เวียดนามนำเข้าเนื้อหมูพุ่ง เหตุราคาในประเทศร้อนแรง

ตามรายงานตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามนำเข้าเนื้อหมูมากกว่า 141,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 334.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 เพิ่มขึ้น 382% และ 500% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งการนำเข้าเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว เนื่องมาจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระบาด (ASF) ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูและทำให้ราคาเนื้อหมูในประเทศขยับเพิ่มขึ้นในเดือนแรกของปี 63 ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศบราซิล รัสเซีย โปแลนด์ สหรัฐฯและแคนาดา เป็นต้น ราคานำเข้าเนื้อหมูเฉลี่ยที่ 2.2 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ นาย Nguyễn Văn Trọng รองผู้อำนวยการกระทรวงของสำนักงานผลิตปศุสัตว์ กล่าวว่าราคาเนื้อหมูปรับตัวลดลงเมื่อไม่กี่วันก่อน เพราะว่าบริษัทแปรรูปมีการสั่งซื้อสินค้าลดลง เนื่องจากมีสินค้าเพียงพอต่อการบริโภคในช่วงเทศกาลเต็ด นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีจำนวนหมู 27.3 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 21 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/871761/vn-increases-pork-imports-to-cool-off-domestic-prices.html

เวียดนามเผยหนี้เสียพุ่งแตะ 4.5% ปี 64

ตามรายงานงบการเงินของกลุ่มธนาคารเผยตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ของธนาคารเวียดนาม 20 แห่งในสิ้นปี 2563 ได้เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ 83.4 ล้านล้านด่อง (3.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ) สำหรับธนาคาร Techcombank นั้นพบว่ามีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ 0.5% ซึ่งต่ำกว่า 1.3% ที่ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ถือว่าเป็นตัวเลขอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในกลุ่มภาคธนาคาร ในขณะที่ ธนาคาร Vietcombank มีหนี้เสีย ณ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 5.22 ล้านล้านด่อง ลดลงกว่า 50% และมีอัตราส่วนหนี้เสียลดลงอย่างมาก 1.01% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 มาอยู่ที่ระดับ 0.62% ณ สิ้นปี 2563 อย่างไรก็ตาม หนี้เสียของธนาคารจะเพิ่มสูงขึ้น หากเอาหนี้มารวมกัน โดยวิธีการปรับโครงสร้างหนี้จะช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญธนาคาร มองว่าหากสินเชื่อครึ่งหนึ่งกลายมาเป็นหนี้เสีย ส่งผลให้อัตราหนี้เสียจะพุ่งมากกว่า 3 เท่า ภายในสิ้นปีนี้

  ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/871751/bad-debts-of-20-banks-up-45-in-2020.html

เวียดนามเผย ม.ค. ยอดส่งออกผักและผลไม้ ลดลง 7.6%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักและผลไม้อยู่ที่ 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไม่สามารถคาดการณ์ถึงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว ชี้ว่าประเทศจีนยังเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดในปีที่แล้ว ด้วยสัดส่วน 56.3% ของส่วนแบ่งตลาดรวม ถึงแม้ว่ายอดการส่งออกผักและผลไม้ไปยังตลาดจีน จะลดลง 25.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ระดับ 1.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาตลาดสหรัฐฯ (168.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไทย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้ในเดือนมกราคมอยู่ที่ 140 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.3% โดยประเทศจีน สหรัฐฯและออสเตรเลียเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในตลาดเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำถึงบริษัทในท้องถิ่นว่าควรจะยกระดับคุณภาพของสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎระเบียบและทำให้แน่ใจว่าถูกต้องตามกฎด้านอาหารและความปลอดภัย

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fruit-and-vegetable-exports-decline-by-76-in-january-836248.vov

