สปป.ลาวคาดการส่งออกลดลงจากการระบาด covid-19

สปป.ลาวคาดมูลค่าการส่งออกจะลดลงอย่างน้อย 483 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาลสำหรับประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล หลังจากการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้โรงงานต้องปิดกิจการ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากล่าวว่ารัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการส่งออกเป็น 6.42 พันล้านดอลลาร์ แต่การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกอยู่ที่ 2.32 พันล้านดอลลาร์ท่ามกลางการขาดดุลการค้าจำนวนมาก มีการคาดการณ์ว่าการส่งเงินกลับประเทศไปยังสปป.ลาวจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในปี 63 อันเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด แรงงานชาวสปป.ลาวมากกว่า 100,000 คนได้เดินทางกลับบ้านเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ทำงานในประเทศไทยส่วนที่เหลือทำงานในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ธนาคารโลกระบุเมื่อเดือนมิถุนายนว่าการระบาดของโรคนี้สามารถผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากถึง 214,000 คนเข้าสู่ความยากจน  การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายนหลังจากที่รัฐบาลสั่งระงับการดำเนินการโรงงานเนื่องจากการระบาดของโรคระบาด แต่ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวดีขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมท่ามกลางการเปิดประเทศบางส่วนและการผ่อนคลายข้อจำกัดการปิดกั้น

ที่มา : https://www.ucanews.com/news/covid-19-expected-to-slash-laos-exports/89341#

ส่งออกไทย เดือน ก.ค. ติดลบ 11.37% ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

พาณิชย์เผยตัวเลขการส่งออก ก.ค. 63 หดตัว 11.37% เริ่มฟื้นตัวหลังจากอยู่จุดต่ำสุด การส่งออกทั้งปี ติดลบ 8-9% นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 18,819 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 11.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 15,476.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 26.38% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 3,343.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การส่งออก 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 133,162.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.72% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 119,118.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 14.69% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 14,044.2 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออกทั้งปี 2563 ประเมินว่าการส่งออกไทยจะหดตัวอยู่ที่ ติดลบ 8% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 226,567 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,681 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง ส่งออก ติดลบ 9% มีมูลค่าอยู่ที่ 224,105 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,188 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปัจจัยที่กระทบต่อการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2563 มองว่าผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยการส่งออกหลายสินค้าปรับตัวดีขึ้น ส่งออกเริ่มขยายตัว เช่น การส่งออกสินค้าอาหาร อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป่อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบ ไม่โครเวฟ ส่วนการส่งออกรายตลาดทุกตลาดหดตัวในอัตราที่น้อยลง สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระรบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวอีกว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนผลักดันการค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน สู่ตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย กัมพูชา สหรัฐ และจัดตั้งร้านค้าท็อปไทย บนแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของต่างประเทศ พร้อมต่อยอกบนแพลตฟอร์มไทยเทรดดอทคอมด้วย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปัญหาการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกในระยะต่อไป ส่วนปัญหาสงครามการค้า ยังเชื่อว่ายังไม่น่าจะมีมาตรการใหม่ออกมาในขณะนี้ สินค้าไทยที่ส่งออกทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐยังขยายตัวไปได้ดี พร้อมจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ย. 2563 นี้ ซึ่งจะมีมาตรการอะไรบ้างที่จะกระทบต่อการส่งออก นำเข้า ด้วย ส่วนการส่งออกไปจีนขณะนี้ กลับมาหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาด รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมในเมืองอู่ฮั่น เป็นต้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-510243

สัดส่วนการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชาลดลง

ส่วนแบ่งการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชาลดลงเนื่องจากผู้ผลิตภายในประเทศมีการกระจายสินค้าส่งออกให้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม (IDP) ปี 2015-2025 ที่กำหนดไว้ให้มีการสร้างความหลากหลายในด้านการผลิตสิ่งทอภายในประเทศ ตามร่างรายงาน IDP ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีกล่าวว่าในช่วง 3 ปี ของการดำเนินนโยบายเป้าหมายหลักสามประการของนโยบายนี้ได้รับการดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยกระทรวง สถาบันและหน่วยงานย่อยระดับชาติที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันอย่างสุดความสามารถ ซึ่ง IDP เปิดเผยว่าส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อ GDP คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 30 ภายในปี 2025 อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 71.6 ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2015 สู่ร้อยละ 69.2 ในปี 2018 จากการที่สหภาพยุโรป (EU) ได้ระงับสิทธิพิเศษทางการค้าในภาคส่วนเสื้อผ้าและสิ่งทอประจำปี มูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ ของกัมพูชาบางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755470/cambodias-garment-and-footwear-exports-share-declines/

