ราคาถั่วลูกไก่ – มันฝรั่งในเมียนมา ทุบสถิติ พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี

ผู้ค้าที่ส่งสินค้าในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เผย ราคาของถั่วลูกไก่ (Chickpea) และมันฝรั่งในตลาดย่างกุ้งเมื่อวันที่ 17 ส.ค.2565 พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 4,000-4,200 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) และมันฝรั่งอยู่ที่ 1,400-2,400 จัตต่อ viss ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2564 ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 2,600-2,700 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 350-1,100 จัตต่อ viss และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 1,700-1,750 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 400-650 จัตต่อ viss โดยในประเทศการบริโภคถั่วลูกไก่และมันฝรั่งถือว่าในระดับสูงเพราะเป็นส่วนผสมอาหารหลักของชาวเมียนมา ทั้งนี้จากสังเกตการณ์ของผู้ค้าส่ง พบว่า ผลดีจะไปตกกับเกษตรกรผู้ลูก แต่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-grade-shwebo-pawsan-rice-prices-up-by-k24000-per-bag-within-six-weeks/#article-title

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมา ดิ่งลง ! ตามแนวโน้มของตลาดต่างประเทศ

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาเมื่อต้นเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา พุ่งแตะ 8,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) แต่ราคาขณะนี้ลดฮวบเหลือ 7,000 จัตต่อ viss โดยคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันประกอบอาหารภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคานำเข้า FOB จากมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์มในตลาดย่างกุ้ง วันที่ 20 -30 มิ.ย.2565 ตั้งไว้ที่ 5,815 8,000 จัตต่อ viss อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดยังสูงกว่าราคาอ้างอิงอยู่มาก ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกมาให้ความมั่นใจว่า ผู้บริโภคไม่ต้องตื่นตระหนักกับปริมาณของน้ำมันประกอบอาหารพร้อมย้ำว่าจะมีเพียงพออย่างแน่นอน อีกทั้งจะกำกับราคาให้มีความเป็นธรรม และป้องกันการบิดเบือนตลาดในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-fall-again-on-downtick-trend-in-external-market/

ราคาถั่วแระมีแนวโน้มลดลงสวนทางกับราคาถั่วดำที่ราคาพุ่งขึ้น

ราคาถั่วแระและถั่วดำในตลาดย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมาราคาถั่วดำ อยู่ที่ 1,610,000 จัตต่อตันขณะที่ถั่วแระอยู่ที่ 1,410,000 จัตต่อตัน ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ราคาถั่วดำพุ่งขึ้นเป็น 1,615,000 จัตต่อตันในขณะถั่วแระราคาลดลง 1,391,000 จัตต่อตัน ทำให้ราคาถั่วดำเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาถั่วแระที่ลดลง ซึ่งถั่วทั้ง 2 ชนิดส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย ในช่วงฤดูมรสุมของปี 2565 อินเดียได้หันปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลผลิตสูงแทนพืชตระกูลถั่ว เช่น อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ผู้ค้าถั่วชาวเมียนมา คาดว่าฤดูมรสุมนี้ผลผลิตถั่วของเมียนมาจะลดลง 5- 15% จะส่งผลให้ราคาถั่วแระเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-gets-downward-trends-than-black-grams/#article-title

ราคาถั่วลิสงพุ่งตามความต้อง จากในประเทศและต่างประเทศ

ศูนย์สินค้าโภคภัณฑ์ของเขตมะกเว มองว่า ราคาถั่วลิสงพุ่งสูงขึ้นภายหลังการขึ้นราคาน้ำมันประกอบอาหาร นอกจากนี้ ผู้ค้าชาวจีนและโรงสีในประเทศเร่งกำลังเสนอราคาที่แข่งขันได้ในปัจจุบัน แต่ในขณะที่ความต้องการถั่วลิสงค่อนข้างต่ำ โดยราคา ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ประมาณ 4,300-4,400 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปหันมาใช้น้ำมันถั่วลิสงเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและราคาน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศเริ่มสูงขึ้น ซึ่งเขตมะกเว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์หลักรวมถึงพืชน้ำมันหลักของประเทศ จากสถิติของกรมศุลกากร เผย เมียนมาส่งออกถั่วลิสงส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน โดยระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 3 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 พบว่าเมียนมาส่งออกถั่วลิสงประมาณ 5,600 ตัน -มีมูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/peanut-prices-moving-onwards-on-foreign-and-domestic-demand/#article-title

ความต้องการข้าวจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่ม หนุนราคาข้าวเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการศูนย์ขายส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวหักเมียนมาเริ่มปรับตัวขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันราคาข้าวหักอยู่ระหว่าง 27,000-30,000 จัตต่อตะกร้า (น้ำหนัก 108 ปอนด์) โดยราคาไม่ต่างจากราคาข้าวคุณภาพต่ำที่ส่งออกมากนัก เมื่อเดือนเม.ย.2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 170,000 ตัน โดยมีมูลค่าประมาณ 58.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งข้าวมูลค่ากว่า 119,260 ตัน เป็นการส่องออกยังทางทะเล มูลค่า 41.298 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผ่านชายแดน มูลค่า 4,180 ตัน ผ่านชายแดนจีน โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (10,000 ตัน) แคเมอรูน (9,000 ตัน) แองโกลา (15,000 ตัน) มาดากัสการ์ (8,500 ตัน) จีน (14,300 ตัน) ฟิลิปปินส์ (12,200 ตัน) ศรีลังกา (250 ตัน) และฮ่องกง (180 ตัน) ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ โปแลนด์ (8,800 ตัน), ลิทัวเนีย (8,200 ตัน), อิตาลี (8,690 ตัน), สเปน (15,180 ตัน), บัลแกเรีย (7,750 ตัน) และเบลเยียม (700 ตัน)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-foreign-demand-drive-broken-rice-price-up/

