เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ดัชนี CPI เฉลี่ยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากค่าบริการทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในภาคกลางของเวียดนาม สำหรับสินค้าและบริการ 11 รายการนั้น มีเพียง 6 รายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 รองลงมาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง, เครื่องดื่มและบุหรี่, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, ยาและบริการทางการแพทย์ รวมทั้งบริการบำรุงรักษาและบริการซ่อมบำรุงบ้าน นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศมีความผันผวนตามดัชนีราคาทองคำโลกในเดือนต.ค. ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.91 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cpi-for-october-records-slight-increase-813722.vov

เวียดนามทำสถิติเกินดุลการค้า 18.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานประจำเดือนของสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนต.ค. เวียดนามเกินดุลการค้าประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ทำสถิติเกินดุลการค้าสูงถึง 18.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนม.ค.-ต.ค. ปีนี้ ทั้งนี้ ในเดือนต.ค. มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนาม ประมาณ 26.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า ประมาณ 24.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ีที่แล้ว 10.1 เมื่อเทียบก9 เมื่อเทียบกับปีมขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับเดือ.91 เมื่วเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามมีสินค้าส่งออก 31 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91.8 ของยอดส่งออกรวมและอีก 5 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในเดือนม.ค.-ต.ค. สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 62.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นแหล่งซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 65.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-hits-new-record-of-us1872-billion-in-10-month-314653.html

ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นในเวียดนาม

ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าพื้นที่เพาะปลูกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจากในปี 2559 อยู่ที่ 53,350 เฮกตาร์ เป็น 237,693 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว และส่งออกไปยัง 180 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ด้วยมูลค่ารวม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าทางนาย Ha Phuc Mich ประธานสมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม กล่าวว่าการเติบโตที่รวดเร็วของเกษตรอินทรีย์ สร้างความกังวลในเรื่องการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของบริษัท Vinh Hiep Co. , Ltd ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นที่ต้องการทั่วโลกและข้อกำหนด/มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน แต่ในปัจจุบัน การผลิตเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามยังคงเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่สูงและใช้เวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ในการยกระดับมูลค่าและทำให้ยั่งยืน ได้แก่ ขยายพื้นที่เกษตรกรรม สร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจและสหกรณ์ รวมถึงฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/demand-for-organic-farm-produce-on-the-rise-in-vietnam/189381.vnp

เวียดนามเผยธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินส่งสัญญาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3

จากการศึกษาของ Fin Group ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผลกำไรของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 347 แห่ง ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในรูปตัว V ทั้งนี้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ของบริษัทมหาชน 348 แห่ง ลดลงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของธุรกิจหลักของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินทั้งหมดพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้แล้ว นอกจากนี้ ทาง Fin Group มองว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกแก่ธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ สถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทรักษาความปลอดภัย มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และมีอัตราการเติบโตของกำไรร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามยังเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-listed-non-financial-firms-post-v-shaped-recovery-in-q3-314637.html

เวียดนามเผยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงิน FDI แตะ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานทางสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 7.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของยอดการลงทุนรวมในเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ไทยและไต้หวัน (จีน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่และการปรับเพิ่มเงินทุน รวมถึงเม็ดเงินทุนจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 20 ต.ค. ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปได้รับการดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ด้วยมูลค่ารวม 10.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.7 ของยอดเงินทุนจดทะเบียนรวม นอกจากนี้ จังหวัดบักเลียว (Bac Lieu) ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดเงินทุน FDI มากที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมานครโฮจิมินห์, ฮานอย, บ่าเสียะ-หวุงเต่า, บิ่ญเซืองและไฮฟอง ตามลำดับ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fdi-reaches-us2348-billion-in-ten-months-813090.vov

เวียดนามเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน FDI ในเอเชีย

เดอะ ยูเรเซีย ไทมส์ (The Eurasian Times) ได้เผยแพร่บทความที่ระบุว่าเวียดนามกลายเป็นเสือเศรษฐกิจในเอเชีย ด้วยค่าเฉลี่ยของการลงทุน FDI มากกว่าร้อยละ 6 ของ GDP ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ประกอบกับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โดยเฉพาะสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เป็นต้น รวมถึงนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมและการจัดหาแรงงานวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้เวียดนามเป็นจุดมุ่งหมายของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อกระแสการลงทุนไปยังจีนเริ่มหดตัวลง ทั้งนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ไม่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนามได้ เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษี การชะลอการจ่ายภาษีและปรับปรุงค่าธรรมเนียมของการใช้ที่ดินเพื่อดำเนินธุรกิจ รวมถึงแก้ไขกฎหมายการลงทุนและข้อตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. เวียดนามดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงถึง 2.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-emerges-as-fdi-hub-in-asia-the-eurasian-times-25442.html

สหรัฐฯ เสาะหาโอกาสการลงทุนในเวียดนาม

นาย Adam Boehler ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) กำลังเดินทางไปอินโดนีเซีย เวียดนามและเมียนมา เพื่อแสวงหาโอกาสทางการลงทุน ตั้งแต่วันที่ 23-27 ต.ค. ซึ่งกำหนดการมาพบปะกับเจ้าหน้าที่รัฐฯและผู้บริหารธุรกิจเวียดนาม เพื่อศึกษาโอกาสทางการลงทุนและยกระดับความร่วมมือ รวมถึงกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย ทั้งนี้ นาย Boehler ได้ไปเยือนเวียดนามเมื่อเดือนม.ค.ของปีนี้ และกล่าวกับนายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ต้องการประสานความร่วมมือกับเวียดนามอย่างมาก ทั้งนี้ เขายังแสดงความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะด้านพลังงาน สุขภาพและโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่ เวียดนามเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2563 และทางหน่วยงาน DFC ต้องการร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อ 5 ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/us-mission-explores-investment-opportunities-in-vietnam-812825.vov