โครงการสะพานตันลวิน (ตะกาว) ดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 84%

กระทรวงการก่อสร้าง กำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานตันลวิน (ตะกาว) บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ในรัฐฉานตอนใต้ และขณะนี้งานก่อสร้างร้อยละ 84 ได้ดำเนินการไปแล้ว ตามที่รองผู้อำนวยการ (โยธา) ผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างสะพานกล่าว ในปัจจุบันการก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างย่อยแล้วเสร็จ และกำลังดำเนินการติดตั้งคานเหล็กและคานเหล็กกล่อง อย่างไรก็ดี สะพานตันลวินเก่า เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างรัฐฉาน (ใต้) และรัฐฉาน (ตะวันออก) เป็นหลัก บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสินค้าส่งออกและนำเข้าจะถูกขนส่งผ่านทางถนนและสะพาต่อการเข้าถึงประเทศลาว ไทย และจีน ผ่านเมืองเชียงตุงและท่าขี้เหล็กจากตอนกลางของ พม่า เนื่องจากถนนดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการขนส่งสินค้า กระทรวงการก่อสร้างจึงได้ปรับปรุงสะพานบนถนนให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ 60 ตัน ในขณะที่ สะพานตันลวิน (ตะกาว) แห่งใหม่นี้มีความยาว 351 เมตร (1,151.631 ฟุต) และทำจากคานเหล็กกล่องพร้อมพื้นสร้างจากคอนกรีตเสริม สูง 2.74 เมตร และเสาเข็มเจาะ 1.5 เมตร นอกจากนี้ยังมีช่วงเจ็ดช่วงที่มีความกว้างต่างกัน โดยความกว้างรวม 39.4 ฟุต ซึ่งทางเดินรถกว้าง 20 ฟุต 6 นิ้ว และสำหรับทางเท้ากว้าง 4 ฟุต 5 นิ้ว ซึ่งในแต่ละด้านสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/thanlwin-bridge-takaw-project-completes-84-per-cent/#article-title

ปริมาณยานพาหนะเกือบ 8.4 หมื่นคัน เดินทางผ่านทางด่วนกัมพูชาในช่วงปีใหม่

ยานพาหนะราว 83,900 คัน เข้าใช้บริการทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ สำหรับในช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา กล่าวรายงานโดย Heang Sotheayuth โฆษกและผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์ กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม ซึ่งได้กล่าวเสริมว่าทางพิเศษดังกล่าวได้ให้การบริการรถยนต์ในช่วงวันเสาร์ 30 ธ.ค. จำนวน 21,900 คัน, วันอาทิตย์ 28,900 คัน และวันจันทร์ 33,100 คัน สะท้อนถึงศักยภาพของทางด่วนในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้คน โดยเชื่อว่าในอนาคตจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการค้าของกัมพูชาในอนาคต สำหรับทางด่วนดังกล่าวมีความยาวอยู่ที่ 187 กม. ลงทุนโดยบริษัท China Road and Bridge Corporation (CRBC) ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ เชื่อมต่อกรุงพนมเปญเข้ากับสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นเมื่อท่าสำคัญของกัมพูชา ซึ่งโครงการทางด่วนดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากทางฝั่งประเทศจีน ภายใต้กรอบของโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501417172/nearly-84000-vehicles-travel-on-chinese-invested-expressway-in-cambodia-during-new-year-holiday/

เส้นทางเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจลาว ปี 67 มุ่งเน้นการท่องเที่ยว ยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐาน

ปี 2566 ที่ผ่านมา สปป.ลาว เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ทั้งปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และการขาดดุลการค้าที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของประเทศ รัฐบาล สปป.ลาว ได้ริเริ่มแคมเปญ Visit Lao Year 2024 โดยหันมาใช้การท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจ และวางรากฐานสำหรับการเป็นประธานอาเซียนในปี 2567 โดยมีมาตรการปรับปรุงการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เน้นที่การลดความซับซ้อนของการขายตั๋วสำหรับรถไฟลาว-จีน แผนดังกล่าวยังรวมถึงการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จสิ้น เช่น ถนนและสนามบิน การฟื้นฟูทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการบริการ โดยความพยายามเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้สภาพถนนที่ไม่ดีส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวในช่วงปีเยือนลาวปี 2567

