ตู้รถไฟจากเกาหลีใต้ถึงท่าเรือติลาว่าแล้ว

ตู้รถไฟชุดที่สองจำนวน 10 ลำจากเกาหลีใต้ที่ซื้อโดยการรถไฟแห่งเมียนมา (MR) ภายใต้เงินกู้ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก EXIM Bank ของเกาหลีใต้มาถึงท่าเรือติลาว่าในวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนอะไหล่กำลังถูกส่งไปยังโรงงานขนส่งรถไฟมยิแง ซึ่งรถไฟจำถูกนำมาใช้ในเส้นทางมัณฑะเลย์ มิตจีนา ตู้ขบวนใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 33 คนและเริ่มให้บริการได้ในต้นเดือนมี.ค.นี้ MR ได้กู้ยืมเงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเกาหลีใต้ภายใต้กองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (EDCF) และได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท Dawonsys จากเกาหลีใต้เพื่อซื้อตู้รถไฟใหม่ 100 คัน เมียนมามีโครงการพัฒา เช่น โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ ด้วยเงินกู้ยืมจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังจับมือกับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินนานาชาติหันตาวดี ทั้งนี้เมียนมาใช้เงินกู้ 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เพื่อยกระดับเส้นทางรถไฟย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์ด้วยแผนห้าปีตั้งแต่ปี 61 ถึง ปี 66

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ten-train-coaches-from-south-korea-arrives-in-thilawa-port

มูลค่าส่งออกเมียนมาพุ่ง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 3 เดือน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 ม.ค.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.061 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 4.009 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงมียอดเกินกว่า 1.052 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เกษตร สัตว์ทะเล ป่า เหมืองแร่ การผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP ฯลฯ การนำเข้าของเมียนมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม ของใช้ส่วนตัว วัตถุดิบเกี่ยวกับ CMP ฯลฯ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ ผ่อนคลายขั้นตอนการดำเนินการ สนับสนุนภาคเอกชน การรับมือกับการถูกถอด GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 34.979 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/export-value-over-5-bn-in-over-three-months

เมียนมาขาดดุลการค้าในรอบ 3 เดือนกว่า 670 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับปีก่อน

มูลค่าการส่งออกในช่วงสามเดือนครึ่งของปีงบประมาณนี้เกินกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขณะที่ยอดขาดดุลการค้าลดลงกว่า 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 ถึง 10 ม.ค. 63 มูลค่าการค้ารวม 10.443 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 8.953 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ดังนั้นปีนี้มีจำนวนเกิน 1.489 พันล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกในรอบระยะเวลาสามเดือนของปีงบประมาณนี้สูงถึง 5.061 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้าสูงกว่า 256.723 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นการขาดดุลการค้าอยู่ที่ 256.723 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วแตะระดับ 935.452 ล้านดอลลาร์ การขาดดุลการค้าในปีงบประมาณปัจจุบันคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการขาดดุลการค้า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 61-62 แม้ว่าการขาดดุลทางการค้าคาดว่าจะลดลงเหลือ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/trade-deficit-in-over-3-months-this-fy-falls-over-670m-compared-with-last-year

การลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาเพิ่มเป็นสองเท่า

เมียนมาอนุมัติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วงสามเดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 เพิ่มเป็นสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ณ วันที่ 10 มกราคม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนในโครงการมูลค่ารวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 62-63 ในวันที่ 1 ต.ค. 62 ตามข้อมูลของสำนักงานบริหารจัดการบริษัทและทะเบียนบริษัท (DICA) ในช่วงเวลาดังกล่าวได้อนุมัติเงินลงทุนจำนวน 800 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการ 60 โครงการ ล่าสุดปฏิเสธโครงการลงทุนสองโครงการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในการประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม รายงานของธนาคารโลกระบุว่ากระแสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีสัญญาณการฟื้นตัวในปี 62 อย่างไรก็ตามรายงานเพิ่มเติมว่าการลงทุนที่ยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อดึงดูดเงินลงทุน DICA รายงานว่า FDI เพิ่มขึ้นเป็น 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 61-63 จาก 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 60-61 และคาดว่าจะสูงถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณปัจจุบัน สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดตามด้วยจีน และฮ่องกง สาขาที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ น้ำมันและก๊าซรองลงมา ได้แก่ หมวดพลังงานและภาคอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/foreign-investment-inflows-double-myanmar-govt.html

