“เมียนมา” ชี้ความต้องการน้ำมันปาล์มในประเทศหดตัว เหตุนำเข้าจากต่างประเทศพุ่ง

จากข้อมูลของตลาดน้ำมันปาล์มในย่างกุ้ง เปิดเผยว่าได้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ 20,000 ตัน ในช่วงต้นเดือน ก.ค. ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันปาล์มในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงตลาดย่างกุ้งลดลงอย่างมาก และเมื่อพิจารณาราคาน้ำมันปาล์ม พบว่าราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความยากลำบากในการซื้อน้ำมันปาล์มเมื่อปลายเดือน มิ.ย. ในขณะที่ผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งบอกว่าราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 8,000 – 8,200 จ๊าตต่อวิสซ์ ทั้งนี้ จากเหตุที่น้ำมันปาล์มในตลาดมีราคาสูง ทางหน่วยงานได้หารือและเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 1 ก.ค. เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันปาล์ม นอกจากนี้ เมียนมาจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/demand-for-palm-oil-decreases-due-to-large-foreign-palm-oil-imports/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในย้างกุ้ง ดีดตัวขึ้นในสัปดาห์นี้

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา เปิดเผยว่าราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในตลาดย้างกุ้ง ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นที่ 4,000 จ๊าดต่อ viss ในสัปดาห์นี้ (2 ก.ค.66) โดยราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์ม ณ วันที่ 19-25 มิ.ย.66 ได้ตั้งราคาอยู่ที่ 3,860 จ๊าดต่อ viss แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นราว 150 จ๊าดต่อ viss เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ทำการติดตามราคา FOB ของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษีศุลกากรและอื่นๆ เป็นต้น ตลอดจนกำกับราคาน้ำมันปาล์มให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-in-yangon-region-rebounds-this-week/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำมันปาล์มพุ่ง แม้นำเข้า 7.5 หมื่นตัน

ราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า (D/O) ยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจะนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ก่อนที่จะถึงเทศกาลสงกรานต์ (Thingyan) และจากรายงานของผู้ค้าน้ำมัน เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 1 เมษายน เมืองติลาวาและย่างกุ้ง มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันพืชจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 3 หมื่นตัน ในขณะที่เรือขนส่งน้ำมัน 8 ลำที่บรรทุกน้ำมันพืช 35,000 ตัน และมีเรือขนส่งน้ำมัน 2 ลำที่บรรทุกน้ำมันปาล์ม 11,000 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า อยู่ที่ประมาณ 6,400-6,450 จั๊ต อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบการจัดเก็บน้ำมันปาล์มหรือจัดจำหน่ายที่มีเจตนาปั่นราคาน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-spikes-despite-arrival-of-around-75000-tonnes-of-imported-oil/

ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์ม พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันพืชภายใต้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เผย ราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์มขายส่งในตลาดย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พุ่งไปอยู่ที่ 4,225 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น 50 จัตต่อ viss ของราคา ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2565 ที่ 4,175 จัตต่อ viss โดยคณะกรรมการฯ แม้จะมีราคาอ้างอิงในปัจจุบันก็พุ่งสูงขึ้น แต่หากพบว่าผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งนั้นขายราคาที่สูงกว่าราคาอ้างจะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมาย ด้านกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาชี้แจงให้กับผู้บริโภคว่าน้ำมันพืชยังมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภค และจะรักษาระดับราคาให้เหมาะสมกับค่าครองชีพของคนในประเทศ ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคน้ำมันในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันปรุงอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน และเพื่อความเพียงพอของการบริโภคน้ำมันปรุงอาหาร เมียนมาจึงต้องนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประมาณปีละ 700,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-continues-to-rise/

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมา พุ่งแตะ 5,000 จัตต่อ viss

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันพืช เผย ราคาน้ำมันปาล์มขายส่งในตลาดย่างกุ้งพุ่งขึ้นเกือบ 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม โดยราคากลางได้กำหนด ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ถึง 4 ก.ย.2565 อยู่ที่ 4,910 จัตต่อ viss ซึ่งเพิ่มขึ้น 50 จัต จากสัปดาห์ก่อนที่ 4,860 จัตต่อ viss ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ติดตามราคา FOB ในตลาดมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษี และบริการด้านการธนาคาร และออกอย่างไรก็ตาม ราคาตลาดปัจจุบันสูงกว่าราคากลางเป็นอย่างมาก โดยจากรายงานพบว่าราคาน้ำมันปาล์มในตลาดพุ่งไปถึง 10,000 จัตต่อ viss เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ภาครัฐจึงร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา ได้จัดรถโมบายออกจำหน่ายน้ำมันปาล์มราคาประหยัด เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน -ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาย้ำว่าน้ำมันปาล์มมีเพียงพอต่อการบริโภคอย่างแน่นอน ทั้งนี้เมียนมาสามารถผลิตน้ำมันปรุงอาหารได้ประมาณ 400,000 ตันต่อปี แต่มีการบริโภคในประเทศถึง 1 ล้านตันต่อปี ทำให้ต้องนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียปีละประมาณ 700,000 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-rebounds-to-nearly-k5000-per-viss/

