พาณิชย์หนุนโมเดล “คาเฟ่อเมซอน” ปักหมุด สปป.ลาว

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้นำคณะเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่างวันที่ 7-8 ก.ค. 2566 และได้พบหารือกับผู้บริหารบริษัท ปตท. และ Cafe Amazon สาขาเมืองหลวงพระบาง เพื่อหารือเรื่องโอกาสการขยายการค้า และการลงทุนใน สปป.ลาว พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมฟาร์มควายนมแห่งแรกของหลวงพระบาง เพิ่มทางเลือกทางโภชนาการสำหรับผู้แพ้นมวัว โดยพบว่า สปป.ลาว เป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนร้านคาเฟ่ แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 7.5 ล้านคน แต่เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลก

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ในช่วง 5 เดือนแรก 111,816.37 ล้านบาท ไทยส่งออก 67,564.83 ล้านบาท นำเข้า 44,251.54 ล้านบาท ได้ดุลการค้า 23,313.29 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่าการค้า 112,940.02 ล้านบาท ไทยส่งออก 64,289.16 ล้านบาท นำเข้า 48,650.86 ล้านบาท ได้ดุลการค้า 15,638.3 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1343466

เมียนมามุ่นมั่นส่งออกกาแฟเพิ่มเป็น 2 เท่าในปี 66

เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566  กระทรวงพาณิชย์ เผย ภายในปี 2566  เมียนมาตั้งเป้าส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นจำนวน 10,000 ตัน ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านเมียนมาส่งออกกาแฟ 5,800 ตัน โดยตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่  เช่น จีน ไทย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกกาแฟของเมียนมา พบว่า มีประมาณ 50,000 เอเคอร์ แบ่งเป็น 38,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และ 12,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งไร่กาแฟส่วนใหญ่อยู่ในเขตมัณฑะเลย์ รัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟต่อปีของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน

ที่มา : https://english.news.cn/20230323/84c83a24e49a4f049de088aadea7879f/c.html

“กาแฟเวียดนาม”โตแกร่ง สกัดแบรนด์”สตาร์บัคส์”รุ่ง

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มท้องถิ่นในเวียดนามที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมประเทศนี้ยังมีร้านคาเฟ่มากกว่าที่อื่น ๆ ในโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อสตาร์บัคส์รุกเข้าไปทำตลาดในเวียดนามเมื่อปี 2556 จึงเจอกับการคาดหวังที่หลากหลายจากแบรนด์อเมริกันชื่อดังอื่นๆ ทั้งแมคโดนัลด์และซับเวย์ “เหวียน กิมเงิน” เจ้าของร้านคาเฟ่แห่งหนึ่งในโฮจิมินห์  ซิตี้ เล่าว่าสตาร์บัคส์ไม่ใช่ร้านกาแฟที่ผู้คนทั่วไปอยากเข้าไปนั่งดื่มได้ทุกวัน ผมอยากทำกาแฟที่มีคุณภาพและให้บริการกาแฟที่ผู้คนสามารถหาซื้อได้

ทั้งนี้ เมื่อดูจากมูลค่าทางการตลาดกาแฟและจำนวนร้านกาแฟ พบว่าเวียดนามเป็นตลาดกาแฟใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ข้อมูลจากเว็บไซต์โนมา (knoema) ระบุว่า ไตรมาสแรกของ ปี 2566 เวียดนามมีสตาร์บัคส์เพียง 87 สาขา ถือว่ามีสาขาน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุด คือ ไฮแลนด์สคอฟฟี มีสาขาในเวียดนามมากถึง 573 สาขา รองลงมาเป็นคอฟฟีเฮาส์ 154 สาขา ขณะที่แบรนด์ฟุกลองมี 111 สาขา และแบรนด์ตรุงเหวียนเลเจนด์ใกล้แตะ 100 สาขา

