“สุพัฒนพงษ์” ชี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ลั่นปี’64 ปั๊มเศรษฐกิจเชิงรุก

“สุพัฒนพงษ์” ยิ้มรับ จีดีพี ไตรมาส 3 ฟื้นตัว มั่นใจไตรมาส 4 ดีขึ้นตามลำดับ ประชาชนให้ความร่วมมือตามนโยบายกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ท่องเที่ยวในประเทศ ลั่น ปี’64 ปีแห่งการลงทุน เร่งแผนปั๊มเศรษฐกิจเชิงรุก ลุยดึงดูดการลงทุนต่างชาติ วันที่ 16 พ.ย. 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้แถลงตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ – 6.4% นั้นเป็นการประเมินจากสถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาส 3 ดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ และจะส่งผลให้ไตรมาส 4 ดีขึ้นตามลำดับและตามซีซั่น พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่า ปี2563 จะอยู่ที่ -6.7% จากเดิมที่หลายฝ่ายประเมินว่าอาจติดลบ 9-12% โดยถือว่าอยู่ในระดับดี เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และกรณีความกังวลงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐปี64 จะต้องได้ 98% ของงบประมาณรายจ่ายนั้น มองว่า รัฐบาลต้องเร่งรัดประคองรายได้จากภาคการท่องเที่ยว กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และส่งออก อย่างไรก็ตาม ปีหน้า 2564 รัฐบาลจะเริ่มเปิดประเทศ โดยพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรการป้องกัน ควบคุมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตั้งเป้าว่า ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการดึงดูดการลงทุน ปฎิบัติตามแผนทำงานในเชิงรุก ประกอบกับการที่ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดการลงทุน เชื่อว่า จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกคนร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเป็นสิ่งสำคัญด้วย ” เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ยิ่งประชาชนให้ความร่วมมือร่วมขับเคลื่อนโครงการต่างๆตามนโยบายรวมไทยสร้างชาติ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาบ้าง ยิ่งส่งผลดี อาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วงปลายปีนี้ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปีหน้าจะเริ่มแผนเชิงรุกเพื่อดึงดูดลงทุนต่างชาติ”

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-556760

Asean Sustainable Tourism Solutions Expo กระตุ้นการท่องเที่ยวในภูมิภาค

งาน Asean Sustainable Tourism Solutions Expo ครั้งที่ 3 งานแสดงสินค้าดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและเอกลักษณ์ของสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เข้าร่วมงานเป็นตัวแทนของหมวดหมู่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธีมของงานได้แก่ ของใช้ในโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลาสติกทางเลือก พลังงาน นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการอภิปรายในสามหัวข้อได้แก่ “ อนาคตของการท่องเที่ยวในอาเซียนและลาว “ การเดินทางที่ปลอดภัย: ความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยในพิธีสารการฟื้นตัวที่มีประสิทธิภาพ” และ“ การสร้างแรงงานการท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” หัวข้อที่นำมาอภิปรายในงานจะเน้นไปในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพในอีกแง่งานแสดงสินค้าดังกล่าวเป็นแคมเปญหนึ่งที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดในประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt217.php

แรงงานภาคการท่องเที่ยวกัมพูชากว่า 5 หมื่นรายกำลังได้รับผลกระทบ

กระทรวงการท่องเที่ยวระบุตัวเลขจำนวนการเลิกจ้างงานเกือบ 51,000 ตำแหน่งในภาคการท่องเที่ยว จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำนวนกว่า 2,838 ราย ในกัมพูชาที่ต้องปิดตัวลงหรือทำการปิดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลวางแผนเพื่อฟื้นฟูภาคส่วนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่นแผนงานในการฟื้นฟูและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา (ปี 2020-2035) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว (2021-2030) เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้เพิ่มมาตรการที่ 6 เพื่อจัดการผลกระทบต่อภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศต่อไป รวมถึงมาตรการภาษี มาตรการคุ้มครองแรงงาน และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตการท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในกัมพูชาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 74.1 ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780626/51000-tourism-based-jobs-in-cambodia-vapourised-because-of-covid-10-pandemic/

อังกอร์รีสอร์ทในกัมพูชาสร้างรายได้ 18.5 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรก

อุทยานโบราณคดีอังกอร์ในจังหวัดเสียมราฐสร้างรายได้อยู่ที่ 18,549,905 ดอลลาร์ จากยอดขายบัตรผ่านประตูในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ จากการแถลงข่าวของ Angkor Enterprise ซึ่งเป็นสถาบันของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการรายได้ของอังกอร์ จากประกาศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ตัวเลขดังกล่าวลดลงกว่าร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตั๋วดังกล่าวขายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 398,485 คน ซึ่งลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ร้อยละ 77.91 โดยในเดือนตุลาคมปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือเพียง 2,244 คน ที่เดินทางมาเยี่ยมชมอุทยานโบราณคดีอังกอร์ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดี่ยวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778644/angkor-resort-generates-over-18-5-million-in-first-10-months/

อนาคตภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาในมุมมองนักสังเกตการณ์

นักสังเกตการณ์ยังคงมองเกี่ยวกับอนาคตของภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาในแง่ดี เนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชนพยายามหาวิธีบรรเทาผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 โดยกระทรวงการท่องเที่ยว (MOT) และสมาชิกของภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับมาตรการ “Travel bubble” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังกัมพูชา ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการมาเยือนยังกัมพูชา โดยประธาน Cambodia Hotel Association (CHA) แสดงความเห็นในแง่ดีว่าการเคลื่อนไหวของรัฐบาลเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอนาคตของภาคการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเลิกจ้าง การปิดโรงแรม และเกสต์เฮาส์ ไปจนถึงการลดค่าใช้จ่ายและการลดค่าจ้างจากผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน 1.24 ล้านคน ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงกว่าร้อยละ 74.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่นักท่องเที่ยวในพื้นที่มีมากกว่า 7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 51.9 เนื่องจากผลกระทบที่รุนแรงของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778139/tourism-observers-optimistic-about-the-future/