ที่มา: https://laotiantimes.com/2023/12/27/laos-charts-course-for-growth-in-2024-with-tourism-focus-infrastructure-overhaul-amidst-economic-challenges/

สปป.ลาว วางแผนการขนส่งใหม่ในเวียงจันทน์ เพื่อลดมลภาวะทางอากาศและเสียง

โครงการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืนของเวียงจันทน์ แบบไร้เครื่องยนต์เพื่อช่วยลดระดับมลพิษทางอากาศและเสียงในเมืองหลวง โครงการนี้ริเริ่มโดยกรมโยธาธิการและการขนส่ง กระทรวงคมนาคม โดยจะสร้างพื้นที่หลักที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในใจกลางเมือง รถสามล้อไฟฟ้าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยให้ผู้สัญจรจากสถานี Bus Rapid Transit (BRT) เดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในเมืองโดยไม่ต้องใช้ยานยนต์ e-pedicab เป็นรถถีบน้ำหนักเบาที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับความนิยมในหลายเมืองทั่วโลกในด้านความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารหลายคน ในขณะเดียวกันก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยรถสามล้อไฟฟ้าซึ่งบริหารโดยแผนกการจัดการการขนส่งในเมือง (UTMS) จะช่วยเคลื่อนย้ายผู้โดยสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและประหยัดมากขึ้นภายในพื้นที่หลัก เนื่องจากผู้โดยสารจะทำงานได้แม้ในพื้นที่ที่ไม่มีเครื่องยนต์ เช่น Transit Mall แห่งใหม่รถสามล้อไฟฟ้าจะให้บริการตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 22.00 น. ทุกวัน โดยสามารถพบได้ที่สถานี BRT และที่จอดรถทุกแห่ง ราคาค่าบริการไม่แพงอยู่ที่ 12,500 กีบต่อกิโลเมตร สามารถชำระเงินและจองผ่านแอปสมาร์ทโฟน UTMS รถสามล้อไฟฟ้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของความมุ่งมั่นของโครงการขนส่งเมืองอย่างยั่งยืนในเวียงจันทน์ในการสร้างการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแต่ราคาไม่แพง ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและปรับปรุงคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ที่อาศัยและทำงานในพื้นที่หลัก โดยการลดมลภาวะทางอากาศและเสียง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_246_New_y23.php

ADB ร่วมกับ MPWT สร้างโครงการฝังกลบในพระตะบอง มูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมมือกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ในการก่อสร้างหลุมฝังกลบแบบควบคุมขนาด 20 เฮกตาร์ ในจังหวัดพระตะบองสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนที่มีอยู่ราว 126,000 คน ด้วยกำลังการกำจัดขยะ 100 ตัน ต่อวันเป็นเวลา 10 ปี ด้วยเม็ดเงินลงทุนในโครงการมูลค่า 6.28 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ชื่อโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองครั้งที่สองในลุ่มน้ำทะเลสาบโตนเลสาบ โดยโครงการนำร่องได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว 2 เดือน และพร้อมที่จะให้บริการแก่ชุมชนทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งจุดฝังกลบดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลเมืองพระตะบอง 25 กิโลเมตร และห่างจากชุมชนเนื่องจากความกังวลด้านสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยขยะทั้งหมดสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตก๊าซและปุ๋ยต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501404698/adb-mpwt-build-6-28-million-landfill-project-in-battambang/