เวียดนามเผยโควิด-19 ดันช็อปออนไลน์พุ่งในช่วงเทศกาลเต็ด

การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามเกิดการจับจ่ายสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นตลอดทั้งปี คุณ Thu Hang นักบัญชีของธนาคารพาณิชย์ “Techcombank” กล่าวช่วงนี้ มีงานยุ่งกว่าปกติจากการทำรายงานเพื่อยื่นชำระทางด้านการเงินภายในสิ้นปี ดังนั้น การซื้อของออนไลน์บนเว็บไซต์จึงเป็นทางออก เพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับเทศกาลเต็ด (Tet) โดยเฉพาะในช่วงการรระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม เทศกาลเต็ดในปีนี้ ทางผู้ประกอบการค้าปลีกส่วนใหญ่ได้จัดโปรโมชั่นมากขึ้นและเตรียมสินค้าที่หลากหลาย ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ Tiki ผู้ให้บริการ E-Commerce รายใหญ่ของเวียดนาม ได้เพิ่มปริมาณสินค้าขึ้น 30% โดยเน้นอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางโภชนากา นมและเครื่องเทศ เป็นต้น และคาดว่ายอดขายในช่วงเทศกาลดังกล่าว จะพุ่ง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่าง Saigon Co.op, Big C และ Mega Market (MM) หันมาใช้เว็บไซต์และแอป เพื่อกระตุ้นการบริโภค นอกจากนี้ COVID-19 ยังสร้างโอกาสแก่ธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ดิจิทัล รวมไปถึงการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-boosts-online-shopping-for-tet-316205.html

ผู้ประกอบการยุโรป มองสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในเวียดนามสดใส

การสำรวจดัชนีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของ EuroCham (BCI) ระบุว่าผู้ประกอบการยุโรปส่วนใหญ่มองสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเวียดนาม อยู่ในแนวโน้มสดใส ซึ่งดัชนี BCI เพิ่มขึ้น 6 จุดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 แตะ 63.6% ตลอดทั้งปี ถือว่าเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ BCI เติบโตได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ เป็นผลมาจากความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม โดยปัจจัยทั้งสองดังกล่าว ช่วยให้ความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและกระตุ้นการทำธุรกิจ อีกทั้ง ตามการสำรวจของ EuroCham เผยว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 57% เชื่อว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีเสถียรภาพและดีขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนั้น ประมาณ 70% ธุรกิจได้รับประโยชน์จาก EVFTA ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจราว 33% ชี้ว่าขั้นตอนการบริหารของทางราชการยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบจากข้อตกลงดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/eu-firms-show-optimism-on-vietnams-business-climate-in-2021-28010.html

เวียดนามแอร์ไลน์ส ปี 63 ขาดทุน 480 ล้านเหรียญสหรัฐ

การระบาดของไวรัสโคโนนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่รุนแรงในปี 2563 สายการบินเวียดนาม แอร์ไลน์ส (Vietnam Airlines) เผยกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ราว 11.1 ล้านล้านด่อง (482 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่จะขาดทุนประมาณ 626.3 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นผลมาจากธุรกิจได้ทำตามขั้นตอนในการปรับค่าเสื่อมราคาและจัดสรรสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องบินภายใต้โครงการสนับสนุนของรัฐบาล ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว รายได้ของสายการบินลดลง 65% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 356.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรขั้นต้นลดลง 63% มูลค่า 22.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น รายได้สะสมในปี 2563 อยู่ที่ 1.76 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินดิ่งลงอย่างหนัก มาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เที่ยวบินในปีที่แล้ว ลดลง 48% เมื่อเทียบรายปี จำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือ 14.23 ล้านคน อย่างไรก็ตามในอีก 5 ปีข้างหน้า สายการบินเวียดนาม แอร์ไลน์ส ได้ตั้งเป้าที่จะกลับมาดำเนินกิจการ ในขณะเดียวกันก็เร่งกระบวนการปรับโครงสร้างองค์กรและยกระดับการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเรื่องการขายอากาศยานและเช่ากลับคืน (SLB)

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-airlines-suffers-losses-of-over-us480-million-in-2020-316168.html

บริษัทจัดจำหน่ายน้ำมันชั้นนำ ‘Petrolimex’ ของเวียดนาม กำไรร่วง 74%

‘Petrolimex’ ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ระบุว่าในปีที่แล้ว กิจการมีกำไรสุทธิ 1.23 ล้านล้านดอง (53.69 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ เมื่อปี 2562 กำไรของกิจการอยู่ที่ 4.77 ล้านล้านด่อง และกิจการยังมีสถานีจำหน่ายน้ำมันหลายพันแห่งทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายน้ำมันเครื่องบินลดลง 74% หลังจากเที่ยวบินระหว่างประเทศถูกระงับตลอดทั้งปี 2563 นอกจากนี้ กิจการดังกล่าวมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% รองลงมา PV Oil ครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 2 ในเวียดนาม

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/companies/oil-distributor-petrolimex-profit-falls-74-pct-4231261.html