ใบอนุญาตส่งออก/นำเข้าเป็นเอกสารก่อนเดินทางมาถึงท่าเรือ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา โดยกรมการค้า ประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน เรื่อง จำเป็นต้องขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าก่อนมาถึงท่าเรือ หากไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับและโทษตามกฎหมายที่มีอยู่  ตามมาตราที่ 4 ของกฎหมายการส่งออกและนำเข้า ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกหรือนำเข้าสินค้าต้องห้าม ตามมาตรา 5 หากไม่ได้รับใบอนุญาต จะไม่อนุญาตให้ผู้ใดส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ระบุซึ่งจำเป็นต้องขอใบอนุญาต ตามมาตรา 6 และผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องไม่ฝ่าฝืนเงื่อนไขใบอนุญาตตามมาตรา 7 ซึ่งตามที่ระบุความผิดและบทลงโทษ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึง ผู้ใดพยายามกระทำหรือสนับสนุนในการกระทำความผิดใดๆ ที่ได้รับตามกฎหมาย ต้องระวางโทษ และของกลางจะถูกริบ ดังนั้น กรมการค้าจึงเตือน ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าได้รับโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกและนำเข้า คำสั่ง และแนวปฏิบัติ และแจ้งให้ขอใบอนุญาตก่อนเพื่อเป็นเอกสารก่อนมาถึงสำหรับการขนส่งทุกประเภททางอากาศ ทางทะเล และทางบก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/export-import-licences-now-mandatory-as-pre-arrival-documents-2/#

ฮุน มาเนต เผยยอดส่งออกกัมพูชาเติบโต 16.57% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

นายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 ถึง กุมภาพันธ์ 2024 กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้ามูลค่ารวมกว่า 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่าร้อยละ 16.57 ที่มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ โดยถ้อยแถลงนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในโอกาสที่เป็นประธานการประชุมสภาคลัง (Council of Ministers) ณ พระราชวังสันติภาพ (Peace Palace) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2024 ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ เสื้อผ้า ข้าว ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผัก ผลไม้ รองเท้า ยางพารา เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ จีน เวียดนาม สหรัฐฯ ไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศ โดยการเติบโตของมูลค่าการส่งออกแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกัมพูชาเริ่มขยายตัว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501456766/pm-in-the-past-six-months-cambodia-exported-11-8-billion/

การค้าต่างประเทศของเมียนมาทะลุ 27 พันล้านดอลลาร์ใน 11 เดือน

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ การค้าภายนอกของเมียนมากับพันธมิตรต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 27.758 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยที การส่งออกของเมียนมามีมูลค่ามากกว่า 13.378 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14.379 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในปีงบประมาณนี้เกินกว่า 20.55 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การค้าชายแดนมีมูลค่า 7.207 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขการค้าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า 3.605 พันล้านดอลลาร์ หากเทียบกับที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วที่มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 31.36 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-surpasses-us27b-in-11-months/

กัมพูชาส่งออกขยายตัว 22.7% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาเติบโตกว่าร้อยละ 19.2 ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2024 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ก่อน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 8.12 พันล้านดอลลาร์ เผยแพร่โดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 คิดเป็นมูลค่ารวม 3.98 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ที่มูลค่า 4.13 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในช่วงเวลาดังกล่าวที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา รองลงมาคือเวียดนาม ส่งผลทำให้กัมพูชามีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ 1.26 พันล้านดอลลาร์ แต่ขาดดุลการค้ากับจีนที่มูลค่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501454157/cambodias-exports-surge-22-7-in-first-two-months/

เมียนมาบรรลุเป้าการค้าชายแดน มูลค่า 26.567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์

รายงานระบุว่า เมียนมาดำเนินการค้าขายมูลค่ารวม 25.9768 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านด่านการค้าชายแดน มอตอง เกาะสอง และกัมไปติ เมื่อจำแนกตัวเลขแล้ว ชายแดนมอตองมีมูลค่าการค้ารวม 0.9648 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นการส่งออก 0.6582 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.3066 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ ด่านการค้าเกาะสอง มีการส่งออกรวม 4,922.645 ตันและการนำเข้า 1,354.572 ตัน ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 6.065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกหลักประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมายังประเทศไทยภายใต้ระบบ FOB สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึกยักษ์ ปลาหมึก ปู และน้ำมันปาล์ม ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในทำนองเดียวกัน ชายแดนกัมไปติก็มีปริมาณการค้าเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 123.91 โดยมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 18.947 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี จำนวนการค้าเป้าหมายสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ตั้งไว้ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มูลค่าการค้าที่แท้จริงอยู่ที่ 26.567 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายถึง 130 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exceeds-border-trade-targets-achieving-us26-567m-in-feb-third-week/

