ยอดใช้สนามบินนานาชาติเมียนมาโต 6.5% ในรอบ 9 เดือน

ปริมาณการใช้สนามบินนานาชาติย่างกุ้งพุ่งขึ้น 4.6 ล้านคนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 6.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มียอดผู้มาเยือนมากกว่า 4.32 ล้านคน Yangon Aerodrome Company (YACL) ระบุว่าเพราะที่ผ่านมามีการเพิ่มเส้นทางใหม่เพื่อตอบสนองตลาดจีน โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้เพิ่ม 2 เส้นทางด้วยสายการบินใหม่ 3 สาย อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลา 9 เดือนผู้โดยสารภายในประเทศลดลง 1.7% เนื่องจากสายการบินท้องถิ่นกำลังยกระดับเครื่องบินให้ใหญ่กว่าเดิม ขณะนี้สนามบินนานาชาติย่างกุ้งให้บริการสายการบินนานาชาติกว่า 30 แห่งเชื่อมต่อกับหลายสิบเมืองในเอเชีย ประเทศจีน ไทย และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารระหว่างประเทศ นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามามีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการผ่อนปรนวีซ่าโดยอนุญาตให้วีซ่าเดินทางตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปี 61

ที่มา: http://www.xinhuanet.com/english/2019-10/20/c_138487382.htm

เมียวดี ขุมทรัพย์ที่กำลังเริ่มพัฒนา

จากการไปสำรวจตลาด และพูดคุยเกี่ยวกับการค้าและธุรกิจกับเพื่อนๆ นักธุรกิจในเมียวดี พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การค้าคึกคักมาก รถเพิ่มขึ้นมากๆ ถนนเริ่มแออัด ซึ่งเริ่มติดประมาณต้นปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ถนนจากย่างกุ้งดีขึ้นก็มีรถยนต์โดยสารรุ่นใหม่ๆ เริ่มวิ่งวันละไม่ต่ำกว่ายี่สิบเที่ยว วันจะมีชาวย่างกุ้งเดินทางมาเที่ยวแม่สอด มารักษาพยาบาลมากขึ้น ส่วนมากจะมาพบทันตแพทย์ ส่วนรักษาโรคภัยจะเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และมาช๊อปปิ้ง และมีบางส่วนเล่นการพนันที่บ่อนคาสิโน บ่อนใหญ่สุดมีทั้งสินค้าปลอดภาษี ร้านอาหารไทย ร้านอาหารฝรั่ง ผับเบียร์สด ร้านกาแฟ ส่วนใหญ่ที่นี้มีแต่คนไทย พนักงานก็เป็นคนไทย และใช้เงินไทยการเล่นพนัน ส่วนการค้าที่พบสินค้าที่บรรทุกมาจากประเทศเมียนมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดแห้งหรือข้าวโพดอาหารสัตว์ ส่วนมากมาจากรัฐฉานและปกติจะส่งออกไปยังจีนแต่ผู้ประกอบการจีนได้ระงับการสั่งซื้อ และเนื่องจากเข้าฤดูฝนเกษตรกรจึงจำเป็นต้องขนมาขายที่ชายแดนไทย ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เมียนมา โดยนำเอาความสามารถและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์หรืออาหารมนุษย์เข้าไปเปิดโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่ยั่งยืนและได้รับประโยชน์สูงสุด และได้ใจชาวเมียนมาไปเต็มๆ

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/598670

การปรับโฉมของตลาดสดของย่างกุ้ง

ตลาดสดเมียนมาปัจจุบันมักจะสกปรกและยังไม่ถูกสุขลักษณะนัก อนาคตอีกไม่กี่ปีทางการนครย่างกุ้ง ได้ทำโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้วยการให้การปรับปรุงตลาดสดให้ทันสมัยมากขึ้น นี่คือหนึ่งในแผนโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็คที่กำลังดำเนินการอยู่ ตลาดสดในย่างกุ้งปัจจุบันนี้มีอยู่ประมาณร้อยกกว่าแห่ง โดยที่พอใช้มี 70 กว่าแห่ง ทุกแห่งจะดำเนินการโดยภาครัฐ คือ คณะกรรมการพัฒนานครย่างกุ้ง (YCDC) ตลาดใหญ่หน่อยจะมีรูปร่าง คือ ด้านหน้าเป็นอาคารที่ขายตั้งแต่เครื่องอุปโภค-บริโภค จนกระทั่งเครื่องสังฆภัณฑ์ ส่วนด้านในจะเป็นอาหารแห้งต่างๆ ต่อด้วยอาหารสดผักผลไม้ ด้านในจะเป็นเนื้อสัตว์ และสัตว์เป็นๆ รวมทั้งปลาและอาหารทะเลเป็นต้น ส่วนตลาดที่เล็กลงมาหน่อยจะไม่มีรูปแบบ พื้นจะเป็นดินสลับคอนกรีต แต่ก็จะสกปรกมากๆ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ร่วมทั้ง YCDC เล็งเห็นการพัฒนาความเป็นอยู่ ต้องเริ่มจากตลาดสดก่อนนั่นเอง จึงได้เริ่มโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นมา ตัวอย่างการพัฒนา เช่น ตลาดปะซุ่นตองที่เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ และร้านอาหารในย่างกุ้งนิยมมาจ่ายตลาดกันนั้นมีอยู่สองตลาดด้วยกัน คือ ที่นี่กับตลาดตั่งเซ โดยจุดเด่นคือเป็นตลาดที่อยู่ติดกับท่าแพปลา ที่นี่อาคารจะมีทั้งหมดสามอาคารใหญ่ ดังนั้นจะรื้อทิ้งทั้งหมด แล้วสร้างใหม่จากเนื้อที่ 6 เอเคอร์ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านในจะเป็นอาคารที่ทันสมัยและสะอาด โดยแบ่งโซนออกมาชัดเจน รวมทั้งจัดให้เป็นสัดส่วนของสินค้าอุปโภค-บริโภคนำเอาไปไว้ชั้นบนชั้นล่างจะเป็นของสด ขณะนี้อยู่ในระหว่างเขียนแบบและหาผู้เข้าร่วมรับสัมปทานโครงการอยู่ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการไทยที่อยากไปลงทุนที่เมียนมา โดยเฉพาะเมืองท่าสำคัญที่มีประชากรอยู่อาศัยมากที่สุด ก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่ YCDC เพื่อขอทราบความชัดเจนของโครงการได้ที่สำนักงานโดยตรงเลย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/602721

