รัฐบาลกัมพูชารายงานถึงผลการจัดเก็บภาษี ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี

ทางการรัฐบาลกัมพูชารายงานถึงรายรับของภาครัฐบาลที่สูงถึง 11,921 พันล้านเรียล (ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์) ในช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้ โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังรายงานว่ารายรับของรัฐบาลที่รวบรวมได้คิดเป็นกว่าร้อยละ 75 ของเป้าหมายในปีงบประมาณ 2021 ที่ได้กำหนดไว้ที่ประมาณ 15,895 พันล้านเรียล (ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์) สำหรับรายจ่ายของภาครัฐบาลได้ใช้จ่ายไป 15,552 พันล้านเรียล (ประมาณ 3.8 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นร้อยละ 57 ของเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ที่ 27,285 พันล้านเรียล (6.8 พันล้านดอลลาร์) ที่ระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กล่าวว่า รายรับและรายจ่ายของประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโครงการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในความเพียงพอต่องบประมาณในการแก้ปัญหางานเร่งด่วนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50977133/government-revenue-reaches-75-percent-of-budget-bill-in-first-three-quarters/

รัฐบาลจับตาแหล่งที่มารายได้ใหม่ 2,000 พันล้านกีบจากการขุด bitcoin

รัฐบาลคาดว่าจะมีรายได้ 2,000 พันล้านกีบจากการขุด bitcoin ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รายรับดังกล่าวจะได้รับจากการขุดและการค้าสกุลเงินดิจิทัลและคาดการณ์ไว้สำหรับปี 2565 ขึ้นจะมีรายได้เพิ่มขึนร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2564 จากการขุด Bitcoin จะทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินในโครงการสำคัญๆ ได้มากขึ้นซึ่งรวมถึงการเพิ่มเงินสนับสนุนเพื่อให้ครอบคลุมค่าครองชีพของเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ Covid-19 และการชำระหนี้ในโครงการใหญ่ๆ ของประเทศ รัฐบาลคาดว่าจะใช้เงินทั้งหมดในการพัฒนาและริเริ่มลงทุน 34,595 พันล้านกีบในปี คิดเป็น 18.14 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ดังนั้นแหล่งรายได้ใหม่นี้ของไทยจะนำพาสปป.ลาวก้าวสู่ประเทศที่มีเทคโนโลยีการเงินทีดีขึ้นรวมถึงการผลักดันเศรษฐกิจสปป.ลาวให้เติบโตอีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govteyes_215_21.php

สะพานบ่อแก้ว-ไซยะบุรี แล้วสำเร็จไปแล้วกว่า 66 เปอร์เซ็นต์

สะพานคนทึน-ห้วยแก้ว ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมจังหวัดบ่อแก้วและไซยะบุรี เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่า 66 % การก่อสร้างโครงการเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลลาวเป็นมูลค่ากว่า 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน 36 เดือน หลังจากสร้างแล้วเสร็จ สะพานจะมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยการเพิ่มการไหลเวียนของผลิตภัณฑ์ ให้ทางลัดสำหรับยานพาหนะที่วิ่งผ่านพื้นที่ และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างลาวและไทยทั้งนี้ยังเป็นไปแผนยุทธศาสตร์ชาติที่จะนำพาสปป.ลาวสู่ประเทศที่เชื่อมต่อการขนส่งระดับภูมิภาค เป็นการส่งเสริมขนส่งในประเทศและการเชื่อมต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/09/21/bokeo-xayaboury-bridge-now-over-66-percent-completed/

รัฐบาลสปป.ลาวเรียกร้องให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด

สปป. ลาว ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานและพนักงานได้รับการคุ้มครอง โรงงาน Trio Garment Factory ที่เป็นของต่างชาติ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสิกขิต เขตนาทรายทอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 และมีคนงานประมาณ 2,800 คน มีกำลังการผลิตเสื้อผ้ามากกว่า 200,000 ชิ้น สร้างมูลค่ากว่า 27.5 พันล้านกีบต่อเดือน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในเครื่องกำเนิดเงินตราต่างประเทศที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว มาตรการป้องกันที่เข้มงวดจะทำให้ขบวนการผลิตดำเนินการได้ต่อเนื่องสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VP117.php

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าวัคซีนโควิดในเชิงพาณิชย์

อธิบดีกรมอนามัยและส่งเสริมสุขภาพ สังกัดกระทรวง ชี้แจงเหตุผลในการห้ามเอกชนซื้อขายวัคซีนในเชิงพาณิชย์ “รัฐบาลเข้าใจความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับการขาดแคลนวัคซีนแต่ถึงแม้จะมีความต้องการเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีความเชื่อมันว่าสต็อกของรัฐบาลเพียงพอแล้วและคาดว่าจะมีการส่งมอบวัคซีนเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้” อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอนุญาตให้หน่วยงานเอกชนซื้อวัคซีนเพื่อใช้เองได้ โดยเอกชนสามารถนำเข้ามาเพื่อฉีดให้กับพนักงงานตนเองโดยห้ามมีการค้าในเชิงพาณิชย์ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะทำให้เป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ครอบคุลมร้อยละ 50 ของประชากรสปป.ลาว ในปี 64 ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้การเข้มงวดในการกำกับดูแลวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องโปร่งใสและจริงจังเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประชากรในปรเทศ 

