ราคาข้าวเวียดนามพุ่งแซงไทย

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามพุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ แซงหน้าราคาข้าวไทย อินเดียและปากีสถาน โดยในช่วงกลางเดือน ส.ค. ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามลดลงเหลือ 385 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง 100 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2563 ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามอยู่ที่ 8 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าข้าวหัก 5% ของไทย แต่ยังสูงกว่าข้าวของอินเดียและปากีสถานอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐ และ 40 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามในปัจจุบัน อยู่ที่ 433-437 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถือว่าสูงกว่าของไทย อินเดียและปากีสถานอยู่ที่ 49, 68 และ 55 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-rice-price-surges-surpasses-that-of-thailand/

กัมพูชาส่งออกพริกไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 563%

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกพริกไทยมากกว่า 27,316 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 563 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกัมพูชา โดยพริกไทยจำนวนนี้ส่งออกไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เวียดนาม เยอรมนี ไทย ฝรั่งเศส เบลเยียม เป็นสำคัญ ตามรายงานสถิติ เวียดนามถือเป็นผู้นำเข้าพริกไทยรายใหญ่ของกัมพูชาด้วยจำนวน 26,686 ตัน ตามด้วยเยอรมนี 314 ตัน ไทย 180 ตัน ฝรั่งเศส 31 ตัน และเบลเยียมเกือบ 16 ตัน ซึ่งพริกไทยถูกปลูกอยู่ในหลายพื้นที่ของกัมพูชา โดยเฉพาะในจังหวัดกำปงจาม ตบูงขมุม กำปอต และแกบ ซึ่งพริกไทยที่ถูกปลูกในจังหวัดกำปอตถือเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสูง โดยพริกไทยกัมพูชาได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากสหภาพยุโรป (EU) ในปี 2016 และจากองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50947511/pepper-exports-up-nearly-563-percent/

ราคาข้าวเมียนมา พุ่ง 2,800 จัตต่อถุง สูงสุดภายใน 1 เดือน

ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นจาก 800 จัตเป็น 2,800 จัตต่อถุงภายในหนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 ราคาข้าวเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 27,500-42,100 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและพันธุ์ข้าว ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 29,100—44,900 จัตต่อถุง ในวันที่ 31ส.ค.64 ราคาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ราคาข้าวในปี 63 จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ดังนั้นคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ มาตรการควบคุณการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา คาดว่าจะยังคงยืนราคาไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-rises-by-k2800-per-bag-in-maximum-within-one-month/

ราคาเมล็ดผักชีเมียนมาพุ่ง ตามความต้องการของต่างประเทศ

ราคาเมล็ดผักชีในเมียนมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค.64 จากความต้องการที่สูงขึ้นของบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน อีกทั้งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและต้นทุนเพาะปลูกไม่สูงมากสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ซึ่งบังคลาเทศนำเข้ามาใช้สำหรับทำผงเครื่องเทศทุกปี โดยราคาอยู่ที่ 650-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และใช้ในธุรกิจผงปรุงมาซาลา การปลูกเมล็ดผักชีเริ่มในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ปลูกมากในเขตมัณฑะเลย์และเขตมะกเว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/coriander-seed-prices-rise-on-strong-foreign-demand/#article-title

ผู้บริโภคชาวเวียดนามปลื้มมะม่วงกัมพูชา

กัมพูชาส่งออกมะม่วงสดไปยังเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณกว่า 140,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 86.8% ของปริมาณการส่งออกผลไม้ทั้งหมด สำนักงานการค้าเวียดนาม อ้างข้อมูลจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของกัมพูชา เปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ค. เวียดนามส่งออกมะม่วง 161,228 ตัน พุ่ง 248% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากมะม่วงสดแล้ว กัมพูชายังได้ส่งแยมมะม่วงราว 13,525 ตัน ตลอดจน 77 ตันไปยังเวียดนาม, 1,000 ตันไปยังไทย และ 11,000 ตันไปยังจีนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจุบันกัมพูชา มีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 126,668 เฮกตาร์ และทำการส่งออก 845,274 ตัน เป็นมูลค่ากว่า 473.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเวียดนาม ไทย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รัสเซียและฝรั่งเศส

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-biggest-buyer-of-cambodia-s-mangoes-4342351.html

ตลาดเมล็ดงาเมียนมา คึกคัก จากความต้องการของจีนที่สูงขึ้น

ราคางาดำในตลาดมัณฑะเลย์ เริ่มฟื้นตัวจากความต้องการที่ต่อเนื่องของจีนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคางาดำเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น สังเกตได้จากราคางานดำต่อสามตะกร้าอยู่ที่ 145,000 จัตในเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นเป็น 165,000 จัตในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา โดยงาดำเป็นที่ต้องการสูงมากในจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้งาดำในธุรกิจขนมขบเคี้ยว การผลิตน้ำมัน และการผลิตยาสมุนไพร เมียนมาส่งทั้งเมล็ดงาดิบและงาที่ผ่านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มไปยังจีน แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลาดซบเซาลง หากคลายมาตรการด้านการควบคุมการแพร่ระบาดดลงและการคมนาคมคลี่คลาย เชื่อว่าตลาดค้าขายงาจะกลับมาสดใสอีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-sesame-seed-market-sees-high-demand-from-chinese-buyers/#article-title

สศก. แจงสถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตรไทยในอาเซียน เผยไตรมาสแรกยังเติบโตดี

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรและยางพาราธรรมชาติ (พิกัด 4001) ของไทยกับภูมิภาคอาเซียน ในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2563 พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรรวม 113,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าส่งออกเป็น 75,415 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 38,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 41.43 โดยกลุ่มสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ พืชผักที่บริโภคได้โดยเฉพาะมันสำปะหลังและถั่วเขียว ปลาและสัตว์น้ำ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ข้าวและธัญพืช และของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาการอนุญาตให้มีการนำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรuอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับผลผลิตในประเทศมีปริมาณน้อยลง ทั้งจากปัญหาภัยแล้งรวมถึงโรคระบาดในข้าวโพด ทำให้ผลผลิตที่ได้มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ จึงมีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และจำหน่ายต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3134064

รัฐฯ สนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสำหรับผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรในกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ของรัฐได้เรียกร้องให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขยายการผลิตแปรรูปทางการเกษตรและขอสินเชื่อฉุกเฉินอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาภาคการเกษตร โดยการเรียกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้รับคำขอกู้เงินเพียง 5 รายการจาก SMEs ในภาคการแปรรูปสินค้าเกษตร ผู้อำนวยการ รพช. กล่าวว่าเนื่องจากกองทุนฉุกเฉินจำนวน 50 ล้านดอลลาร์ ได้มีการรับการอนุมัติจากรัฐบาลไว้สำหรับธุรกิจการแปรรูปทางการเกษตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 โดยกองทุนได้รับการออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นเฉพาะในการแปรรูปการเกษตรการแปรรูปอาหารธุรกิจเกษตรพืชผล รวมถึงผัก, ปศุสัตว์, ธุรกิจสัตว์น้ำ และองค์กรใดๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50720250/agriprocessors-urged-to-take-out-loans-and-expand-work/