รัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าจัดเก็บภาษีให้ได้ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรมสรรพากร (GDT) ประกาศว่ามีเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้จากภาษี 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้โดยในเดือนมกราคมมีการเก็บภาษีไปแล้วประมาณ 239 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็น 8.3% ของเป้าหมายประจำปีและเพิ่มขึ้น 14.75% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งผู้อำนวยการ GDT กล่าวว่าเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายในปี 2563 กรมฯจะดำเนินการอย่างเข้มงวดและดำเนินการตามการปฏิรูปนโยบายของรัฐบาล โดยการจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้นเกิดมาจากการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีใหม่ร่วมด้วย ท่ามกลางมาตรการที่ดำเนินการในปีนี้คือการหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะ รวมถึงวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรัฐบาลมีรายได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากรายได้ที่มาจากภาษีและไม่ใช่ภาษีโดยระบุว่าประเทศสามารถประหยัดได้ 100 ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากการจัดเก็บภาษี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692368/stricter-tax-collection-puts-2-9-billion-target-in-sight

โซล่าฟาร์ม 5 แห่งใหม่กำลังดำเนินการเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติ

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่เปิดเผยว่าโซล่าฟาร์มจาก 5 จังหวัดจะเริ่มเปิดตัวในปีนี้ โดยในรายงานประจำปีระบุว่ากำลังเร่งงานก่อสร้างเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับกริดแห่งชาติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยเพิ่มแหล่งพลังงานของประเทศโดยรวม 160 เมกะวัตต์ (mW) ต่อปี โดยแบ่งเป็นจาก สวายเรียง 20 เมกะวัตต์, โพธิสัตว์ 30 เมกะวัตต์, กำปงสปือ 20 เมกะวัตต์, พระตะบอง 60 เมกะวัตต์ และ บันทายมีชัย 30 เมกะวัตต์ ซึ่งปีหน้าตามที่กระทรวงระบุประเทศจะเปิดตัวอีก 60 เมกะวัตต์ ในกำปงชนังและในจังหวัดโพธิสัตว์เพิ่มอีก 60 เมกะวัตต์ โดยรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายแหล่งพลังงานในประเทศเนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากกิจกรรมการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้างและการผลิต ซึ่งจากการศึกษาล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียระบุว่ากัมพูชามีศักยภาพด้านพลังงานน้ำประมาณ 10,000 เมกะวัตต์, 8,100 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และประมาณ 6,500 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานที่มาจากลม โดยกัมพูชาสร้างพลังงานทั้งหมดได้จาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 เป็น 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2019 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692029/five-new-solar-farms-to-be-connected-to-the-national-grid

การส่งออกการ์เม้นท์และสินค้าด้านการท่องเที่ยวกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า,รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมูลค่ากว่า 9.35 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมของกัมพูชา โดยรายงานดังกล่าวได้เผยแพร่ในการประชุมประจำปีเพื่อทบทวนและกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปี 2563 ซึ่งรายงานระบุว่ามีโรงงานกว่า 1,069 แห่ง ในปีที่แล้วซึ่งมีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอประกอบด้วย 823 แห่ง โรงงานสินค้าด้านการท่องเที่ยว 114 และโรงงานรองเท้า 132 แห่ง มีการจ้างแรงงานรวมกัน 923,313 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวในการกล่าวเปิดงานว่ากระทรวงกำลังทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนในอุตสาหกรรมและจัดหาสินค้า รวมถึงบริการที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของกระทรวงคือการช่วยให้ภาคเอกชนมีความก้าวหน้าซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา (GMAC) การส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาคิดเป็น 75% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของกัมพูชาและ 90% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้ซื้อเสื้อผ้ากัมพูชารายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692028/garment-footwear-and-travel-goods-exports-valued-at-9-3-billion

ด้วยสถานการณ์ EBA ภาคเอกชนกำลังตัดสินใจที่จะโยกย้ายเงินลงทุนบางส่วนออกจากกัมพูชา

หอการค้ากัมพูชาและหอการค้าธุรกิจอื่นๆรวมถึงสภาธุรกิจมาเลเซียแห่งกัมพูชา หอการค้ายุโรปและหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา แสดงความเสียใจต่อการที่ยุโรปคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีการส่งออกของประเทศไปยังสหภาพยุโรปร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากสินค้าส่งออกทั้งหมด 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยจะคิดภาษีร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์รองเท้า ส่วนการนำเข้ารถจักรยานและข้าวจากกัมพูชาจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ซึ่งภาคเอกชนได้เรียกร้องให้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการตัดสินใจเพราะการย้ายจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาประมาณ 140 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับสินค้าที่ถูกขึ้นภาษี อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการในรูปแบบของการปฏิรูปโครงสร้างในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเพื่อรับมือกับผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของสหภาพยุโรป โดยภาคเอกชนยังคงเรียกร้องให้ทั้งสหภาพยุโรปและรัฐบาลมีส่วนร่วมในการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่คณะกรรมาธิการเสนอขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691649/private-sector-regrets-eba-partial-withdrawal-decision

FTA ระหว่างกัมพูชาและจีนใกล้ประสบผลสำเร็จ

กัมพูชาและจีนกำลังวางแผนที่จะลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีในช่วงปลายปีนี้ โดยความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่ปิดการเจรจารอบแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วในกรุงปักกิ่งประเทศจีน ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินเป็นผู้จัดประชุมหารือ โดยผลการเจรจารอบแรกของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้กำหนดหลักการแนวทางให้กับทีมเจรจาเพื่อให้พวกเขามีพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการอภิปรายรอบต่อไปที่มุ่งสู่การหาข้อสรุป ซึ่งหากหาผลสรุปได้เขตการค้าเสรีนี้จะเป็นกลไกใหม่ที่ส่งเสริมและกระจายศักยภาพทางเศรษฐกิจและวิสัยทัศน์ของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงทางการค้านี้จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายการค้าการลงทุน การบริการและความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 5.16 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 6.04 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2560 และ 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ตามตัวเลขของรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691647/cambodia-china-closer-to-fta-signing-deal

กัมพูชามุ่งหวังส่งเสริมการส่งออกสิ่งทอไปยังญี่ปุ่น

กัมพูชาเช่นเดียวกับ สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม ได้รับการสนับสนุนในการปรับปรุงพัฒนาห่วงโซ่การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของกลุ่ม ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้แทนจากกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับศักยภาพการส่งออกจากทั้ง 4 ประเทศไปยังญี่ปุ่นและห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์นโยบายที่ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นกล่าวว่ากัมพูชาตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิศาสตร์ของอาเซียนและมีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการอธิบายประโยชน์ของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งผู้เข้าร่วมคาดว่าจะเข้าใจประเด็นและโอกาสที่ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอต้องเพิ่มการส่งออกไปญี่ปุ่นทุกปี ตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นคือ เสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์ โดยในปี 2561 กัมพูชาส่งออกไปญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 27.3% ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 17.8% ตามข้อมูลจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691648/hopes-to-boost-textile-exports-to-japan-with-added-value