รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้าคุมการค้าผิดกฎหมาย

รัฐบาลจะเพิ่มการกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายโดยการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ จากการเปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา การค้าที่ผิดกฎหมายผ่านบริเวณชายแดนมีผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่น และเพื่อจัดการกับปัญหารัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา จากข้อมูลล่าสุดพบว่าเมียนมาอยู่ในอันดับต่ำสุดของดัชนีสภาพแวดล้อมการค้าโลกผิดกฎหมายในปี 61 จากข้อมูลการนำเข้าพบว่ามูลค่าการค้ารวมของสินค้าอุปโภคบริโภคหกรายการมีมูลค่า 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งหมด 6.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าผิดกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขนของผ่านเส้นทางการค้าชายแดน ศุลกากรและหน่วยงานรัฐฯ ยึดสินค้าที่ลักลอบนำเข้าจากท่าเรือ สนามบิน และชายแดนมูลค่าเกือบ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (25.14 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่แล้วคิดเป็นเพียง 0.4% ของการค้าที่ผิดกฎหมายตัวขับเคลื่อนหลักของการค้าที่ผิดกฎหมายคือ กำไรจากการเลี่ยงภาษี สาเหตุอีกประการหนึ่งคือข้อการจำกัดการนำเข้าสินค้า คณะกรรมการพัฒนาเอกชนได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายในเก้ารัฐและภูมิภาค สามารถป้องกันการลักลอบขนสินค้า 1,065 มูลค่ามูลค่ารวม 15.645 พันล้านจัต จากกันยายน 61 ถึงตุลาคม 62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-sets-sights-curbing-illegal-trade.html

มูลค่าของเถื่อนเมียนมาสูงถึง 1.56 พันล้านจัต

ตั้งแต่ ก.ย. 61 ถึง ต.ค. 62 กระทรวงพาณิชย์ยึดของต้องห้ามมูลค่าประมาณ 15.6 พันล้านจัต ในเก้าภูมิภาค ปัจจุบันรัฐบาลดำเนินการตามแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมียนมา (2561-2573) ประกอบด้วยห้าเสาหลัก เพื่อสันติภาพ หลักนิติธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการต่อสู้กับยาเสพติด การฟอกเงินและการพัฒนาธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาของภาคเอกชนและ SMEs นอกจากนี้ยังเร่งป้องกันและปราบปรามเสพติดให้สอดคล้องกับกฎหมายต่อต้านยาเสพติด และให้ปลูกพืชทดแทน เช่น ดอกป๊อปปี้ การควบคุมสารเคมีที่ การให้ความรู้และการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ส่วนการทำหน้าที่ของตำรวจพบว่ามีคดีฟอกเงิน 10 คดีในปี 61 และ 16 คดีในปี 62 ปัจจุบันรัฐบาลได้เพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการค้าที่ผิดกฎหมาย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/estimated-ks-156-billion-worth-of-contraband-seized

รายได้ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาพุ่ง 470 ล้านเหรียญสหรัฐ

จนถึงวันที่ 22 พ.ย.ของปีงบประมาณนี้รายรับจากการส่งออกของภาคเกษตรอยู่ที่ 473.892 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 114.241 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ 359.651 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ส่งออกฟาร์มปสุสัตว์ สินค้าทางทะเลเหมืองแร่ ป่าไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ใช้เทคนิค CMP และอื่น ๆ ในช่วงสองเดือนแรกของปีงบประมาณนี้รายรับจากการส่งออกสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 580 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/farm-produce-export-earnings-exceed-470-m

สาเหตุที่ผู้หญิงผลักดันการเติบโตของภาคไอทีเมียนมา

พบว่าในบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์ 10 คนที่สำนักงานในย่างกุ้งของบริษัทซอฟแวร์อย่าง Axon Active เก้าคนเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของบริษัทที่จะจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ .ในเมียนมา 70% ของบัณฑิต 3,000 คนจาก 25 มหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์ของเมียนมาเป็นผู้หญิง ความเท่าเทียมกันทางเพศนี้ในบริบทระหว่างประเทศ เกือบทุกแห่งในโลกผู้หญิงเป็นชนกลุ่มน้อยในสาขาเทคโนโลยี ยกตัวอย่างการเลือกสมัครงานของผู้ชายในอเมริกาสามในสี่เป็นงานเทคโนโลยีทั้งหมด Axon Active ในเมียนมาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการของผู้หญิงเพราะมีทักษะการสื่อสารที่ดี แม้ผู้ชายจะดีกว่าในด้านทักษะ เช่น การเขียนโปรแกรม แต่ผู้หญิงมีความเข้มแข็งเมื่อพูดถึงทักษะในการสื่อสารระหว่างนักพัฒนาโปรแกรมและลูกค้า เปิดเสรีโทรคมนาคมของเมียนมาทำให้เกิดกระแสความนิยมอินเทอร์เน็ต ราคา ความเร็วและความพร้อมของทั้งมือถือได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่แรงงานค่อนข้างถูกทำให้ผู้จบระดับมหาวิทยาลัยด้านไอทีคาดหวังรายได้ประมาณ 200 เหรียญสหรัฐ และเมื่อผ่านไป 2 – 3 ปี จะมีรายได้อยู่ระหว่าง 1,000 – 2,000 เหรียญสหรัฐเลยทีเดียว เป็นผลให้ภาคไอทีดึงดูดบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 50 บริษัท เข้ามาลงทุนในเมียนตั้งแต่ปี 57 ส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่นหรือสิงคโปร์ซึ่งค่าแรงสูงและการเข้าเมืองที่เข้มงวดทำให้เน้นแรงงานจากภายนอกมากกว่าในท้องถิ่น ซึ่ง Axon มองว่าการแข่งขันในเมียนมาจะยังไม่มากเท่ากับในเวียดนาม อาจถือได้ว่าอุตสาหกรรมไอทีได้ก้าวข้ามเรื่องเพศไปแล้ว แต่ใช่ว่าจะเป็นด้านบวกเสมอไป เพราะบางมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาหญิงถึง 90% ของสาขาคอมพิวเตอร์เพราะบางสาขาวิชาที่จำกัดไว้ให้กับเพศชายอย่างแพทย์และวิศวกรรมที่เป็นอุปสรรคสำหรับเพศหญิง บางครั้งเลือกเรียนคอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ว่าต้องการทำงานในภาคไอทีหรือไม่ แต่ปัญหาสำคัญของเมียนมาอีกอย่างคือ เนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาที่เน้นทางทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติจึงขาดทักษะในการปฏิบัติงาน ซึ่ง Axon กำลังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการหาทางออกให้กับเนื้อหาหลักสูตร ปัจจุบันเมียนมาเริ่มให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติมากขึ้นเมื่อรวมกับทักษะภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างดี แรงงานมีราคาถูก อุตสาหกรรมไอทีจึงมีอนาคตค่อนข้างสดใส