หลักชัยเมืองยาง’พร้อมรับทุนตั้งโรงงานถุงมือ 2 หมื่นล้าน

“หลักชัยเมืองยาง”พร้อมรับนักลงทุนตั้งโรงงานถุงมือ 2 หมื่นล้านบาท “ไทยฮั้ว” คาดแล้วเสร็จอีก 5เดือน ทำราคายางปรับตัวสูงขึ้นยาวถึงสิ้นปี แต่ไม่ถึงกก.ละ 70บาท บริษัท ไทยเบคก้า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จ.ระยอง เปิดเผยว่า นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จึงมีนักลงทุนหลายประเทศรวมทั้งไทยสนใจเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยาง ในเร็วๆนี้ บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) จะร่วมทุนด้วย คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3-5 เดือน และติดตั้งเครื่องจักรได้แล้วเสร็จ ส่วนนักลงทุนต่างประเทศที่อยู่ระหว่างเจรจา เช่น สหภาพยุโรป(อียู) สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น วงเงินลงทุนรวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องการตั้งโรงงานขนาดกลางวงเงินลงทุนเฉลี่ยโรงงาน 5,000 ล้านบาท ส่วนปัจจัยที่ต่างประเทศสนใจตั้งโรงงานในไทย เพราะมีวัตถุดิบพร้อม ระบบการขนส่งดี แม้จะมีปัญหาค่าแรงสูง แต่การผลิตถุงมือยางส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักร อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐบาลสนับสนุนด้านการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อยากมาก ทั้งนี้ ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา เฉลี่ยประมาณ 40-45 บาท ต่อกิโลกรัม(กก.) แนวโน้มคาดว่าจะปรับสูงขึ้นแตะ 50 บาทต่อกก. จนถึงสิ้นปีนี้ แต่จะไม่สูงถึง70-80 บาทต่อกก. เหมือนในอดีต เพราะอุตสาหกรรมหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อน คือยางล้อ ยังซบเซา สำหรับการจัดตั้งโรงงานถุงมือยางของการยางแห่งประเทศไทย (กยท. )ในจ.นครศรีธรรมราช โดยการร่วมทุนกับเอกชน สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน นั้น มีความเป็นไปได้ยาก องค์กรเหล่านี้ไม่มีเงินทุน อีกทั้งการตั้งโรงงานต้องอาศัยความคล่องตัว คิดแล้วดำเนินการทันที เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ซึ่งหลังจากปี 2564 มีความเสี่ยงสูงมากที่ถุงมือยางจะล้นตลาด

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892844?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยการส่งออกข้าวโพดมีแนวโน้มดีขึ้น

ในขณะที่ความต้องการของต่างประเทศในนำสินค้าอุปโภคของเมียนมาบางส่วนในปีนี้ลดลงต่ำกว่าที่คาดไว้ในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 แต่การส่งออกพืชผลหลายชนิดยังคงเพิ่มขึ้นและบางส่วนก็ดูมีแนวโน้มดี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 2.5 ล้านตันเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว โดยปกติแล้วข้าวโพดจะส่งออกไปยังจีน แต่ความต้องการจากไทยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2562-2563 กว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกข้าวโพดในปีนี้ผ่านชายแดนท่าขี้เหล็กและเมียวดี ความต้องการจากประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากำลังเชื่อมโยงเกษตรกรกับธนาคารเพื่อหาทุนในการปลูก ส่วนพืชอื่น ๆ ของที่มีความต้องการในต่างประเทศมากคืออะโวคาโด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสิงคโปร์และจีน โดยอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) เป็นอะโวคาโดที่ปลูกกันมากที่สุดในโลก ซึ่งมักจะพบทางตอนใต้ของรัฐฉาน และถือว่าอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของอะโวคาโดที่บริโภคกันทั่วโลก การปลูกอะโวคาโดในปีนี้ประสบความสำเร็จและล่าสุดจีนเสนอให้นำเข้า 500 ตันต่อปี และสิงคโปร์ 15 ตันต่อสัปดาห์เช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/commerce-ministry-myanmar-says-corn-exports-very-promising.html