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/1058824

‘เวียดนาม’ ส่งออกกาแฟพุ่ง ทำสถิตินิวไฮ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามอยู่ที่ราว 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาส่งออกกาแฟเวียดนามเฉลี่ยที่ 2,280 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 22% และจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าตลาดสหภาพยุโรป (EU) ยังคงเป็นตลาดที่มีการบริโภคกาแฟของเวียดนามมากที่สุด ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 39% ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมและชนบท (IPSARD) ชี้ว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามในตลาดยุโรป อาทิเช่น เบลเยียม สเปน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและโปรตุเกส เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี แต่การส่งออกกาแฟไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังคงเติบโตได้ดี ซึ่งในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมองว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามในปีนี้ มีแนวโน้มสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1372810/vietnamese-coffee-exports-set-a-new-record.html

“แบรนด์กาแฟสปป.ลาว” คว้าแชมป์เวทีระดับเอเชีย

เมาน์เทนคอฟฟี่ (Lao Mountain Coffe) แบรนด์กาแฟคุณภาพระดับพรีเมี่ยมจากประเทศสปป.ลาว คว้ารางวัลที่ 1 จากเวทีการแข่งขันระดับเอเชีย ซึ่งจากการแข่งขัน “World Coffee Challenge” จัดขึ้นที่เมืองโอว์แรนเซ (Ourense) ประเทศสเปน ตั้งแต่วันที่ 29-30 กันยายน ผู้มีเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 34 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป. ลาว ระบุว่ากาแฟเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของลาว และจำหน่ายไปแล้วกว่า 26 ประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ปัจจุบันรัฐบาลเร่งส่งเสริมการผลิตกาแฟในพื้นที่ 11 จังหวัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ สัดส่วนของตลาดส่งออกกาแฟสปป.ลาวในปีที่แล้ว พบว่าส่วนใหญ่ส่งออกกาแฟ (เมล็ดกาแฟดิบ) 56% ไปยังตลาดเวียดนาม รองลงมา 13% ญี่ปุ่น, (ไทย 12%), (กัมพูชา 3%), (เยอรมนี 2%), (จีน 1.5%), (สหรัฐฯ 0.9%) และ 11% ไปยังประเทศอื่นๆ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten193_Laocoffee.php

ราคากาแฟโลก พุ่ง! ท่ามกลางอุปทานของกาแฟเวียดนามลดลง

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ค้ากาแฟ ซึ่งจัดทำโดย Bloomberg คาดการณ์ไว้ว่าสต็อกของวัตถุดิบจะลดลงครึ่งหนึ่งภายในสิ้นเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ฝั่งด้านผลผลิต เวียดนามจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกกาแฟโรบัสตารายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ ปริมาณสำรองที่ลดลงและช่วงเวลาที่ไม่เหมาะกับการเก็บเกี่ยวพืชผล แต่สถานการณ์การบริโภคกาแฟทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังการระบาดปรับตัวลดลง ด้วยเหตุนี้ พันธุ์กาแฟโรบัสต้า (Robusta) ที่ถูกนำมาใช้โดยบริษัทกาแฟรายใหญ่ของโลก ได้แก่ เนสท์เล่ และเอสเพรสโซ่ เบลนด์ จะกลับมาเริ่มดำเนินกิจการ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2022/08/25/global-coffee-prices-to-rise-amid-drop-in-vietnam-supply/

