การค้าระหว่าง กัมพูชา-จีน ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

การค้าระหว่างกัมพูชาและจีนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 มีมูลค่ารวม 4.48 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของกัมพูชา ตามมาด้วยเวียดนาม สหรัฐฯ ไทย และญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (RCEP) และความตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2022 ช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการค้าในปัจจุบัน ที่ได้รับผลประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงการค้าทั้งสองฉบับทำให้สินค้ากัมพูชา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรคุณภาพสูง เช่น ข้าวเปลือก กล้วยหอม มะม่วง ลองกอง มันสำปะหลัง และพริกไทย เป็นสำคัญ ซึ่งสามารถส่งออกเข้าสู่ตลาดจีนได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501486365/cambodia-china-trade-continues-to-rise-in-jan-april/

นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจากมณฑลกุ้ยโจว เดินทางถึง สปป.ลาว ด้วยรถไฟลาว-จีน

คณะผู้แทนจากกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป.ลาว ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางมาจากมณฑลกุ้ยโจว ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงระหว่างมณฑลกุ้ยโจวและ สปป.ลาว โดยมีรถไฟลาว-จีน เป็นเส้นทางเชื่อมโยงที่สำคัญ การเดินทางด้วยรถไฟของนักท่องเที่ยวจากมณฑลกุ้ยโจวครั้งแรกนี้ ผ่านมาทางสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน จากนั้นเดินทางมายัง สปป.ลาว ด้วยรถไฟ EMU ล้านช้าง ที่ดำเนินกิจการโดยรถไฟลาว-จีน ซึ่งดำเนินการเพิ่มจำนวนเที่ยวเดินรถของรถไฟ ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวซื้อตั๋วได้ง่ายขึ้น มีการสร้างแอปพเคชั่นที่ช่วยให้ผู้คนสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ และพัฒนาช่องทางการชำระเงินมากขึ้น และให้บริการอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น บนรถไฟ นอกจากนี้ จะมีการลดระยะเวลาในการผ่านด่านศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองบริเวณชายแดน สปป.ลาว-จีน ในขณะที่จะมีการเพิ่มจุดจอดเพิ่มเติมและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการรถไฟ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถไฟลาว-จีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_88_FirstChinese_y24.php

สปป.ลาว เผย ทางด่วนหลวงพระบาง-วังเวียง ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว

ความคืบหน้าแผนงานการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมต่อระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ติดกับชายแดนจีน ที่แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ระยะ ที่ผ่านมาดำเนินงานในระยะที่ 1 เวียงจันทน์-หลวงพระบาง ระยะทาง 109 กม. เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ปี 2564 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 9.3% ของความยาวรวมของทางด่วนเวียงจันทน์-บ่อเต็น 1,097.15 กม. ขณะนี้อยู่ในช่วงระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างเส้นทางจากหลวงพระบาง-วังเวียง โดยปัจจุบันสิ้นสุดขั้นตอนการสำรวจและออกแบบเบื้องต้นแล้ว ส่วนระยะที่ 3 จากหลวงพระบาง-แขวงอุดมไซ อยู่ระหว่างการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนากับนักลงทุน สำหรับระยะที่ 4 ตั้งแต่แขวงอุดมไซ-บ่อเต็น ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการก่อสร้างกับนักลงทุนแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการต่ออายุ สำหรับทางด่วนระหว่างเวียงจันทน์-หลวงพระบาง ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถลดเวลาการเดินทางระหว่างเมืองหลวงและจุดท่องเที่ยวจาก 3.5 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมง ทำให้สามารถเดินทางกลับได้ภายในวันเดียว ทั้งนี้ เส้นทางด่วนสายนี้รัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 5% และกลุ่มบริษัทยูนนานก่อสร้างและการลงทุน (YCIH) ของจีน ถือหุ้น 95%

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_77_Plansfor_y24.php

กัมพูชาจ่อส่งออกมะพร้าวไปยังปักกิ่งปีนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 เม.ย.) กัมพูชาจัดพิธีลงนามส่งออกมะพร้าวไปยังจีนอย่างเป็นทางการ หลังคาดว่าจะมีการส่งออกมะพร้าวสดชุดแรกภายในปีนี้ ซึ่งพิธีจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา ร่วมกับ Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ซึ่งกัมพูชาและจีนเคยได้ลงนามในข้อตกลงด้านสุขอนามัยพืชเพื่อส่งออกมะพร้าวสดจากกัมพูชาไปยังจีนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ปัจจุบันกัมพูชามีสวนมะพร้าวจำนวน 13 แห่ง และโรงงานแปรรูป 5 แห่ง ที่ได้รับสิทธิ์ในการส่งออกมะพร้าวโดยตรงไปยังประเทศจีน ด้านรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และป่าไม้ แสดงให้เห็นว่าในปี 2022 กัมพูชาได้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่รวม 19,998 เฮกตาร์ โดยสามารถเก็บเกี่ยวมะพร้าวได้ 14,225 เฮกตาร์ หรือร้อยละ 71 สำหรับการผลิตมะพร้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 หรือคิดเป็นจำนวน 258,935 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476326/coconut-exports-to-beijing-to-commence-this-year/

