กัมพูชาและจีนร่วมลงนามข้อตกลงทางด้านการค้า

กัมพูชาและจีนได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ณ พนมเปญ โดยมีนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนเข้าร่วมพิธีลงนาม ซึ่งนายฮุนเซนพูดถึง FTA ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีนกล่าวว่าเขตการค้าเสรีจะช่วยให้กัมพูชาก้าวข้ามจากผลกระทบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันในหลายด้าน ซึ่งฝ่ายกัมพูชามีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างกัมพูชาและจีน โดยจะยังคงสนับสนุนจีนอย่างต่อเนื่องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนและยินดีที่จะทำงานร่วมกับจีนเพื่อกระชับความร่วมมือที่ส่งผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่างๆต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50772642/cambodia-china-sign-trade-deal/

การจดทะเบียนธุรกิจภายในกัมพูชาทำได้สะดวกขึ้นโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาอนุมัติการยื่นจดทะเบียนธุรกิจมากกว่า 1,360 รายการ ผ่านการจดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ ณ วันที่ 2 ต.ค. หลังจากที่รัฐบาลเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจทั้งหมด 1,793 ใบ โดย 1,367 ใบได้รับการอนุมัติ และ 426 รายการอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งมีจำนวนวันโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการจดทะเบียน บริษัท อยู่ที่ 8 วัน โดยในแง่ของขนาดของการลงทุนมีทั้งหมดอยู่ที่ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากทาง จีน สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งรูปแบบในการจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ภาคเอกชนและสาธารณชนทั่วไปกล่าวว่าระบบใหม่นี้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายเนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจสามารถทำเป็นแพ็คเกจบนแพลตฟอร์มเดียวกันกับกระทรวงหรือสถาบันอื่น เช่น กระทรวงพาณิชย์ (MOC), กรมภาษีอากร และกระทรวงแรงงานเป็นต้น โดยก่อนหน้านี้ในการจดทะเบียนอาจใช้เวลาหลายเดือน ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนของแต่ละกระทรวงหรือสถาบันรวมถึงส่วนอื่นๆลดลงประมาณร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมก่อนหน้าที่จะมีระบบใหม่เข้ามา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50772450/business-registrations-far-speedier-thanks-to-internet/

การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในวันที่ 11-12 ตุลาคม 2020 ตามการแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศ โดนจะจัดการประชุมอย่างเป็นทางการกับรองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในสาขาต่างๆตลอดจนประเด็นในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนจะเป็นสักขีพยานในการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา – จีน (CCFTA) ซึ่งการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของตัวแทนประเทศจีนแสดงถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างกัมพูชาและจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771818/cambodia-china-free-trade-agreement-to-be-signed-by-monday-during-chinese-state-councilors-visit/

CRF และ IRRI ร่วมวิจัยพัฒนาข้าวในกัมพูชา

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) และสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาข้าวเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงภาคข้าวในกัมพูชา โดยความร่วมมือของ IRRI ในการวิจัยและพัฒนาข้าวกับ CRF ในการเป็นหุ้นส่วนการผลิตเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุนการปรับปรุงภาคข้าวของกัมพูชาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยจะช่วยปรับปรุงภาคการผลิตข้าวผ่านการเพิ่มการวิเคราะห์ผลผลิตและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่คุณค่าภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771825/crf-irrr-vow-to-continue-rice-research-and-development-cooperation/

SECC ของกัมพูชาและออสเตรเลียร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน

รัฐบาลออสเตรเลียร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) เปิดตัวการระดมทุนภายในประเทศ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ Security Market Project ซึ่งคาดว่าหากตลาดทุนในประเทศมีประสิทธิภาพจะช่วยให้กัมพูชาสามารถกระจายการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 โดยออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญออสเตรเลียผ่าน “Investing in Infrastructure (3i)” ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียร่วมมือกับ SECC เพื่อปรับปรุงการระดมทุนในประเทศสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อพัฒนากรอบการกำกับดูแลหนี้สินระยะยาว การสร้างขีดความสามารถของผู้มีส่วนร่วมในตลาด และการพัฒนามาตรการ เพื่อให้ภาคเอกชนในกัมพูชามีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771221/secc-australia-team-up-to-improve-domestic-capital-mobilisation-for-infrastructure-investment/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยกัมกัมพูชาขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.09

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างประเทศของไทยลดลงร้อยละ 7.42 ในช่วง 8 เดือนแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 และ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่าอยู่ที่ 497 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.5 จากการส่งออกทั้งหมดอยู่ที่ 293 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.63 และการนำเข้า 204 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14 ซึ่งยกเว้นกัมพูชาที่มีการค้าระหว่างประเทศเติบโตเล็กน้อยอยู่ที่ 1.09 หรือคิดเป็น 108 ล้านบาท โดยการค้าระหว่างประเทศกับมาเลเซียมีมูลค่ารวม 152 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 21 ตามด้วยการค้ากับ สปป.ลาว 123 พันล้าน ลดลงร้อยละ 6.33 และเมียนมาอยู่ที่ 114 พันล้านลดลงร้อยละ 13

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771249/cross-border-shipments-between-thailand-cambodia-shows-modest-1-09-percent-growth-in-first-8-months/

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.42

การค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับกัมพูชาลดลงร้อยละ 7.42 อยู่ที่ 1.346 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2020 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามสถิติที่เปิดเผยโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 5.3 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 1.045 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2020 ในขณะที่การนำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้การส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งนักลงทุนต่างชาติได้ขอให้รัฐบาลกัมพูชาลดค่าใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (CO) ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770683/two-way-cambodia-japan-trade-dips-by-7-42-percent/

คาดกัมพูชาจะได้รับประโยชน์จาก 3 โครงการใหม่ ภายใต้โครงการ EEC ของไทย

คณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้อนุมัติการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาใหม่ 3 โครงการ มูลค่ารวม 1.18 ล้านล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงระหว่าง EEC และอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการใหม่ทั้ง 3 โครงการคือท่าเรือบก 3 แห่ง มูลค่ารวม 24 พันล้านบาท ในขอนแก่น นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา ซึ่งท่าเรือบกทั้ง 3 แห่งจะได้รับการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยง EEC กับกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และจีน ซึ่งคณะกรรมการคาดว่ากลยุทธ์การเชื่อมโยงจะมีส่วนเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของตู้คอนเทนเนอร์อีกกว่า 2 ล้านตู้ ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตั้งเป้าที่จะศึกษาท่าเรือบก ณ ฉะเชิงเทรามูลค่าประมาณ 8 พันล้านบาทภายในปี 2021 โดยใช้เวลาก่อสร้างอีก 2 ปี และศึกษาท่าเรือบกอีก 2 แห่ง ในขอนแก่นและนครราชสีมามูลค่ารวม 16 พันล้านบาท มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770836/cambodia-stands-to-benefit-from-thai-eec-panels-approval-for-feasibility-studies-on-three-new-projects/