แขวงไชยสมบูรณ์ สปป.ลาว ไฟเขียวพัฒนาการท่องเที่ยว

แขวงไชยสมบูรณ์ได้อนุญาตให้บริษัทท้องถิ่นสร้างสถานที่ท่องเที่ยวบนเนินเขาผากาใต้ ในเมืองอะนุวง โครงการมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 878 เฮกตาร์ ซึ่งรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว 150 เฮกตาร์ การพัฒนาด้านการเกษตร 471 เฮกตาร์ และพื้นที่อนุรักษ์ 257 เฮกตาร์ ภายใต้สัญญาสัมปทาน 50 ปี โดยบริษัทจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครอบคลุมในพื้นที่เทือกเขาสันภูหมอกและภูเขาภูตะกัน ในเขตหลงเฉิง ได้แก่ การก่อสร้างสวน บ้านจำลองของกลุ่มชาติพันธุ์ ถนนทางเข้า ร้านอาหาร จุดชมวิว สนามกีฬา ตลาดกลางคืน โรงพยาบาล ตลาดขายของที่ระลึก โรงแรมและที่จอดรถ นอกจากนี้ แขวงไชยสมบูรณ์ยังวางแผนที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งการสร้างจุดชมวิว จุดบริการ ที่จอดรถ ที่ตั้งแคมป์ และถนนทางเข้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_237Xaysomboun_23.php

กัมพูชาเริ่มดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งใหม่

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำตาไตทางตอนบนของจังหวัดเกาะกง ขนาดกำลังการผลิต 150 เมกะวัตต์ คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 31.5 โดยคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 ปี และจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 527 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ได้เป็นประธานในพิธีปิดแม่น้ำเพื่อการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในเฟสถัดไป ซึ่งใกล้กับเขื่อนในเขต Thmar Baing สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นสัญญาสิทธิ์ในการก่อสร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ (BOT) เป็นเวลา 39 ปี โดยได้รับการลงทุนจากบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) และจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับองค์การไฟฟ้ากัมพูชาตลอดอายุสัญญา ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อเศรษฐกิจกัมพูชา และจะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ากระแสไฟฟ้า รวมถึงเป็นการเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้กับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501400180/work-on-new-hydropower-plant-in-cambodia-goes-smoothly/

สนามบินแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญก่อสร้างแล้วเสร็จ 55%

โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 55 และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2023 ตามกำหนดการที่สำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (SSCA) ได้กำหนดไว้ กล่าวโดย Sinn Chansereyvutha รองเลขาธิการ ซึ่งในเฟสแรกของการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวใช้เงินลงทุนประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ โดยหากสนามบินแห่งใหม่เริ่มดำเนินการ จะทดแทนสนามบินนานาชาติพนมเปญแห่งเก่าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน สำหรับสนามบินนานาชาติของกัมพูชารองรับผู้โดยสารทางอากาศรวม 4.11 ล้านคน ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 144 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด 41,596 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 93 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399940/new-phnom-penh-airport-55-completed/

ทางการกัมพูชาวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า LNG แห่งแรกของประเทศ

กัมพูชาเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แห่งแรกใน Botum Sakor นำโดย Keo Rattanak รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ซึ่งได้เปิดเผยว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ตัดสินใจยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700 เมกะวัตต์ ณ เกาะกง และหันไปให้ความสำคัญต่อโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติขนาด 800 เมกะวัตต์แทน โดยโครงการนี้จะดำเนินการโดยกลุ่ม Royal Group เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชากำลังเร่งสำรวจความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเทียบ LNG (Liquefied Natural Gas) แบบติดตั้งบนบกเพื่อนำเข้าเชื้อเพลิงและเปลี่ยนกลับเป็นก๊าซสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าในท้องถิ่น กล่าวโดยรัฐมนตรีฯ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศก่อนการประชุม COP28 (Convention on Climate Change) โดยเป็นการประชุมประจำปีด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UN)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399350/cambodia-to-build-its-first-lng-gas-fired-power-plant/

บริษัทผู้ผลิตเหล็กมาเลเซีย จัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการกัมพูชาในการจัดหาทรัพยากร

บริษัท LEFORM Bhd ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้ทำสัญญาร่วมกับ บริษัท Nim Meng Group Co., Ltd. ประเทศกัมพูชา ผ่านบริษัทย่อยอย่าง บริษัท Leform Metal SdnBhd ในการจัดหาทรัพยากรเผื่อการผลิตราวกั้นทางหลวง สำหรับโครงการปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 5 ด้วยมูลค่าสัญญารวมกว่า 1.95 ล้านดอลลาร์ โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งและประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ในกัมพูชา ซึ่งสัญญาดังกล่าวจะเริ่มต้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2024 และสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2024

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501398756/listed-malaysian-steel-products-manufacturer-leformbags-supply-deal-in-cambodia-worth-1-9-million/