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมา ดิ่งลง ! ตามแนวโน้มของตลาดต่างประเทศ

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาเมื่อต้นเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา พุ่งแตะ 8,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) แต่ราคาขณะนี้ลดฮวบเหลือ 7,000 จัตต่อ viss โดยคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันประกอบอาหารภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคานำเข้า FOB จากมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์มในตลาดย่างกุ้ง วันที่ 20 -30 มิ.ย.2565 ตั้งไว้ที่ 5,815 8,000 จัตต่อ viss อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดยังสูงกว่าราคาอ้างอิงอยู่มาก ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกมาให้ความมั่นใจว่า ผู้บริโภคไม่ต้องตื่นตระหนักกับปริมาณของน้ำมันประกอบอาหารพร้อมย้ำว่าจะมีเพียงพออย่างแน่นอน อีกทั้งจะกำกับราคาให้มีความเป็นธรรม และป้องกันการบิดเบือนตลาดในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-fall-again-on-downtick-trend-in-external-market/

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมาพุ่งเป็น 8,000 จัต แม้ ตรึงราคาอยู่ที่ 5,725 จัต

รายงานอุตสาหกรรมอาหารทอดในเมียนมา เผย แม้ว่าราคาน้ำมันปาล์มจะตรึงไว้ที่ 5,727 จัต แต่ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคต้องซื้อยังพุ่งไปถึง 8,000 จัต ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศว่าผู้ที่ขึ้นราคาโดยไม่เป็นธรรมจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยราคา FOB ณ ตลาดย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 5 มิ.ย.65 อยู่ที่ 5,725 จัต แต่ราคาที่ซื้อขายจริงอยู่ที่ 8,000 จัต ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงต้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กระทรวงยังต้องควบคุมราคาน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อให้เป็นธรรมและสอดคล้องกับราคาตลาดโลก และต้องจับตาราคา FOB น้ำมันปาล์มของมาเลเซียและอินโดนีเซียที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-up-by-k8000-despite-fixed-price-at-k5725/

รถโมบายขายน้ำมันปาล์ม เริ่ม เร่ขายแล้วในเขตย่างกุ้ง

สมาคมผู้ค้าน้ำมันของเมียนมา เผย น้ำมันปาล์มเริ่มจำหน่ายผ่านรถโมบายเคลื่อนที่ในพื้นที่เขตย่างกุ้ง ในราคาถูกกว่าราคาผ่านผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก หลังจากที่ถูกระงับชั่วคราวและกลับมาดำเนินการในวันที่ 14 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มแตะ 4,800 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในตลาดย่างกุ้ง โดยอ้างอิงจากอัตราของธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM)  และนำมาขายในราคายุติธรรม 4,400 จัตต่อ viss ปัจจุบันราคาปรับตัวสูงขึ้นบ้างตามค่าเงินจัตที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันบริโภคภายในประเทศอยู่ที่ประมาณหนึ่งล้านตันต่อปี แบ่งเป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน ส่วนน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตัน จะนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียในทุกๆ ปี

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6840360

MEODA เริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มให้ร้านค้าปลีก

กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชแห่งเมียนมา (MEODA) จะเริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มในราคาถูกให้กับผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการรถโมบายขายสินค้าและสมาคมต่างๆ ในภูมิภาคและรัฐต่างๆ โดยผู้มีสิทธิซื้อน้ำมันปาล์มต้องปฏิบัติตามกฎที่กำหนดเพื่อชำระเงินเพื่อซื้อน้ำมันพืช ถ้าไม่ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถซื้อน้ำมันผ่านสมาคมฯ ได้อีก ปัจจุบัน ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4,800 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) การบริโภคน้ำมันพืชภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันเพื่อประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ เมียนมาต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารจากมาเลเซียและอินโดนีเซียประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/meoda-to-sequentially-sell-palm-oil-to-retailers/

 

รัฐบาลเพิ่มการสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มรับมือ COVID-19

รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีการระบาดของ COVID-19 กระทรวงพาณิชย์ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะซื้อและกักตุนข้าว 50,000 ตันและน้ำมันปาล์ม 12,000 ตัน เพื่อสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-beef-rice-and-palm-oil-reserves.html