โครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับ SMEs ในกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัว “Go4eCam” ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศซึ่งเป็นภาคที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโครงการมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาของโครงการประมาณสามเดือนและมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการในกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างประเทศและรัฐบาล ที่เรียกว่า Enhanced Integrated Framework (EIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้าใน 48 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชา โดยได้มอบเงินช่วยเหลือประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการ ซึ่งส่วนอื่นมาจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา โดยกัมพูชามีธุรกิจ SMEs กว่า 500,000 รายซึ่งแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร 150,000 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารตามที่สมาคมสมาพันธ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชาคาดการณ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686950/pilot-project-to-boost-e-commerce-for-kingdoms-smes

จริงหรือไม่? เวียดนามผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน

จากรายงานของ e-Conomy Southeast Asia 2019 จัดทำโดย Google Temask เปิดเผยว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เวียดนามกำลังเฟืองฟูและเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย โดยในปี 2562 เศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีอัตราการเติบโต 38% นับตั้งแต่ปี 2558

ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซเป็นตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตที่รวดเร็วของตลาดในประเทศ ได้แก่ Sendo, Tiki, Lazada และ Shopee ประกอบกับชาวเวียนามประมาณ 61 ล้านคนที่ใช้สื่อออนไลน์และใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชม. 12 นาทีต่อวัน และส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าจับตา คือเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกของปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 กลายเป็น 1 ในภูมิภาคที่เติบโตทางธุรกิจออนไลน์ที่รวดเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นและนิยมใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน ซึ่งคาดว่าเวียดนามอาจแซงอินโดนีเซีย และขึ้นแท่นเป็นผู้นำการเติบโตสูงที่สุดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-digital-economy-asian

มูลค่าตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนามแตะระดับ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ของสำนักงานอีคอมเมิรซ์และเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดเผยว่าในปี 2561 ขนาดตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนาม มีมูลค่าประมาณ 8.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าตลาดดังกล่าว มีสัดส่วนการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 39.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเฉลี่ย 202 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่คนเวียดนามนิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง หนังสือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาหลักที่ทำให้ผู้บริโภคลังเลในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ คือ สินค้าที่ได้รับมีคุณภาพต่ำกว่าโฆษณาไว้ การบริการลูกค้าที่แย่ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7948902-vietnam%E2%80%99s-e-commerce-market-hits-us$8-billion-in-2018.html

ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

ในปัจจุบัน การทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง “E-Commerce” มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากคนเวียดนามชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูง ซึ่งในช่วงปี 2559-2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้น 8.8% จาก 5.4% ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics ทั้งนี้ 5 อันดับสินค้าและบริการออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ขายดีในเวียดนาม ได้แก่ เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงาม รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน และอุปกรณ์สำนักงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและรับสินค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยกับเวียดนาม มีบริบทแตกต่างกัน นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้านอีคอมเมิร์ซแรงมากอีกประเทศ ด้านผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซของไทยควรศึกษาโอกาส เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17759