การเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยให้กับเกษตรกร

ตัวแทนจากสมาพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) ได้เรียกร้องให้สถาบันการเงินทบทวนอัตราดอกเบี้ยเพื่อการเกษตรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพการผลิตและหนุนการเติบโตของภาคเกษตร โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในการประชุมเศรษฐกิจมหภาค NBC ประจำปีครั้งที่ 6 ด้านการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างรวดเร็วและสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่ไม่แน่นอนซึ่งจัดโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรอยู่ในระดับสูง คือ 12%-18% ต่อปี ซึ่งรองประธาน CRF กล่าวว่าสำหรับภาคการค้าและการค้าปลีกเพียง 6.5%-8.5% โดยสิ่งนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศอื่นซึ่งภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณ 30% ของ GDP ของประเทศคิดเป็นมูลค่า 6-8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตามพอร์ตสินเชื่อจากภาคการเงินไปสู่ภาคเกษตรกรรมมีเพียง 10% ของพอร์ตสินเชื่อรวม โดยปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรรายย่อยและชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการเติบโตของภาคการเงินจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670590/call-for-lower-interest-rates-for-farmers/

ธนาคารกลางเมียนมาเล็งเปิดอัตราดอกเบี้ยเสรีเพิ่ม

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะพิจารณาการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและอนุญาตให้ธนาคารเอกชนมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดอัตราการดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน โดย CBM จะขอความช่วยเหลือจาก IMF และสังเกตว่าประเทศอื่นเริ่มไปก่อนแล้ว ปัจจุบันธนาคารเอกชนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 8% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 13% ที่กำหนดโดย CBM ขณะที่อัตราของธนาคารกลางคือ 10% ซึ่งการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยบางประเทศใช้เวลานานถึง 20 ปี และไม่สามารถลดหรือเพิ่มได้ทันที ซึ่งประเทศนั้นต้องมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ในขณะเดียวกันยังกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบสำหรับสถาบันการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและส่งเสริมให้ตลาดทุนมีความสำคัญยิ่งขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 60-61 มีทุนชำระแล้วในภาคธนาคาร เกือบ 3 ล้านล้านจัต เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบัน CBM กำลังเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบการควบคุมสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-will-consider-further-rate-liberalisation.html