อัตราแลกเปลี่ยนจ๊าด-ดอลลาร์ในตลาดลดลงอยู่ที่ 3,500 จ๊าด
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจ๊าดเทียบกับดอลลาร์ชะลอตัวลงที่ประมาณ 3,500 จ๊าดที่ตลาดซื้อขายที่เคาน์เตอร์อย่างไม่เป็นทางการหลังจากแตะ 3,560 จ๊าด เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) เข้ามาแทรกแซงตลาดสกุลเงินโดยการอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าสู่ตลาดการเงินเพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในตลาดฟอเร็กซ์ โดยในวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา CBM อัดฉีดเงินตราต่างประเทศ รวมมูลค่า 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 250 ล้านบาท ในแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมียนมาที่กำหนดไว้อยู่ที่ 2,100 จ๊าด/ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้อนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างอิสระตามอัตราตลาดที่กำหนดโดยกลไกของตลาดอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ CBM ยังได้แจ้งว่าการโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-dollar-exchange-rate-dips-to-k3500-in-market/#article-title
MRF เปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นทะเบียนโกดังข้าว หนุนเสถียรภาพตลาด
สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) รายงานว่าโกดังเกือบ 300 แห่งได้ลงทะเบียนบนแพลตฟอร์ม MyRO (Myanmar Rice Online) ซึ่งช่วยในการคำนวณอุปทานข้าวที่เหลืออยู่ในประเทศ ทั้งนี้ สหพันธ์ระบุว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในท้องถิ่นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของข้าวสำรอง และยังคาดว่าจะแก้ไขปัญหาการเก็งกำไรราคา อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าจะต้องลงทะเบียนใน MyRO หากเก็บข้าวได้มากถึง 50 ตันหรือตะกร้าข้าว 5,000 ตะกร้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า ตามประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคมกรมกิจการผู้บริโภคยังได้ออกการแจ้งเตือนไปยังผู้ค้า สั่งให้จดทะเบียนโกดังถ้าขายข้าวในศูนย์การค้า นอกจากนี้ สหพันธ์ได้ประกาศข้อกำหนดให้ลงทะเบียนในวันที่ 12 มกราคม 2567
เมียนมาให้ข้อมูลเชิงลึกถึงสถานการณ์ปัจจุบันในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 24
กระทรวงการต่างประเทศเมียนมา รายงานว่า เมียนมาเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 24 โดยมี U Soe Lin Han เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำเบลเยียมเข้าร่วมและเข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้นที่ SQUARE Brussel Meeting Centre กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยมีการพูดถึงสถานการณ์การโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเมียนมา และมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่การกำหนดการปกครองตนเอง และการจัดการการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหลายพรรคที่เสรีและยุติธรรม ทั้งนี้ ในการประชุมเอกอัครราชทูตเมียนมาแสดงความขอบคุณสำหรับโครงการยกเว้นภาษีการค้าพิเศษ (GSP/EBA) ของสหภาพยุโรป และการตระหนักรู้ของประเทศเกี่ยวกับสิทธิแรงงานของคนงานในเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจสอบสถานะที่กำหนดภายใต้โครงการ GSP/EBA และ การดำเนินการของรัฐบาลตามกฎหมายที่มีอยู่ อย่างไรก็ดี สาเหตุของการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเมียนมาร์ ได้แก่ แก๊งฉ้อโกงออนไลน์และปัญหาการค้ายาเสพติด ดังนั้น 3 ประเทศ เมียนมาร์-จีน-ไทย จึงประสานงานเพื่อปราบปรามและแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ด้านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลาวและประธานอาเซียนหมุนเวียน นายสะเหลิมไซ คมมะสิด กล่าวว่าเขาจะมุ่งมั่นที่จะค้นหาแนวทางที่ยั่งยืนในระยะยาวตามกระบวนการดำเนินงานของเมียนมา
ธนาคารกลางเมียนมาขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 200 ล้านบาทในตลาดการเงิน
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ขายเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 200 ล้านบาทเข้าสู่ตลาดการเงิน โดยขายเงินเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสำหรับผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าออนไลน์ 5 ล้านดอลลาร์และ 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คิดเป็นมูลค่ารวม 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 250 ล้านบาท โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่กำหนดโดย CBM คือ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดที่ไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,500 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ, 99 จ๊าดต่อบาทไทย และ 490 จ๊าดต่อหยวนจีน อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกลางเมียนมา ขายเงินดอลลาร์ได้ 68.33 ล้านดอลลาร์ ขายเงินบาทได้ 313.5 ล้านบาท และขายเงินหยวนได้ 4.2 ล้านหยวน รวมทั้งยังมีการอัดฉีดเงินลงทุน 22.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ภาคน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-sells-us11m-200m-thai-baht-into-financial-market-on-5-feb/
ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มของย่างกุ้ง แสดงถึงการปรับลดลง
ตามรายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าน้ำมันบริโภคและ การกระจายสินค้า อัตราอ้างอิงการขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 5,275 จ๊าดต่อviss ในช่วงสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 12 กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงเล็กน้อยที่ประมาณ 105 จ๊าดต่อviss ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด โดยเพิ่มค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดขายส่งรายสัปดาห์สำหรับน้ำมันบริโภค อย่างไรก็ตามราคาจริงในตลาดนั้นยังคงสูงกว่าราคาอ้างอิงมาก นอกจากนี้ กระทรวงกำลังพยายามร่วมกันควบคุมความผันผวนสูงของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค โดยประสานงานกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์และบริษัทนำเข้าน้ำมัน
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-shows-downtick/#article-title
เมียนมาวางแผนส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2567-2568
ตามที่ U Ye Min Aung ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่า MRF ตั้งใจที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ผงข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยว รวมถึงข้าวนึ่งและข้าวหักในปีงบประมาณ 2567-2568 ซึ่งการบริโภคข้าวในประเทศของเมียนมาปัจจุบันอยู่ที่ 10 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ประเทศผลิตได้ 12-14 ล้านตันต่อปี ซึ่งจำกัดความสามารถในการส่งออกเพียง 3 ล้านตันต่อปี ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้มากขึ้นแทนที่จะส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นเป็นตัน อย่างไรก็ตาม ประธานสมาพันธ์ฯ ยังกล่าวอีกว่า MRF จะเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของปีงบประมาณนี้ ในขณะที่ข้าวขาวมีกำหนดส่งออกโดยมีข้อจำกัดเพื่อให้แน่ใจว่าสต๊อกข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2566-2567 รายได้จากการส่งออกข้าวไม่ได้ลดลง ถึงแม้ว่าการส่งออกข้าวจะลดลง 500,000 ตันก็ตาม เนื่องจากราคาข้าวทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศจึงมีรายได้สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบางเดือน