ยอดส่งออกเวียดนาม พุ่ง 50.5% ในม.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกของเวียดนามในเดือนมกราคม 2563 เพิ่มขึ้น 50.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยมูลค่า 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ‘Samsung’ ที่ยกระดับการผลิตและส่งออกสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ‘Galaxy S21’ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในเดือนมกราคม มูลค่าอยู่ที่ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 57.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาจีน สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่าอยู่ที่ 9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 72.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เวียดนามเกินดุลการค้า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนดังกล่าว แบ่งออกเป็นภาคเศรษฐกิจในประเทศขาดดุลการค้า 0.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (รวมถึงน้ำมันดิบ) เกินดุลการค้า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

  ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/865536/viet-nams-january-exports-up-505-per-cent-year-on-year.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนม.ค. พุ่งขึ้น เหตุเทศกาลเต็ต

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น 0.06% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเต็ด (Tet) ที่กำลังจะมาถึง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ราคาอาหารและค่าบริการพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ ราคาน้ำมันในประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดโลก ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 11 ประเภท มีอยู่ 9 รายการที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยการขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.29% รองลงมาอาหารและบริการจัดเลี้ยง (0.44%), การศึกษา (0.33%), เครื่องดื่มและยาสูบ (0.32%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.24%) ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ่และวัสดุก่อสร้างลดลง 2.31% และโทรคมนาคม 0.1% อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI หดตัว 0.97 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/80409/high-consumer-demand-for-tet-drives-up-january%C3%A2%E2%82%AC%E2%84%A2s-cpi.html

มองเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โอกาสของทุนไทย

โดย SME Social Planet I ธนาคารกรุงเทพ

ความเนื้อหอมของ ‘เวียดนาม’ ในประเด็นด้านการค้าและการลงทุน จากปัจจัยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจากเดิมที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2562 จากข้อมูล World Economic Outlook, October 2019 ซึ่งเทียบได้กับราว 44 % ของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ปี 2563 เศรษฐกิจเวียดนามที่คาดว่าจะขยายตัวแค่ 2.91% แต่เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวนั้นกลับสวนทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ติดลบ และยิ่งไปกว่านั้นมีการประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 6.5-7 ในปี 2564 เลยทีเดียว

นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าปี 2563 เศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 แต่เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงบวก (GDP) มีการเติบโตถึง 2.91% ในปี 2020 เนื่องจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่ช่วงแรก โดยอัตราการเติบโตของ GDP เวียดนามในช่วงปี 2559-2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ ปัจจัยที่เอื้อให้มีการเข้ามาลงทุนจำนวนมากเพราะเวียดนามมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง อาทิ

  1. มีแรงงานจำนวนมาก และด้วยขนาดของตลาดในประเทศที่มีประชากรสูงถึง 100 ล้านคน
  2. เวียดนามยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดอาเซียน จีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก
  3. เวียดนามเป็นเป้าหมายของนักลงทุนกว่า 132 ประเทศ ที่สนใจเข้ามาลงทุน

ไทยมองการลงทุนเวียดนามอย่างไร

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงนักลงทุนไทยเพราะเป็นตลาดที่ใหญ่และเติบโตต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่า ประเทศเวียดนามมีประชากรในวัยทำงานจำนวนมาก และมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่ำ ทำให้ตลาดเวียดนามมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งการส่งออกสินค้ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปีที่ผ่านมามีการส่งออกรวมมูลค่าถึง 281,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ดุลการค้า 19,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการทำความตกลงด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 17 ฉบับ ขณะเดียวกันเวียดนามให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน (Ease of doing business) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุน การก่อสร้างสาธารณูปโภค และอื่นๆ

นางสมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อมตะวีเอ็น (AMATAV) กล่าวในมุมมองของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามว่า อมตะเชื่อในการเติบโตของเวียดนาม นั่นคือเหตุผลที่อมตะอยู่ในเวียดนามมานานกว่า 26 ปี และถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ

เห็นได้ว่าทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันเอกชนที่เข้มแข็ง และตัวแทนเอกชนที่เป็นแนวหน้าไปลงทุนในเวียดนาม ต่างมีความเห็นที่น่าสนใจกับการลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสทางเศรษฐกิจ ภายใต้การที่เอเชียจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่หลังโควิด 19 รวมทั้งประเด็นการลดข้อจำกัดในการลงทุนต่างชาติ และการจูงใจนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้หากสามารถปรับแผนให้โครงการ EEC ของไทย เป็นศูนย์กลางในการกระจายการลงทุนในภูมิภาคได้ ก็จะยิ่งเกิดเป็นประโยชน์คู่ขนาดของสองชาติได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokbanksme.com/en/look-vietnam-economy-opportunities-thai-capital

ตลาดในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญของอุตฯการบินเวียดนาม ปี 64

เวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ความต้องการเดินทางทางอากาศในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 ซึ่งจำนวนผู้โดยสานทางอากาศสามารถกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 73 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ของเวียดนามอย่าง SSI Securities Corp. คาดการณ์ว่าตลาดในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมการบินเวียดนาม จนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงไปทั่วโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามต้องปิดพรมแดนจนถึงครึ่งหลังของปีนี้ อีกทั้ง ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการปลดล็อกข้อจำกัดในการเดินทางในปัจจุบันและกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/domestic-market-to-remain-priority-for-vietnam-aviation-industry-in-2021-316061.html

FDI เวียดนามเดือน ม.ค. พุ่ง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เมื่อวันที่ 20  ม.ค. 2564 อยู่ที่ 1.51 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบรายปี ในจำนวนเงินลงทุนดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ด้วยมูลค่าราว 1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 76.4% ของยอดการลงทุนจากต่างชาติรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 179 ล้านเหรียญสหรัฐ, การขนส่ง คลังสินค้าและการเกษตร ป่าไม้ ประมง มูลค่า 111.9 และ 60.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม เป็นเงินทั้งสิ้น 680.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (33.8% ของทั้งหมด) รองลงมาจีน ฮ่องกง ตามลำดับ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-tops-15-billion-usd/195512.vnp

‘รัสเซีย’ ตั้งเป้าฟาร์มแปรรูปเนื้อสุกร 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในเวียดนาม

คณะกรรมการประชาชนจังหวัดทัญฮว้า ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ AVG Capital Partners เพื่อสร้างฟาร์มแปรรูปเนื้อสุกรในเขตเศรษฐกิจ ‘Nghi Son’ ด้วยมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในจังหวัดทัญฮว้า รวมถึงฟาร์มเลี้ยงสุกร 5 ล้านตัวต่อปี ซึ่งมีฟาร์มเลี้ยงสุกรเชิงพาณิชย์ 43 แห่ง และฟาร์มเลี้ยงสุกรลูกผสม 3 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ด้วยกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี ประกอบกับโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส โดยตัวแทนของบริษัท AVG ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างประโยชน์แก่ท้องถิ่น เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ งบประมาณ การสร้างงาน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารตามหลักมาตรฐานสากล

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/russian-firm-plans-to-build-us-14-billion-pork-processing-complex-in-vietnam-27671.html

นักลงทุนไทยเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในเวียดนาม

สถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทยร่วมกับสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวโอกาสทางการลงทุน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 45 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและเวียดนาม นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ได้บรรยายถึงความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามและการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 13 โดยคาดว่าจะส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ด้วยรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2573 และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2588 ทั้งนี้ ธุรกิจไทยทุ่มเงินกว่า 12.84 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยัง 600 โครงการในเวียดนาม จำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, นิคมอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีขั้นสูง, พลังงานและเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ นายสนั่น  อังอุบลกุล  ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่ามีความสนใจอย่างมากในการลงทุนไปเวียดนาม เนื่องมาจากความมีเสียรภาพทางการเมือง การประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แรงงานจำนวนมาก กำลังซื้อสูงและสภาพแวดล้อมการลงทุน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/thai-investors-keen-on-future-business-opportunities-in-vietnam-833370.vov