พาณิชย์ เผยตลาดออนไลน์ออสซี่โต 10 % หลังโควิค -19

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แนะผู้ส่งออกวางแผนลุยตลาดออสเตรเลียรับ New Normal ชี้เจาะผ่านช่องทางออนไลน์ หลังเติบโตแรง คาดจะขยายตัว 20% ภายใน 12-18 เดือนข้างหน้าเผยสินค้าสุขภาพ อาหาร อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน มาแรง หลังจากเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยพบว่าการค้าออนไลน์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากไม่เกิดวิกฤติโควิด-19 อาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนในการทำตลาดออสเตรเลียใหม่ โดยใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของชาวออสเตรเลีย ทั้งนี้ นอกจากการขยายตัวของการค้าออนไลน์ ยังพบว่า รูปแบบการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนเป็นการซื้อออนไลน์แบบไม่สัมผัสสินค้า (Contactless Shopping) หรือการเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วเลือกสถานที่ๆ จะรับสินค้า (Click and Collect) โดยการลดราคาสินค้า ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ แต่ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น และรูปแบบการค้าออนไลน์ ยังมีอิทธิพลครอบคลุมทั้งการค้าสินค้าและบริการ เช่น การให้บริการ Streaming Video การให้อาหารนกเพนกวินของ Sea Life Sydney Aquarium เป็นต้น สำหรับสินค้าไทยที่มีโอกาสในการเจาะเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย ได้แก่ สินค้าเพื่อสุขภาพ ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและสินค้าออร์แกนิค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องสำอาง และสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อตลาดสัตว์เลี้ยงที่มีมากกว่า 28 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังมีอาหารประเภท Ready to Eat และ Ready to Cook ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าการรับประทานอาหารในร้านอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานที่มีมากกว่า 65% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ที่ต้องการความสะดวกในการพกพาและการรับประทาน และได้คุณประโยชน์ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์แบบ DIY เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำสวน และเครื่องออกกำลังกาย ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการ Work From Home จึงใช้เวลาในการปรับปรุงและซ่อมแซมที่พักอาศัย และรัฐบาลยังจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชนสำหรับซ่อมแซม ปรับปรุงบ้านพักอาศัย การสร้างบ้านใหม่ และการอนุมัติโครงการก่อสร้างพื้นฐาน ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มาพร้อมกับความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ ความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจไทยในการเรียนรู้และปรับตัว เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยตลาดออสเตรเลีย ไม่ใช่ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เป็นตลาดที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีกฎระเบียบการนำเข้าที่ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า และสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าไทย

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889034?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ในช่วง 5 เดือนแรก

การส่งออกจากกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 สู่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากสำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐ โดยรายงานด้านการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สู่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่า 125 ล้านดอลลาร์ จากสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการขยายตัวในทิศทางบวกของการส่งออกนั้นเกิดจากการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่เสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น ข้าวสาร จักรยานและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการส่งออกของภาคเครื่องนุ่งห่มลดลงโดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศมีมูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743738/cambodias-exports-to-u-s-up-26-percent-in-first-five-months/

การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาลดลงจากผลกระทบของ Covid-19

โฆษกกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมด้านการส่งออกในภาคเสื้อผ้าลดลงมากกว่าร้อยละ 5 เป็นประมาณ 3.78 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก โดยโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวในการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบของ COVID-19 ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เมื่อวานนี้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาอยู่ที่ราว 3.784 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 จากการส่งออกมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 เหตุผลในการลดลงนั้นเป็นเพราะผลกระทบของ COVID-19 รวมถึงการจัดซื้อที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการลดลงโดยทั่วไปนั้นเป็นเพราะการหยุดการดำเนินการชั่วคราวและคำสั่งซื้อที่ลดลง โดยจากรายงานครึ่งปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งกัมพูชานำเข้าลดลงร้อยละ 5 การส่งออกสินค้ากัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743103/garment-exports-fall-factories-hit-by-virus/

การส่งออกข้าวของกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2563

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่ากัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 397,660 ตัน นับจากเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.25 เมื่อเทียบกับจำนวน 281,538 ตัน ในปี 2562 ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังกว่า 56 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45 จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.20 ส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.7 และแหล่งอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739927/rice-exports-surge-by-42-percent-in-the-first-six-months-of-2020/

การเปลี่ยนแปลงของกัมพูชาจากความไม่มั่นคงด้านอาหารสู่ประเทศผู้ส่งออกข้าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชากำลังส่งเสริมภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งนายกฯย้ำว่ากัมพูชาจะไม่ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือนในอดีตอีกต่อไป คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในช่วง Covid-19″ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 โดยจุดแข็งของกัมพูชาคือมีผลผลิตส่วนเกินถึง 6 ล้านตัน ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวหลัก ๆ สามประเภท ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาวและข้าวสวยไปยังจีน สหภาพยุโรป และ อาเซียน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยกัมพูชามีรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2563 ซึ่งส่งออกข้าว 356,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีการส่งออกเพียง 250,000 ตัน โดยตัวเลขการส่งออกในปี 2563 ถือเป็นการเติบโตที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738817/cambodias-transformation-from-a-food-insecurity-to-a-rice-exporting-nation/