โลจิสติกส์จะโตเป็นสามเท่าภายในปี 2573

กลุ่มโลจิสติกส์ของเมียนมาจะเพิ่มเป็นสามเท่าของจำนวนปัจจุบันภายในปี 2573 ตามแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ระดับประเทศ เกี่ยวกับแผนแม่บทการขนส่งแห่งประเทศเมียนมา (2014) และแผนแม่บทการขนส่งแห่งชาติ (2017) เมียนมาได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ที่ให้การส่งเสริมภาคการขนส่งทางทะเลอย่างสม่ำเสมอ โดยในแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์แห่งชาติ (2017) ความต้องการสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปี 2573 มีการสร้างท่าเรือแปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการในท่าเรือ 41 แห่งตามรายงานของการท่าเรือแห่งเมียนมา (Myanma Port Authority :MPA) โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดเพราะมากกว่า 90% ของการค้าทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ที่ท่าเรือแห่งนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/logistics-sector-to-grow-threefold-by-2030-minister

เก้าเดือนแรกของปีงบฯ เมียนมาส่งออกข้าว 370,000 ตันไป 33 ประเทศ

9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61-62 เมียนมาส่งออกข้าวหักกว่า 370,000 ตันไปยัง 33 ประเทศ โดย 48% ของการส่งออกทั้งหมดไปเบลเยียม มีรายได้จากการส่งออกมากกว่า 99.628 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นเบลเยียม 179,739 ตันหรือข้าวหักมูลค่า 48.155 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 48% ของยอดส่งออกทั้งหมด อินโดนีเซีย 57,360 ตันมูลค่า 15.668 ล้านเหรียญสหรัฐ จีน 25,000 ตันมูลค่า 6.723 ล้านเหรียญสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ 21,400 ตันมูลค่า 5.324 ล้านเหรียญสหรัฐ และสหราชอาณาจักร 18,000 ตันมูลค่า 4.743 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 12 กรกฎาคมปีงบประมาณนี้มีรายรับ 562.191 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 1.858 ล้านตัน ในปี 60-61 มีการส่งออกข้าวเกือบ 3.6 ล้านตันทำสถิติสูงสุดในรอบ 50 ปี

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-370000-tons-of-broken-rice-exported-to-33-countries-in-more-than-nine-months

แบงก์ชาติเมียนมาระงับใช้บัตรเติมเงิน สกุลท้องถิ่น

จากรายงานของธนาคารกลางเมียนมา (Central Bank of Myanmar :CBM) การใช้บัตรเติมเงินจากผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ 4 รายจะไม่ได้รับอนุญาตในสกุลเงินท้องถิ่น โดยอนุญาตให้ใช้บัตรเติมเงินจาก Master, Visa, UPI และ JCB ด้วยวงเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการชำระเงินโดยชาวเมียนมาที่เดินทางไปต่างประเทศรวมถึงชาวต่างชาติในประเทศ อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (จัต) ธนาคารเอกชนทุกแห่งได้รับคำสั่งให้ให้บริการบัตรเติมเงินภายในกรอบของ CBM นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องส่งคำตอบไปยังฝ่ายบัญชีก่อนวันที่ 9 สิงหาคมเพื่อรับทราบคำแนะนำของ CBM

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/usage-intl-prepaid-cards-kyat-not-allowed-cbm.html

การท่าเรือเมียนมาเจรจาญี่ปุ่นขยายท่าเรือติวาลา

Myanma Port Authority (MPA) กำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขยายอาคารอเนกประสงค์สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศของท่าเรือติวาลา (Thilawa Multipurpose International Terminal: TMIT) MPA สร้าง TMIT โดยใช้เงินกู้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากญี่ปุ่นและเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิ.ย.62 นี้ เมียนมาสร้างท่าเรือใหม่แปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการกับอีก 41 ท่าเรือตามรายงานของ MPA ชายฝั่งเมียนมามีความยาว 1,385 ไมล์และท่าเรือเก้าแห่งสร้างขึ้นตามแนวชายฝั่ง ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญเพราะมากกว่า 90% เป็นการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mpa-negotiates-with-japan-to-expand-tmit-wharf