ที่มา: https://frontiermyanmar.net/en/why-women-are-driving-myanmars-it-sector-growth

MAI เปิดตัวเที่ยวบินตรงย่างกุ้ง – โซล

Myanmar Airways International (MAI) เปิดตัวเที่ยวบินตรงย่างกุ้ง – โซลในวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยจะทำการบินสี่ไฟท์ต่อสัปดาห์ โดย MAI จับมือกับ Meebang Air Agencies เพื่อเข้าสู่ตลาดการบินของเกาหลีใต้ และมีแผนจะเพิ่มเที่ยวบินเพิ่มเติมในภายหลัง ปัจจุบัน MAI มีเที่ยวบินไปกรุงเทพฯ, สิงคโปร์, กวางโจว, กายา และกัลกัตตา อีกทั้งมีเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังประเทศจีนอยู่ในสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ และจะมีเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศลำดับที่ 5 จากมัณฑะเลย์ไปยังฝูโจว ปัจจุบันได้รับการจัดอันดับความปลอดภัยระดับ 7 ดาวโดย AirlineRatings.com

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mai-introduce-yangon-seoul-direct-flights

ฮ่องกงลงทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐสร้างโรงไฟฟ้า LNG 2 แห่งในเมียนมา

รายงานของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) บริษัทพลังงาน CNTIC VPower YGI Limited จากฮ่องกงมีแผนลงทุนกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน LNG ขนาด 400 เมกะวัตต์ในเมืองธาเกตา และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาด 150 เมกะวัตต์ในเมืองเจ้าผิว เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า การลงทุนทั้งหมด 50 ประเทศมีการลงทุนรวม 82 พันล้านเหรียญสหรัฐถึงสิ้นปีงบประมาณ 61-62 โดยฮ่องกงอยู่อันดับที่ 11 จากผู้ลงทุนต่างชาติทั้งหมด มีตัวเลขลงทุน 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฮ่องกงได้ลงทุน 276.988 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 ต.ค.ปีนี้ทำให้เป็นผู้ลงทุนอันดับต้นๆ จีน ญี่ปุ่น และไทยลงทุน 8.667 ล้านเหรียญสหรัฐ 6.073 ล้านเหรียญสหรัฐและ 0.400 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ ส่วนใหญ่ลงทุนใน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงาน การผลิต การขนส่งและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและการท่องเที่ยว เหมืองแร่ ปศุสัตว์และการประมง การเกษตร การก่อสร้าง และภาคบริการอื่น ๆ โดยภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีรายได้จากการลงทุนจากต่างประเทศ 27% รองลงมา ได้แก่ ภาคพลังงาน การผลิต การขนส่งและการสื่อสาร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/hong-kong-to-invest-500-million-dollars-in-two-lng-power-stations

มูลค่านำเข้าสินค้าทุนใน 2 เดือนแรกสูงกว่า 890 ล้านดอลลาร์

เมียนมานำเข้าสินค้าทุนมูลค่ากว่า 890 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาประมาณสองเดือนปีงบประมาณนี้เกินกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 22 พ.ย.ของปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนถึง 890.210 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 833.025 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่า 57.185 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 16 พ.ย. มีธุรกิจจากต่างประเทศ 35 แห่งที่ได้รับการอนุมัติเข้ามาลงทุนมูลค่ารวม 496.282 ล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า มีมูลค่าถึง 14.303 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดจำนวน 529.189 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งรวมถึงการลงทุนที่มีอยู่แล้ว เมียนมาคาดจะมีเม็ดเงินการลงทุนรวมกว่า 220,000 ล้านเหรียญสหรัฐในอีก 20 ปี และตั้งเป้าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางภายในปี 2573

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/capital-goods-import-value-reaches-over-890m-in-about-two-months-this-fy