ที่มา :https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt107.php

รัฐบาลผลักดันให้มีการเชื่อมระหว่างระบบโทรคมนาคมกับแหล่งผลิตในประเทศ

การสร้างถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อเขตการผลิตกับระเบียงเศรษฐกิจสปป.ลาว – ​​จีนเป็นสิ่งจำเป็นหากสปป.ลาวต้องการได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากการรวมกลุ่มในภูมิภาค Dr. Sonexay Siphandone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวกับรัฐสภาในที่ประชุมที่ผ่านมาว่า “ รัฐบาลกำลังมุ่งเน้นที่จะสร้างทางรถไฟและทางด่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจลาว – ​​จีน โดยเรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทางรถไฟโดยเฉพาะการสร้างสถานีรถไฟหลัก 4 สถานีที่จะกลายเป็นศูนย์กลางของเมืองใหม่ที่ทันสมัย เมืองเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับสวนอุตสาหกรรมและเขตการผลิตทางการเกษตรใน 10 แขวงที่สำคัญ” การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจลาว – ​​จีนจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากและจะนำการลงทุนมาสู่ภูมิภาคมากขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt64.php

รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับบริษัทเอกชน ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัย

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ร่วมกับตัวแทนของบริษัทเอกชน ทำการลงนามบนสัญญากว่า 16 ฉบับ รวมถึงบันทึกความเข้าใจ (MoU) อีก 2 ฉบับ เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยของกัมพูชา เช่น ผัก มันสำปะหลัง แตงโม มะม่วง และสัตว์เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเกษตร กระทรวงป่าไม้และประมง รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนผู้ได้รับมอบหมายจาก IFAD พันธมิตรเพื่อการพัฒนาภาคเอกชน ผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ASPIRE ที่เป็นโครงการด้านความร่วมมือในการพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อนวัตกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกล่าวเน้นย้ำว่าโครงการนี้มีส่วนสำคัญในการจัดหาและพัฒนาทรัพยากรด้านอาหารที่ปลอดภัย รวมถึงทำการตลาดสำหรับพืชผักในประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าเกษตรลง นอกจากนี้ยังรักษาปริมาณอาหารในกัมพูชาและพัฒนาภาคเกษตรกรรมต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815361/ministry-private-firms-cooperate-to-boost-cambodias-safe-agricultural-products/

รัฐบาลเมียนมาวางแผนซื้อข้าวสำรองเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์เผยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะซื้อข้าวเพิ่มอีก 20,000 ตันเพื่อเป็นแหล่งสำรองข้าว  เมื่อต้นปีรัฐบาลเมียนมาประกาศจะซื้อข้าว 50,000 ตันจากเกษตรกรเพื่อการสำรองหลังตรวจพบ COVID-19 ในเมียนมาเป็นครั้งแรก และจะซื้อเพิ่มอีก 20,000 ตัน ข้าวได้รับการจัดหาจากบริษัทส่งออก 12 แห่งและเก็บไว้ที่โกดัง 9 แห่ง ระหว่างวันที่ 30 เมษายนถึง 12 มิถุนายน 2563 มีการซื้อข้าวจากเมืองย่างกุ้ง 40,000 ตัน 3,000 ตันจากมัณฑะเลย์ และ 1,000 ตันจากเนปิดอว์ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เมียนมาส่งออกข้าวได้สูงสุด 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2562-2563 มีการซื้อข้าวจากผู้ค้าข้าวในท้องถิ่นมากถึง 38 พันล้านจัตและคาดว่าจะซื้อข้าวสำหรับส่งออกได้มากถึง 10% เพื่อทำการสำรอง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-plans-buy-more-reserve-rice.html

รัฐบาลสปป.ลาวลงทุน 6 แสนเหรียญสหรัฐฯ ในระบบปะปา

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่กรมโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กรม (MPWT) ลงนามสัญญากับ บริษัท standpipes ในการสร้างระบบน้ำประปา คาดว่าจะแล้วเสร็จ 16 เมษายน 2564 โดยมีมูลค่าสัญญาของโครงการประปาเทศบาลหลวงพระบางอยู่ที่ 392,988 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนดังกล่าวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งการลงทุน การจ้างงานรวมถึงระบบปะปาที่ได้มาตราฐานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนในภูมิภาคดังกล่าวให้ดีขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะทำให้ ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจได้สะดวกสบายมากขึ้นและจะเป็นโครงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/18/79135/

ภาคเอกชนทำข้อตกลงรัฐบาลสปป.ลาวเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ Khounmixay Bridge และ บริษัท ก่อสร้างและซ่อมแซมถนน (KMX) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลสปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่สะอาดในจังหวัดเซกอง ทางตอนใต้ของสปป.ลาวภายใต้ MOU นั้น EPIC และ KMX จะได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีความร้อนสะอาดในเขตดากจึง จังหวัดเซกองโดยโครงการคาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2570 เพื่อผลิตไฟฟ้าและส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนามและกัมพูชา รวมถึงการบริโภคในประเทศโดยโครงการมุ่งมั่นที่จะใช้แหล่งเชื้อเพลิงที่สกัดในประเทศเพื่อผลิตพลังงานเพื่อการส่งออกและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น พลังงานความร้อนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับภูมิภาคอาเซียนและได้จะรับกระแสความนิยมจากทั่วโลกซึ่งในอนาคตพลังงานสะอาดจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt106.php