เวิลด์แบงก์ชี้เศรษฐกิจปี 63 เมียนมาขยายตัว 6.6%

จากข้อมูลของธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจปี 63 ขยายตัว 6.6 สูงกว่าที่ตั้งไว้ 6.5% คาดจะเพิ่มขึ้น 6.7 % ในปี 64 และ 6.8 % ในปี 65 การเติบโตในปี 2020 จะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในภาคการผลิต ประกันภัย และการก่อสร้าง การชะลอตัวจาก 6.8% ในปี 61 เป็น 6.5% ในปี 62 เกิดจากการลดลงของภาคบริการและอัตราเงินเฟ้อที่สูง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความเสี่ยงขาลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ภัยธรรมชาติที่มีผลต่อภาคการเกษตร ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงวิกฤติยะไข่ที่ยังไม่คลี่คลายและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลเชื่อว่าสามารถทำให้ภาคการเงินของมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง โดยนโยบายการเงินและการคลังจะมีประสิทธิภาพเพราะมีเครื่องมือทางการเงินที่ดี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58 จาก 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 61 โดยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวในปีนี้ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนส่งผลกระทบน้อย ดังนั้นหลายธุรกิจจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ เช่น มาตรการเพื่อดึงดูดผู้ผลิตต่างประเทศให้ย้ายฐานการผลิตสู่เมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-grow-66-2020-world-bank.html

สถาบันฝึกอบรมสายอาชีพญี่ปุ่น – เมียนมาเฟ้นหาแรงงานกลุ่มแรก

สถาบันฝึกอบรมสายอาชีพญี่ปุ่น – เมียนมาได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการรับเข้าฝึกงานเป็นกลุ่มแรก สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมอาชีพอองซานญี่ปุ่น – เมียนมา สำหรับประกาศนียบัตร AGTI หลักสูตร 3 ปี จะเริ่มในเดือนธันวาคม ด้านการบำรุงรักษายานยนต์ วิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรม โดยจะรับผู้ฝึกอบรม 20 คนที่จะถูกคัดเลือกผลของการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษและวิชาคณิตศาสตร์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/japan-myanmar-vocational-training-institute-seeks-first-batch-trainees

เมียนมาส่งออกแร่มากกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 62

สิ้นปีงบประมาณ 61 – 62 เมื่อกันยายนที่ผ่านมา เมียนมามีมูลค่าส่งออกแร่ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 700 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าส่งออกหลักที่ส่งไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ผลผลิตจากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทางอุตสาหกรรม และอื่น ๆ แม้มีการจัดนิทรรศการหยกแต่ยอดส่งออกลดลง ด้วยการกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย Myanma mid-year gem emporium ได้จัดขึ้นที่เนปิดอร์ ตั้งแต่วันที่ 16-25 กันยายน ที่ผ่านมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mineral-export-volume-reaches-more-than-us-1-4-billion-till-2019-end

การลงทุนจากต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอดปี 62

ปริมาณการลงทุนจาก 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจเศรษฐกิจพิเศษติละวามีมูลค่ามากกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงกันยายน ปี 62 มีธุรกิจที่ลงทุนทั้งหมด 113 ธุรกิจจาก 19 ประเทศที่เข้ามาลงทุน เมื่อแบ่งเป็นรายประเทศพบว่าญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 674.488 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 36.21% และจำนวนธุรกิจ 37 แห่ง สิงคโปร์อยู่ที่ 650 ล้านเหรียญสหรัฐคิด คิดเป็น 34% จากจำนวนธุรกิจการลงทุน 27 แห่ง ส่วนไทยมีการลงทุน 170 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 9% และเกาหลีใต้ 96 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 5% ส่วนการลงทุนของมาเลเซีย, ไต้หวัน, ออสเตรเลีย, ปานามา, จีน, บรูไน, เวียดนาม, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ยังคงต่ำกว่าร้อยละหนึ่ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-in-thilawa-sez-reaches-more-than-us-186-billion-till-2019-september