ราคาถั่วชิกพีพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้

ผู้ค้าถั่วในมัณฑะเลย์ เผยความต้องการราคาถั่วชิกพีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 132,000 จัตต่อถุง จาก 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชื่นชอบการบริโภคถั่วชิกพีเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรสชาติที่เข้มข้น แกงที่ทำจากถั่วชิกพีเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นกระตุ้นให้โรงงานในมัณฑะเลย์เร่งเปิดดำเนินการ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้อีกด้วย ด้านการส่งออกตลาดหลัก คือ อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่การเพาะปลูกถั่วชิกพีทั่วประเทศอยู่ที่ 890,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซะไกง์ อิรวดี และเนปิดอว์ การเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนต.ค.และพ.ย.และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. ของแต่ละปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chickpea-prices-rise-to-double-this-year/

เกษตรกรอำเภอจู้นละปลูกมะเขือเทศไต้หวัน เฮ ได้ราคาดี

เกษตรกรหมู่บ้าน Magyi Inn อำเภอจู้นละ จังหวัดกั่นบะลู เขตซะไกง์ กำลังเร่งปลูกมะเขือเทศไต้หวันเพราะได้ราคาดี โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 200,000 จัตต่อเอเคอร์ ซึ่งรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ไถ ปุ๋ย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าสามารถออกผลผลิตได้มากกว่า 1,000 ต้นในเดือนมี.ค.นี้ โดยราคาขายส่งมะเขือเทศขายได้ 1,000 จัตต่อ vises (1  visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ทั้งนี้มะเขือเทศไต้หวันสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ซึ่งจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ได้เข้ามาให้ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อให้ได้พืชผลที่ปลอดสารเคมี และยังสาธิตวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตามธรรมชาติและยาฆ่าแมลงให้อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exotic-tomato-growers-in-kyunhla-delight-to-earn-good-price/

เกษตรกร ปลื้ม ปีนี้ ขายกะหล่ำปลีได้กำไรงาม

เกษตรกรจากหมู่บ้านในเขตอำเภอวู่นโต และกอลี่น เขตซะไกง์ กำลังปลูกะหล่ำปลีโดยใช้น้ำชลประทานจากลำห้วย Daungmyu กำลังปลื้มกับราคากะหล่ำปลีในปีนี้ โดยทปีที่แล้วขายกะหล่ำปลีหนึ่งหัวได้ในราคา 600 แต่ปีนี้ราคาพุ่งไปถึง 1,500 ต่อหัว แม้ปีนี้ต้นทุนการปลูกจะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยเนื่องจากราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 70,000 จัตต่อ 2,000 ต้น หากราคากะหล่ำปลีไม่ตกต่ำ เชื่อว่าเกษตรกรจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cabbage-growers-making-handsome-profits-this-year/#article-title

ราคาข้าวเปลือกกัมพูชาจ่อปรับตัวลดลง สวนทางกับต้นทุนการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงกล่าวว่าราคาข้าวเปลือกอาจจะปรับตัวลดลง สวนทางกันกับต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า อาทิเช่น เชื้อเพลิง ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ตามการประชาสัมพันธ์ที่ออกโดยกระทรวงเกษตรเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา โดยกรมวิชาการเกษตรทุกจังหวัดวางแผนเดินหน้าแนะนำเกษตรกรตลอดจนชุมชนเกษตรกรเกี่ยวกับเทคนิคในการผลิตข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ภายใต้วิธีการที่เหมาะสม ลดต้นทุนการผลิต และรับประกันคุณภาพข้าวตามมาตรฐานการส่งออก ซึ่งทางการยังเน้นย้ำให้หน่วยงานระดับจังหวัดอำนวยความสะดวกและคอยควบคุมราคาการรับซื้อข้าวแก่เจ้าของโรงสีภาคเอกชนในท้อง ในการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรได้มีทางเลือกในการขายข้าวมากกว่าขายให้กับพ่อค้าเท่านั้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501005720/dry-season-rice-prices-to-fall-as-farming-expenditures-double/

ราคาพริกขี้หนูสดชายแดนเมียวดี ราคาพุ่งเป็น 10,000 จัตต่อ 5 viss

ราคาพริกสดที่ชายแดนเมียวดี อยู่ที่ 10,000 จัตต่อ 5 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ปัจจุบันพริกสดในประเทศขาดแคลน ราคาพุ่งไปถึง 1,400-2,000 จัตต่อ viss ซึ่งผลมาจากสต็อกที่ต่ำ ผลผลิตลดน้อยลง และเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวพริกของไทย อย่างไรก็ตาม การปิดด่านมูเซ ซึ่งเป็นด่านสำคัญของเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ส่งผลให้การส่งออกพริกสดต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้พริกสดในประเทศนิยมปลูกในเขตอิรวดี มัณฑะเลย์ มาเกว และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-chilli-pepper-priced-at-k10000-per-five-visses-in-myawady-border/#article-title