63 คาดว่า ติดลบ 5-6% เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 เป็นหลัก พร้อมคาดไตรมาส 2 น่าจะหนักที่สุดหลังจากทุกกิจการหยุดหมด นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 63 และแนวโน้มปี 63 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวลดลง 1.8% เทียบกับการขยายตัว 1.5%  ในไตรมาสก่อน หลังจากได้รับผลกระทบโควิด-19 และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 2 ประเมินว่า น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะเกิดการล็อคดาวน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ และการท่องเที่ยวหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามทั้งปี 63 สศช. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวลดลงในช่วงลบ 5-6% เนื่องจากการปรับตัวลดลงรุนแรงของเศรษฐกิจ และปริมาณการค้าโลก ,การลดลงรุนแรงของจำนวน และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ,เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ และ ปัญหาภัยแล้ง โดยคาคว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลง 8% การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลง 1.7% และ 2.1% ตามลำดับ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/775078