โอกาสของเขตเศรษฐกิจพิเศษทะวายกับการเข้ามาของญี่ปุ่น

รัฐบาลเมียนมา ญี่ปุ่น และไทยได้หารือโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่มีปัญหาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 56 เนื่องจากขาดเงินทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษทะวายตั้งอยู่ห่างจากเมืองทวายไปทางทิศเหนือของเมืองทวายซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตตะนาวศรีทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย :ซึ่งญี่ปุ่นไม่ใช่หน้าใหม่ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาเนื่องจากเคยมีส่วนร่วมในการเศรษฐกิจพิเศษติวาลาและมีความต้องการให้ญี่ปุ่นมีส่วนร่วมเนื่องจากชื่อเสียงในด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือและมีผลกระทบเชิงบวกต่อทวายและพื้นที่โดยรอบ เช่น ไฟฟ้า การขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต การประมง และการท่องเที่ยว ในอนาคตแรงงานที่ทำงานในไทยอาจมีโอกาสกลับมาทำงานในโรงงานของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในทะวาย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dawei-sez-stands-better-chance-japanese-participation-officials-say.html

จีน – เมียนมา ลงนามสร้างความร่วมมือด้านปัญหาชายแดน

จีนแสดงความยินดีที่จะกระชับความร่วมมือกับเมียนมาในประเด็นชายแดนและตรวจคนเข้าเมือง รมว.กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของได้หารือกับ รมว.กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมา ได้ช่วยปรับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ทวิภาคีของงสองประเทศเพื่อเพิ่มความร่วมมือในประเด็นชายแดนและการควบคุมการเข้าเมืองและการต่อสู้อาชญากรรม เช่น การค้ายาเสพติด การพนันออนไลน์ข้ามพรมแดน เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมียนมาหวังที่จะเพิ่มความร่วมมือในทางปฏิบัติกับจีนอย่างจริงจัง

ที่มา: http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-07/24/c_138254539.htm

ผลสำรวจตลาดประกันภัยเมียนมามีศักยภาพพร้อมเติบโต

จากการสำรวจลูกค้าของ IKBZ Insurance Co Ltd หนึ่งในบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในประเทศ พบว่าอุตสาหกรรมประกันภัยของเมียนมามีศักยภาพที่จะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านจัตในอีก 12 เดือนข้างหน้าและจะเติบโตถึง 4 ล้านล้านจัตในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันมีอัตราการทำประกันภัยต่ำที่สุดในภูมิภาคโดยมีประชากรเพียง 2 ล้านคนจาก 54.36 ล้านคนที่มีประกันครอบคลุมทุกประเภท ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก แต่คาดว่าจะโตในภูมิภาค 5% ภายใน 10 ปีข้างหน้า หากมีการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ จากการสำรวจกลุ่มตัวย่าง 1,000 คน แบ่งเป็นในเขตเมือง 70% และเขตชนบท 30% ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของครอบครัวมากกว่าตัวเอง ผลการสำรวจพบว่า 57% ต้องการเพื่อดูแลครอบครัวของพวกเขา 33% ต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงานของพวกเขา 32% เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ และ 30% เลือกที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว IKBZ ตั้งอยู่ในย่างกุ้งเป็นบริษัทประกันเอกชนในท้องถิ่นรายแรกโดยในปี 2555 จะกลายเป็นหุ้นส่วนกับ Mitsui Sumitomo Insurance Group Inc

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/survey-shows-insurance-market-has-potential-grow.html

ธ. พาณิชย์เมียนมาปล่อยสินเชื่อ 21 ล้านล้านจัต ใน 6 เดือน

รายงานไตรมาสปี 2018 ฉบับที่ 3 โดยธนาคารกลางของประเทศเมียนมา ระหว่าง มี.ค. – ก.ย. 61 ธนาคารเอกชนท้องถิ่นให้เงินกู้ยืมประมาณ 20.95 ล้านล้านจัตในสิบภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การเกษตร การผลิต การค้า การขนส่ง การก่อสร้าง การบริการ สินเชื่อทั่วไป สินเชื่อเช่าซื้อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) จากข้อมูลภาคการค้าเป็นจำนวนที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งซึ่งมีมูลค่ารวมสูงถึง 88 ล้านล้านจัต ภาคธุรกิจทั่วไปมีมูลค่ารวม 3.7 ล้านล้านจัต ภาคการผลิต 2.1 ล้านล้านจัต ภาคการบริการ 2.6 ล้านล้านจัต และภาคการก่อสร้างอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านจัต ส่วนภูมิภาคย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ได้รับสินเชื่อวงเงินมากที่สุด 16.6 ล้านล้านจัตและ 2.5 ล้านล้านจัต ส่วนรัฐกะยาและรัฐชินได้รับสินเชื่อน้อยที่สุด โดยสินเชื่อดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ย 13% สำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกันและสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย 16% สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน

ที่มา: https://www.mmbiztoday.com/articles/local-banks-provide-k21-trillion-loans-6-month-period