เมียนมาโปรโมตการท่องเที่ยวเสมือนจริงหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมาจะเรียกร้องให้มีการประมูลสำหรับโครงการ digital marketing 12 โครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ 2563-2564 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ช่องทางการตลาดตามแบบเดิมมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้าง content ส่งเสริมการการท่องเที่ยว เช่น วิดีโอการคุณภาพสูงจะไปยังกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งนายอูอองโซ ไกด์ท้องถิ่นกล่าวว่า นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและควรดำเนินการให้ที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-promotions-go-virtual.html

หลวงพระบางเผยกลยุทธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวสปป.ลาว

หลวงพระบางซึ่งเป็นมรดกโลกชั้นนำของสปป.ลาวกำลังลงทุนอย่างมากในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวควบคู่ไปกับแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศและกระตุ้นการท่องเที่ยว การมุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยวในประเทศเป็นการตอบสนองต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่รุนแรงและไม่เคยปรากฏมาก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีผู้เยี่ยมชมจากต่างประเทศหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 การล็อกดาวน์ของหลายๆประเทศทำให้กรุ๊ปทัวร์ต้องยกเลิกการจองส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูญเสียไปอย่างน้อย 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้หลวงพระบางใช้เงิน 1.7 พันล้านกีบเพื่อสร้างและอัพเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ที่ Phousy Hill และน้ำตก Kuang Xi ผู้ประกอบการหลายรายได้ลดต้นทุนแพ็คเกจทัวร์และราคาห้องพักเหลือประมาณ 1 ใน 3 ของราคาปกติโดยลดค่าใช้จ่ายลง 70 %  มีการจัดทัวร์ปั่นจักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังมีแผนที่จะจัดคาราวานยานพาหนะเพื่อเดินทางไปเวียงจันทน์ในเดือนหน้าเพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมการเดินทางภายในประเทศ ธุรกิจต่างๆฟื้นตัวเล็กน้อยเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวสปป.ลาวจำนวนไม่น้อยที่มีกำลังซื้อจำกัด ไม่สามารถชดเชยการไม่มีลูกค้าต่างชาติได้ทั้งหมด จนถึงปีนี้หลวงพระบางมีนักท่องเที่ยวประมาณ 420,000 คนลดลง 64% เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 63

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Luang_203.php

กัมพูชาหารือวางโรดแมปฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและภาคเอกชนได้หารือเกี่ยวกับร่างแผนฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ จากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปี 2020-2025 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนกล่าวในระหว่างการประชุมว่าการพัฒนาโครงการนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จำเป็นในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญในปัจจุบันและในอนาคต โดยรัฐบาลจะทำการร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สมาคมการท่องเที่ยวกัมพูชา สมาคมโรงแรมกัมพูชา และสหพันธ์การท่องเที่ยวกัมพูชา ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศหลัง COVID-19 ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาถึง 7 ปี ภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศจึงจะกลับสู่สภาวะปกติ โดยกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกว่า 6.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งในปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมเพียง 1.2 ล้านคน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 71.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773942/roadmap-to-restore-tourism-discussed/

แนวโน้มท่องเที่ยวอาเซียนบูมยุคนิวนอร์มอล

ทราเอ็กซ์เอเชีย(TraXasia) ผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เปิดเผยรายงานแนวโน้มนักท่องเที่ยวประจำไตรมาส 4 ปี 2563 ชี้การท่องเที่ยวระยะใกล้จะได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคนิวนอร์มอล ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจีนจะยังคงเป็นตลาดนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาค ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ขณะไทยติดโผจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการท่องเที่ยวขาเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เนื่องจากการท่องเที่ยวระยะใกล้จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าในช่วงของการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดทั่วโลก นอกจากนี้ จากผลสำรวจยังพบด้วยว่า จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำที่คาดว่าจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม (โฮจิมินห์ ฮานอย ดานัง) มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง โคตาคินาบาลู) และ ไทย (กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/902272

ดึงเอกชนช่วยปั๊มยอดคนไทยเที่ยว 5 แสนล.

ททท.จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ดึงเอกชนซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศ หวังสร้างรายได้ท่องเที่ยว 5 แสนล้านบาท ไทยเที่ยวไทยแตะ 100 ล้านคน-ครั้ง นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ ออกเดินทางท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมในประเทศ เพื่อให้ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว เบื้องต้นมีบริษัทเข้าร่วมโครงการผ่านการซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศแล้วกว่า 84 ราย แบ่งเป็นทั้งหน่วยงาน องค์กร และบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ทั้งนี้ได้เชิญชวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร และหน่วยงาน เดินทางท่องเที่ยวผ่านเส้นทางการท่องเที่ยว 5 ประเภท ได้แก่ ทำงานแบบสุขกาย สุขใจ ได้ตอบแทนสังคมรักษาสิ่งแวดล้อม,ท่องเที่ยวไปกับความสนใจพิเศษที่เลือกได้เอง ควบคู่กับการทำงาน,สร้างทีมเวิร์กด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน,พบปะหารือแบบพิเศษ และเสนอส่วนลดพิเศษ รวมทั้งแพ็กเกจทัวร์อีกจำนวนมาก เชื่อว่าโครงการนี้ จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศทั้งปีไม่ต่ำกว่า 80-100 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ททท.ยังได้หารือร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการหารือถึงการปรับเงื่อนไขของเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อให้มีความน่าสนใจและกระตุ้นการท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/799333