บริษัทฮ่องกงลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในเจาะพยู มูลค่ากว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและกำกับดูแลบริษัท (DICA)  บริษัท CNTIC VPower KY3 Limited จากฮ่องกงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนและผลิตเชื้อเพลิงด้วยเงินลงทุน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐในจาะพยูเพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 658,800,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุญาตการลงทุนด้วยสี่ข้อเสนอและการลงทุนใน 17 รายการมูลค่า 310.451 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ถึง 10,102 คน MIC อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 1,546.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 716.451 พันล้านจัตรวมถึงการลงทุนในท้องถิ่น 128.4 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคมในปี 62-63  ทั้งนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาการลงทุนภาคเหมืองในปี 63 จากข้อมูลของ DCA พบว่าจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 62 มีการลงทุนในภาคเหมืองแร่มากกว่า 2.904 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/hong-kong-company-invests-us172-m-to-build-a-power-station-in-kyaukphyu

CSOs ร้องให้รัฐบาลเมียนมาระงับสัญญาโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว

กลุ่มเฝ้าระวังเขตเศรษฐกิจพิเศษจ่าวผิว ซึ่งเป็นพันธมิตร 18 องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มกราคมเรียกร้องให้มีการระงับแผนการลงนามข้อตกลงในการดำเนินการโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว ในเมืองจ่าวผิว รัฐยะไข่ ในความขัดแย้งทางอาวุธที่ดำเนินอยู่ในรัฐยะไข่มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 100,000 คน รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทเรื่องที่ดินในโครงการวางท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่เริ่มในปี 53 พบว่ารัฐบาลไม่เห็นถึงสิทธิของคนในท้องถิ่น ซึ่งควรทำการประเมินสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SEA) และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลกับชาวบ้าน นอกจากนี้ควรมีการเตรียมการเพื่อรับรู้ถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสร้างงานทดแทนที่เพียงพอเมื่อมีการลงนามข้อตกลง และยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการขายป่าชายเลนและที่ดินอีกครั้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/csos-demand-suspension-of-contract-signing-for-kyaukphyu-deep-seaport-project

เมียนมาปรับปรุงสนามบินฟะลัมด้วยระบบนำทาง

สนามบินฟะลัม Falam (Surbung) ซึ่งเป็นประตูสู่รัฐชินได้รับการยกระดับด้วยระบบนำทางที่ใช้สำหรับสนามบินในพื้นที่ที่เป็นภูเขาตามที่กรมการบินพลเรือนของเมียนมา (DCA) ระบุ การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 63-64 และเครื่องบิน ATR-72 ชนิดต่างๆ สามารถลงจอดได้ สนามบินตั้งอยู่ในใจกลางของรัฐชิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำทางที่จะติดตั้ง เช่น สถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ (DVOR) , เครื่องมือตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWOS), ตัวบ่งชี้เส้นทางแม่นยำ (PAP), ไฟทางวิ่ง, สัญญาณไฟหมุน, ระบบ HF และ VHF โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนของรัฐ กระทรวงของบประมาณ 141,112,000,000 จัต สำหรับโครงการนี้ซึ่งจะรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและขอสินเชื่อในปีงบประมาณ 62-63 ปี ในปัจจุบันมีรันเวย์ยาวกว่า 4,000 ฟุตจาก 6,000 ฟุตของสนามบินที่สร้างเสร็จ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/falam-airport-upgrades-with-navigation-facilities