การค้าต่างประเทศของเมียนมาทะลุ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมารายงานว่า การค้าระหว่างประเทศของเมียนมากับคู่ค้าต่างประเทศมีมูลค่า 25.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 12.135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 13.378 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งมูลค่าการค้ารวมของปีงบประมาณปัจจุบันลดลงอย่างมากถึง 3.15 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่าการค้ารวม 28.66 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าของเมียนมาแบ่งออกเป็นการค้าทางทะเลอยู่ที่ประมาณ 18.787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การค้าดำเนินการที่ชายแดนมีมูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-foreign-trade-exceeds-us25-bln-in-ten-months/

ม.ค. 2024 กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT โตเกือบ 22%

การส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง (GFT) เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 21.64 สำหรับในช่วงเดือนมกราคมปีนี้ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 967 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้หดตัวเกือบตลอดทั้งปีในปีที่แล้ว รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) ซึ่งพบว่าทุกรายการสินค้าของกลุ่ม GFT ขยายตัวแทบทุกรายการ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ส่งผลทำให้รายได้จากการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่ากัมพูชาสามารถบรรลุการเติบโตทางด้านการส่งออกถึงแม้จะมีอุปสรรคทางการค้า เช่น การไม่ต่ออายุระบบสิทธิพิเศษทั่วไป (GSP) โดยสหรัฐฯ และการลดผลประโยชน์ของ Everything But Arms (EBA) ลงเกือบร้อยละ 20 จากสหภาพยุโรป (EU) โดยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสินค้ากลุ่ม GFT

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439379/cambodias-gft-exports-jump-22-amid-rising-hopes/

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ขยายตัวกว่าร้อยละ 16.7

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาแตะมูลค่ารวม 4.05 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. ปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.7 จากมูลค่า 3.47 พันล้านดอลลาร์ ที่ได้บันทึกไว้ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการส่งออกรวมของกัมพูชามูลค่า 1.96 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ขณะที่การนำเข้ารวมอยู่ที่ 2.09 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 8.7 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ตามมาด้วยเวียดนาม สหรัฐฯ ไทย และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าส่งออกหลักยังคงเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว จักรยาน ยางแห้ง ข้าวสาร กล้วย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง และลำไย ด้านสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสินค้าท่องเที่ยว รวมถึงปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไปจนถึงสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439008/cambodias-international-trade-up-16-7-pct-in-january/

2023 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า ผ่าน SSEZ กัมพูชา แตะ 3.36 พันล้านดอลลาร์

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) มีมูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการค้าผ่าน SSEZ คิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 7.18 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของกัมพูชา สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ SSEZ ถือเป็นโครงการเรือธงภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งร่วมลงทุนโดยนักลงทุนจีนและกัมพูชา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระสีหนุ โดยเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแง่ของขนาดและจำนวนผู้ประกอบการในเขต ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรและบริษัทเอกชนรวมกว่า 180 แห่ง จากทั้งทางฝั่งจีน ยุโรป สหรัฐฯ และจากภูมิภาคอื่นๆ สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นเกือบ 30,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435871/ssezs-export-import-valued-at-3-36-billion-in-2023/

สปป.ลาว และตุรกี ร่วมลงนาม MOU ด้านเศรษฐกิจและการค้า

รัฐบาล สปป.ลาว และตุรกี วางแผนที่จะขยายความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจในนามของรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในปีที่ผ่านมา และทิศทางในอนาคตที่เป็นไปได้ของการเชื่อมสัมพันธ์ที่มากขึ้น และยังแบ่งปันความคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยรัฐมนตรีทั้งสองกล่าวถึงความสำเร็จมากมายตลอดระยะเวลา 60 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเห็นพ้องกันว่าความสัมพันธ์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า และด้านอื่นๆ สำหรับการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศขยายตัวจุดสูงสุดในปี 2561 และ 2562 แต่ต่อมาลดลง 75.0% เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จากนั้นมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศกลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 11.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2566 ซึ่งส่งสัญญาณการฟื้นตัวในด้านการค้าระหว่างกันของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_27_LaoTurkiye_y24.php