ปีงบฯ 64-65 เมียนมา เร่งปลูกกาแฟบนพื้นที่กว่า 600 เอเคอร์ ในเขตซะไกง์

กรมวิชาการเกษตรเขตซะไกง์ เผย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 เขตซะไกง์เริ่มปลูกกาแฟในเดือนมิ.ย. 2564 มีการปลูกกาแฟโดยใช้พื้นที่ประมาณ 622 เอเคอร์ และกำลังส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ของนาคาเพราะได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงแต่กำลังประสบปัญหาด้านการขนส่ง ในปีนี้ มีพื้นที่ปลูกกาแฟในเขตซะไกง์รวม 35 เอเคอร์ อำเภอมอไล 18 เอเคอร์ อำเภอตะมู่ 16 เอเคอร์ในอำเภอ กะเล่ 103 เอเคอร์ อำเภอคำตี 132 เอเคอร์ พื้นที่ปกครองตนเองนาคา 260 เอเคอร์ อำเภอกะตา และ 44 เอเคอร์ในอำเภอกอลี่น ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้สร้างองค์ความรู้ในเรื่องการรักษาดิน การใช้ปุ๋ยธรรมชาติ วิธีการปลูก เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูก และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-600-acres-of-coffee-cultivated-in-sagaing-region-this-year/#article-title

ราคาเมล็ดกาแฟที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ไม่เพียงพอในกัมพูชา

ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟในกัมพูชารายงานถึงราคาเมล็ดกาแฟที่พุ่งสูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 ในปีนี้ รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์การผลิตเมล็ดกาแฟในบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ของโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยทางการกัมพูชาสนับสนุนให้เกษตรกรทดลองเพาะปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่มีลักษณะพันธุ์ที่แข็งแกร่งและเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ของกัมพูชา รวมถึงอาจจะเป็นการเพิ่มพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตให้กับกัมพูชา ซึ่งสถานการณ์การส่งออกกาแฟของกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 54.4 โดยมีปริมาณการส่งออกในปีที่แล้วเพียง 965 ตัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Tridge ซึ่งเชื่อมโยงผู้ซื้อรายใหญ่ อาทิเช่น Walmart และ Costco กับผู้ขายพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยยอดขายกาแฟในต่างประเทศของกัมพูชายังคงน้อยกว่าเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ซึ่งควบคุมตลาดโลกได้ร้อยละ 6.4 ในปีที่แล้ว โดยส่งออกเมล็ดกาแฟมูลค่ากว่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927112/rising-prices-and-short-supply-present-fresh-opportunities-for-coffee-farmers/

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม ก้าวสู่ระดับโลก

งานสัมมนา “International Business Forum 2021” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟเข้ามาแชร์แนวทางในการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเวียดนามได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้แต่ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการกาแฟเวียดนามส่วนใหญ่ทำการกระจายสินค้าตลาดส่งออก ปรับปรุงคุณภาพ ดึงเอาศักยภาพของเมล็ดกาแฟชนิดพิเศษและขยายช่องทางไปยังตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ นาย Nguyen Van Minh รองประธานสมาคมฟาร์มและผู้ประกอบการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่าอุตสาหกรรมกาแฟถือเป็นอุตสาหกรรมหลักและยังคงเป็นหลักสำคัญของธุรกิจระหว่างประเทศ

อินทนิลคอฟฟี่เตรียมขยายสาขาร้านกาแฟในกัมพูชา

หลังจากที่อินทนิลได้เปิดร้านแฟล็กชิปสโตร์ ณ กรุงพนมเปญ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2018 โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชาวกัมพูชา ซึ่งกำลังพยายามที่จะเพิ่มสาขามากถึง 100 สาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว เฉพาะที่เป็นแฟรนไชส์ของบริษัทบางจากคอร์ปอเรชั่น (BCP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านพลังงานรายใหญ่ โดยกล่าวว่ามีแผนที่จะเพิ่มสาขาอินทนิลในต่างประเทศเพื่อขยายธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันหลังจากการระบาดของโรคสงบลง ซึ่งการขยายสาขาที่ล่าช้าเนื่องจากการระบาดตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดย RCG Retail Group (กัมพูชา) เป็นผู้ให้สิทธิในการเปิดสาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว ก่อนหน้านี้ BCP ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสาขาเกือบ 100 แห่งใน สปป.ลาวและกัมพูชารวมถึงร้านกาแฟอีกกว่า 1,000 แห่ง ในประเทศไทยภายในปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803172/inthanin-coffee-looks-to-add-more-coffee-outlets-in-cambodia/