‘ธุรกิจพลาสติกเวียดนาม’ ปั้นรายได้พุ่งจากความต้องการตลาดโลก

ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารชั้นนำในตลาดเคมีภัณฑ์ระดับโลก ‘Independent Commodity Intelligence Services’ เปิดเผยผลการรายงาน คาดว่าความต้องการเม็ดพลาสติก (Plastic Resin) ของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4.4% ต่อปี ในปี 2566-2568 โดยประเทศจีน กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป นับเป็นตลาดหลักของเม็ดพลาสติกระดับโลก

ทั้งนี้ ผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ของเวียดนาม ‘An Thanh Bicsol’ เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์เม็ดพลาสติกชั้นนำของประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยัง 70 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 35,000 ตันต่อเดือน ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจมาจากโพลีเอทิลีนเรซินและโพรพิลีน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นสัดส่วน 37% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาเอเชียใต้และตะวันออกกลาง 32% สหภาพยุโรป อเมริกา แอฟริกาและจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://vir.com.vn/vietnamese-plastic-firms-to-cash-in-on-global-demand-110578.html

สปป.ลาว – เอกชนจีน ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าลาวไปยังจีน

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป.ลาว และบริษัท Shanghai Zhe Zhe Qang Co., Ltd และ Lao Konsin International Group สัญชาติจีน ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าของ สปป.ลาว ไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และสมุนไพรพื้นบ้าน โดยปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า “การลงนามดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือในด้านองค์ความรู้โดยเฉพาะด้านการวางแผนการผลิต การฝึกอบรม และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าของ สปป.ลาว เพื่อให้สินค้าได้มาตรฐานการส่งออกและสามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ และในที่สุดจะสามารถจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในประเทศลาว ผ่านความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์”

ที่มา : https://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=82033

นักการทูตจีนเยือนกัมพูชา พร้อมดันโครงการ BRI

รัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างรัฐบาล (ICC) ครั้งที่ 7 ระหว่าง จีน-กัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่วันที่ 21-23 เมษายน นำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธานร่วมในการประชุม ซึ่งการปรากฏตัวของรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เช่นเดียวกับการยึดมั่นในพันธกรณีของจีนในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เผชิญหน้าประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501475828/top-chinese-diplomat-in-kingdom-to-push-bri-projects/

กัมพูชา-จีน ร่วมจัดนิทรรศการด้านการท่องเที่ยว ณ นครวัด

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาร่วมกับทางการมณฑลเหอหนานของจีน เตรียมความพร้อมจัดนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกัมพูชา-จีน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นทางตอนเหนือของอุทยานโบราณคดีอังกอร์กัมพูชา สำหรับเป้าหมายของการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดเสียมราฐและมณฑลเหอหนาน โดยมีการแสดงร่วมกันระหว่างเส้าหลินและโบกาตอร์ ซึ่งเป็นศิลปะด้านการต่อสู้ของทั้ง 2 ประเทศ ด้านกระทรวงฯ มั่นใจว่างานดังกล่าวจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น ควบคู่ไปกับแคมเปญ Visit Siem Reap 2024 และคาดหวังการผลักดันภาคการท่องเที่ยวด้วยโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีและการท่องเที่ยวโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “The 2024 Cambodia-China People-to-People Exchange Year” ด้าน Sok Soken รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ให้ข้อมูลเสริมว่าในช่วง 2023 กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 5.4 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวคิดเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนประมาณ 540,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501475565/cambodia-china-cultural-tourism-exhibition-to-take-place-at-famed-angkor-complex-next-week/

‘บ.เกาหลีใต้’ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดเวียดนาม เหตุจากการเข้ามาของทุนจีน

สำนักข่าวญี่ปุ่น นิคเคอิเอเชีย (Nikkei Asia) เผยแพร่บทความบอกเล่าถึงบริษัทเกาหลีใต้รายใหญ่ของโลกที่ทำธุรกิจในเวียดนาม เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งจากจีน ในขณะที่ตามรายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลี (KCCI) เปิดเผยว่าบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้รายใหญ่ ได้แก่ บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และบริษัทแอลจี (LG) เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปี ส่งผลให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และนักลงทุนเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ มูลค่า 85.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แซงสิงคโปร์และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี คู่แข่งจากจีนเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น สาเหตุมาจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม รวมถึงค่าแรงงานที่ถูกกว่า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้นทุนแรงงานจะเพิ่มขึ้นในเวียดนามเช่นกัน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/korean-firms-in-vietnam-face-growing-competition-from-china-post1087897.vov

สปป.ลาว ไทย และจีน หารือเส้นทางการบินใหม่เพื่อรองรับเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น

เส้นทางการบินใหม่อยู่ระหว่างการหารือระหว่างไทย จีน และ สปป.ลาว เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อตอบสนองต่อการคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีก 100,000 เที่ยวในน่านฟ้าประเทศไทย สปป.ลาว และจีน โดยเส้นทางคู่ขนานที่นำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความแออัดในเส้นทางการบินที่มีอยู่ซึ่งกำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของลาว แผนเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะวางตำแหน่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ความต้องการเดินทางจากจีนมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนเที่ยวบินสูงถึงประมาณ 80% ของระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยอินเดียมองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเที่ยวบินเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 900,000 เที่ยวบินในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 800,000 เที่ยวบินในปี 2566 และภายในปี 2568 ปริมาณเที่ยวบินจะดีดตัวกลับไปสู่ระดับ 1 ล้านเที่ยวบิน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/01/thailand-laos-china-in-talks-for-new-aviation-routes-to-handle-surge-in-flights/