Vietnam Economic Factsheet : 2563

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 2.91 (หากเทียบตามไตรมาสแล้ว GDP ในไตรมาสแรก ขยายตัว 3.68% ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 0.39% ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัว 2.69% และในไตรมาสที่ 4 ขยายตัว 4.48% ตามลำดับ) ตัวเลขดังกล่าวเป็นการเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (2011-2020) ท่ามกลางผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังถือเป็น “ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่” ของประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund, Ministry of Finance และ Royal Thai Consulate-General, Ho Chi Minh City

ราคาข้าวเวียดนามพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

ราคาข้าวหัก 5% ของเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 500-505 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2564 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) กล่าวว่าราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวบ่งบอกถึงคุณภาพข้าวของเวียดนาม และชี้ให้เห็นถึงความต้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ในภูมิภาค ได้แก่ จีน บังกลาเทศและฟิลิปปินส์ นำเข้าข้าวจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก อาจเห็นว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวลดลง เนื่องมาจากบาทแข็งค่า นอกจากนี้แล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนามและสหภาพยุโรป (EVFTA) จะทำให้กลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปจัดสรรโควตาภาษีแก่ข้าวของเวียดนาม ประมาณ 10,000 ตันในปีนี้ ขณะที่ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ – เวียดนาม (UKVFTA) จะลดภาษีนำเข้าสำหรับข้าวเวียดนามถึง 0%

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-rice-prices-hit-10-year-high-316147.html

จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ในเวียดนาม พุ่ง 21.9% ในเดือน ม.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ในเดือนมกราคม อยู่ที่ราว 10,100 แห่ง เพิ่มขึ้น 21.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินทุนจดทะเบียนรวม 155.1 ล้านล้านด่อง (6.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และจำนวนแรงงาน 115,900 คน เพิ่มขึ้น 25.9 และ 37.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ โดยภาพรวม มีเงินทุนไหลเข้าเศรษฐกิจพุ่ง 395.1 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้น 10.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เงินทุนจดทะเบียนเฉลี่ย 15.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ จำนวนธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการ 6,503 แห่ง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/number-of-newlyestablished-firms-surges-219-percent-in-january/195842.vnp

เวียดนามเผยดัชนีผลผลิตอุตฯ ม.ค. โต 22.2%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) เดือน ม.ค. ขยายตัวราว 22.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ขยายตัว 27.2% ขณะที่ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ขยายตัว 16.3% ในทางตรงกันข้ามนั้น ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หดตัว 6.2% ทั้งนี้ ในช่วงเดือนแรกของปี 2564 การผลิตโทรทัศน์พบว่าขยายตัวมากที่สุด 106.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาชิ้นส่วนโทรศัพท์ (71.5%), เหล็กแผ่นรีด (63.4%) และรถยนต์ (38.2%) ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. จำนวนแรงงานของภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว แต่หดตัว 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ทางสำนักงาน กระทรวงและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้เร่งการปฏิรูปขั้นตอนการบริหารและช่วยธุรกิจในการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/januarys-industrial-production-index-rises-by-222-percent/195808.vnp

เวียดนามส่งสัญญาสภาพธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ช่วงต้นปี 64

ตามผลการสำรวจของ Nikkei และ IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (PMI) ของเวียดนามเดือน ม.ค. อยู่ที่ 51.3 ลดลงจาก 51.7 ในเดือน ธ.ค. ชี้ให้เห็นถึงสภาพการดำเนินธุรกิจปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี 2564 “ภาคการผลิตของเวียดนามพยายามดิ้นรนเพื่อรักษาโมเมนตัมในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และภาวะหยุดชะงักด้านซัพพลายเชน” ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค. ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นในบางธุรกิจ แต่ว่าธุรกิจอื่นยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้การผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอุตฯ ยังคงรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร โดยบางบริษัทก็จ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จากการที่ยอดคำสั่งซื้อใหม่สูงขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-signals-soft-improvement-in-business-condition-at-start-of-2021-316119.html

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมรองเท้า รุกขยายห่วงโซ่อุปทานโลก

สมาคมเครื่องหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือของเวียดนาม (LEFASO) ระบุว่าอุตสาหกรรมรองเท้าของเวียดนามเริ่มเห็นสัญญาเขิงบวก หลังจากยอดการส่งออกรองเท้าและกระเป๋าถือลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีสัญญาแสดงให้เห็นว่าเวียดนามพยายามเข้าห่วงโซ่อุปทานรองเท้าหนังมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการออกแบบและการวิจัยได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทั้งนี้ แหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนามนับว่าเป็นโอกาสอันดีของเวียดนามที่จะส่งออกไปยังตลาดอียู ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้หวังว่าในปี 2564 ยอดคำสั่งซื้อและรายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์หลังวิกฤติโควิด-19

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/866852/footwear-sector-further-penetrates-global-supply-chain.html

ยอดค้าปลีก-บริการเวียดนาม โต ช่วงเทศกาลเต็ด

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกสินค้าและรายได้จากบริการผู้บริโภคของเวียดนามในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 20.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน และ 6.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็นยอดค้าปลีก มีมูลค่า 378.9 ล้านล้านด่อง คิดเป็นสัดส่วน 79% ของยอดค้าปลีกรวม เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามมาด้วยรายได้จากร้านอาหารและที่พักอยู่ที่ราว 48.7 ล้านล้านด่อง รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ราว 1.6 ล้านล้านด่อง และรายได้จากบริการอื่นๆอยู่ที่ราว 50.7 ล้านล้านด่อง ทั้งนี้ สำนักงานฯ ระบุว่ายอดค้าปลีกและรายได้จากบริการผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเข้าใกล้เทศกาลเต็ด (Tet) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอย่างห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ได้เตรียมจัดหาสินค้าจำนวนมาก รวมถึงโปรโมทสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคในช่วงปีแห่งจันทรคติ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-consumer-service-revenue-up-ahead-of-tet/195737.vnp