เวียดนามก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

เวียดนามกำลังจะเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด เนื่องจากผู้คนหันมาใช้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) แทนการชำระเงินแบบดั้งเดิม ตามผลการสำรวจจากผู้ให้บริการชำระเงิน “VISA” ในปี 2563 เผยว่าลูกค้าชาวเวียดนาม 47% หันมาใช้การชำระเงินที่ไร้การสัมผัส และ 45% ใช้การชำระเงินออนไลน์ และ 51% มีบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ซึ่งแนวโน้มพฤติกรรมการชำระเงินดังกล่าว คล้ายกับอีกหลายๆประเทศในเอเชียแปซิฟิก นับว่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ VISA ประกาศเร่งโครงการสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้ รวมถึงเวียดนาม ทั้งนี้ นาย Chris Clark ประธานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของ Visa กล่าวว่าจากประสบการณ์ของบริษัทและกลุ่มสตาร์ทอัพหลายแห่ง พบว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งธุรกิจจะเผชิญกับอุปสรรคบางอย่าง เมื่อทำการขยายการดำเนินงานไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ของการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยสัดส่วน 36% ที่ลงทุนไปยังระบบการชำระเงินแบบใหม่ในปี 2562

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-moves-towards-cashless-society-315819.html

เวียดนามเดินหน้าสู่ศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าหลังจากล่าช้ามาหลายปี เวียดนามก็เริ่มดำเนินก่อตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ ตามแผนในปีนี้  ซึ่งในปัจจุบัน เวียดนามได้รับโอกาสอีกครั้ง ในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ (IFC) และเมืองสำคัญ อาทิ เมืองโฮจิมินห์ และดานัง เป็นต้น ศูนย์กลาง IFC จะดึงดูดเงินทุนระหว่างประเทศและเพิ่มรายได้ของรัฐบาล ทั้งนี้ ศูนย์กลางทางการเงิน จะกระจายไปทั้งทั่วภูมิภาคหรือเมืองที่พร้อมด้านการบริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ได้โดยตรงจากกลุ่มธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนเพื่อการลงทุนและตลาดทุนที่จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ จะช่วยให้บริษัท องค์กรและผู้คนจากทั่วโลก เข้ามาใช้ประโยชน์จากการจัดหาเงินทุนในห่วงโซ่อุปทานและการจัดการความเสี่ยง

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-begin-work-on-international-financial-center-in-earnest-4218770.html

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่ายอดขายในประเทศพุ่ง แต่ส่งออกชะลอตัว

ตามรายงานของ SSI Research เปิดเผยว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 63 โดยยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์พุ่ง ในขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ คาดว่าอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง/ทรงตัว เนื่องจากความต้องการนำเข้าของจีนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตสูงขึ้นในปี 63 เป็นผลมาจากอุปทานปูนซีเมนต์ของจีนที่กำลังค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน หรือ 7% เนื่องจากสายการผลิตใหม่ที่เริ่มเปิดดำเนินการในปลายปี 63 และต้นปีนี้ สำหรับการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น พบว่าอุตฯ พึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการปรับนโยบายการคลังที่เข็มงวดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/855281/cement-industry-domestic-sale-forecast-to-increase-but-export-to-slowdown.html

เวียดนามประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าว แม้มีการหยุดชะงัก

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแถลงการณ์ว่าในปี 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 6.15 ล้านตัน หรือเป็นมูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวจะลดลงราว 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากด้านความมั่งคงทางอาหารของประเทศ แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9.3% อีกทั้ง ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ประมาณ 499 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าเป็นราคาเฉลี่ยทั้งปีที่สูงที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ชาวเกษตรกรเวียดนาม อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการส่งออกข้าวของเวียดนาม ยังคงใช้ข้าวที่มีคุณภาพสูง ด้วยราคาขายและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่าในปี 2563 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าวของเวียดนาม เหตุจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศ และความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามที่ดีขึ้นในตลาดโลก ถึงแม้ว่าโควิด-19 ระบาดไปยังทั่วโลก แต่ผู้ส่งออกข้าวได้ทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและแสดงหาตลาดใหม่ รวมถึงนำข้อได้เปรียบจากการที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ใช้ออกมาอย่างเต็มที่

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-rice-exports-win-big-despite-one-month-interuption-27137.html

เศรษฐกิจเวียดนามสดใส ปี 63 แม้เผชิญโควิด-19

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสดใส ด้วยอัตราการขยายตัว 2.91% ในปี 2563 เนื่องมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ (CEBR) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะก้าวขึ้นไปอยู่อันดับที่ 19 ของโลกภายในปี 2578 และคาดว่าการเติบโตของ GDP เฉลี่ยจะอยู่ที่ 7% ในช่วงปี 2564-2568 และในอีก 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเวียดนามจะโตเฉลี่ย 6.6% ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวบีบีซีอังกฤษรายงานด้วยว่าเวียดนามได้รับความเสียหายจากโควิด-19 น้อยที่สุด และเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเติบโตในเชิงบวกในปี 2563

  ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-economic-bright-spot-in-2020-829244.vov

HSBC เผยเวียดนามก้าวเป็น 1 ในประเทศที่มีการเติบโตสูงที่สุดในปี 64

ตามรายงาน “Asia Economics Quarterly” ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) เปิดเผยว่าถึงแม้จะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้น แต่เวียดนามก็ข้ามอุปสรรคจากการระบาดของโควิด-19 มาได้ ด้วยจำนวนประชากรกว่า 95 ล้านคน และการรับมือกับสถานการณ์โควิดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ที่ราว 1,400 คน ทั้งนี้ การเติบโตของตัวเลข GDP ในปี 2563 อยู่ที่ 2.91% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่และดีที่สุดในโลก เมื่ออยู่ภายใต้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อปรับตัวชะลอลงจาก 3.9% ในช่วงสามไตรมาสแรก อยู่ถึง 1.5% ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาน้ำมันที่ลดลง นอกจากนี้ HSBC ระบุว่าภาคการท่องเที่ยวยังเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างด้วยกัน แต่ว่าความเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปหลังจากไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ที่พักและการขนส่งยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก จากข้อจำกัดในการเดินทางข้ามพรมแดน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-to-be-among-top-growth-performers-again-in-2021-hsbc/194315.vnp

เวียดนามส่งออกเครื่องหนัง รองเท้า ปี 63 ดิ่งลง 10% ด้วยมูลค่า 16.5 พันดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมรองเท้าและเครื่องหนังเวียดนาม (Lefaso) ระบุว่าในปี 2563 การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าของเวียดนาม คาดว่าจะลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าในท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากนโยบายภาครัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการส่งออกไว้ที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องหนังของเวียดนาม ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากจีน ในขณะที่ ตลาดสหรัฐฯและยุโรปที่มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 70 ของยอดส่งออกเครื่องหนังของเวียดนาม ก็ถูกสั่งปิดจากการระบาดของโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตเครื่องหนังหลายรายของเวียดนาม ตกอยู่ภายใต้สถานกาณณ์ยากลำบากที่ไม่ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ รวมถึงความล่าช้าของคำสั่งซื้อที่มีอยู่ อีกทั้ง ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือธุรกิจขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-exports-of-leather-footwear-down-10-to-us165-billion-in-2020-315749.html