จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้เดินทางไปยังเวียดนาม

จากรายงานของสำนักข่าว Yonhap News Agency เปิดเผยว่าสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ (Republic of Korea : ROK) มีแผนที่จะส่งนักธุรกิจจำนวนมากไปยังเวียดนามและจีนผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งแผนการดังกล่าวมาจากกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานที่จะนำนักธุรกิจจำนวน 240 คน จากบริษัท 240 แห่ง เดินทางไปยังเวียดนามผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในวันที่ 22 ก.ค. หลังจากการจราจรทางอากาศทั่วโลกระงับเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้ยังมีแผนที่จะส่งคนงานจำนวน 1,500 ไปยังเวียดนามในเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่นักธุรกิจเดินทางถึงจุดมุ่งหมายแล้ว ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะได้รับอนุญาตเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้าย ขณะที่ เกาหลีใต้ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/chartered-flights-to-bring-businessmen-into-vietnam-from-rok-416340.vov

Vietnam Economic Factsheet : June.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนมิถุนายน 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data

บริษัทจากเวียดนามลงทุนในกัมพูชาประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา ซึ่งเป็นอันดับสามรองจากลาว โดยได้รับเงินลงทุนมากที่สุดจากผู้ประกอบการเวียดนามที่มีทุนจดทะเบียนเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์ จาก 208 โครงการ ตามด้วยรัสเซียได้รับเงินลงทุนประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์ ตามด้วยกัมพูชาและเวเนซุเอลาประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วนักธุรกิจเวียดนามมีการลงทุนราว 21 พันล้านดอลลาร์ในโครงการต่างประเทศมากกว่า 1,300 โครงการ โดยมีกำไรจากการโอนกลับมายังประเทศเวียดนามถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีโครงการที่สำคัญหลายโครงการ เช่นโครงการเครือข่ายโทรคมนาคมของ Viettel ในกัมพูชามูลค่า 22.1 ล้านดอลลาร์ โดย Metfone ของ Viettel มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 50 ครอบคลุมเครือข่ายกว่าร้อยละ 99 และมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านรายซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746400/vietnamese-enterprises-invest-approximately-2-7-billion-in-cambodia/

บริษัทญี่ปุ่น 15 ราย ย้ายสายการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม

“เวียดนามคาดว่าจะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่น 15 แห่งที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดความหลากหลาย” กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เปิดเผยรายชื่อบริษัท 87 แห่งที่ได้รับเงินทุน 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการ ตามรายงานของสำนักข่าว Nikkei Asian Review ทั้งนี้ มีบริษัท 30 แห่งที่ย้ายฐานการผลิตไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว รวมทั้งเวียดนามและสปป.ลาว ขณะที่ อีก 57 แห่งมึจุดหมายอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยเป้าหมายของการย้ายสายการผลิตดังกล่าว เพื่อที่จะลดการพึ่งพาการผลิตของญี่ปุ่นในจีน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นจุดมุ่งหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หลังจากเวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับชุมชนนานกว่า 3 เดือน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/15-japanese-firms-to-move-china-production-lines-to-vietnam-416280.vov

AIIB อนุมัติเงินกู้จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่แบงก์พาณิชย์เวียดนาม

ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการของธนาคารได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธนาคารพาณิชย์ Vietnam Prosperity Joint Stock Commercial Bank (VPBank) ของเวียดนาม เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นการปล่อยกู้ร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) เพื่อช่วยให้ธนาคารขยายการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ คุณ D.J. Pandian รองประธานกรรมการฝ่ายปฏิบัติการลงทุนของ AIIB กล่าวว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นแกนหลักสำคัญของเศรษฐกิจและการอัดฉัดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามโดยรวม นอจากนี้ เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารได้อนุมัติโครงการทั้งหมดจำนวน 16 โครงการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อที่จะช่วยเหลือสมาชิกธุรกิจ 12 รายที่ประสบกับช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/769808/aiib-approves-100-million-loan-to-vpbank.html

เกาหลีใต้ส่งออกไอศกรีมพุ่งไปเวียดนาม

จากรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศเกาหลีในต่างประเทศ (KOTRA) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. เปิดเผยว่าการส่งออกไอศกรีมไปเวียดนามของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปี 2562 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปี 2562 มูลค่าส่งออกไอศกรีมไปเวียดนามอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้าไอศกรีมจากเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 ทั้งนี้ ทางฝั่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเติบโตดังกว่าว เป็นผลมาจากคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี “ฮันรยู” ในแถบประเทศเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบันเทิงและอาหาร รวมถึงเวียดนามเป็นแหล่งลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมไอศกรีม เนื่องจากรายได้เฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นจุดมุ่งหมายของการส่งออกไปต่างประเทศอันดับที่ 3 ของเกาหลีใต้ ในปี 2562 รองจากจีนและสหรัฐฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/korean-ice-cream-exports-to-vietnam-surge/178826.vnp

รายได้ของคนเวียดนามดิ่งลง 90% เหตุโควิด-19

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้รายได้ของคนเวียดนามลดลงถึงร้อยละ 90 และต้องลดค่าใช้จ่ายลง ซึ่งจากผลสำรวจของอิปซอสส์ (Ipsos) จำนวนตัวอย่าง 500 ราย พบว่ารายได้ของคนเวียดนามลดลงกว่าร้อยละ 20 ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่ ผู้ที่มีรายได้น้อย ร้อยละ 17 (ประมาณ 323 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) กล่าวว่าครอบครัวของเขาต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว การกินอาหารนอกบ้าน เสื้อผ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 3 คาดว่ารายได้อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตอันเร็วๆนี้ เนื่องจากเวียดนามไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อรายใหม่ในชุมชนนานกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) แสดงให้เห็นว่าผู้คนตกงาน 31 ล้านคนหรือร้อยละ 57.3 ที่รายได้ปรับตัวลดลงจากโควิด-19 อีกทั้ง รายได้เฉลี่ยของคนเวียดนามลดลงร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อยู่ที่ 224 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pandemic-lowers-incomes-of-90-of-vietnamese-416265.vov

ส่งออกข้าวไทยปี 63 เสี่ยงหล่นอันดับ 3 โลก

ผู้ส่งออกข้าวแนะ“ตลาดนำการผลิต” ไทยต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ สู้ศึก ระบุกว่าจะเพียงพอความต้องการของเกษตรกรต้องใช้เวลา 3-5 ปี ปี 63 ไทยเสี่ยงสูงหล่นอันดับ 3 ส่งออกข้าวโลก จากที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศจับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เป้าหมายเพื่อสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก และผลักดันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติด 1 ใน 10 อันดับแรกของโลกนั้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”เป็นเรื่องที่ไทยเองจะต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากการค้าของโลกในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ตลาดผู้บริโภคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคอยากจะได้คือสิ่งที่เราต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำได้แค่ช่วงข้ามคืน ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการพัฒนาไม่ว่าจะในการศึกษาวิจัยตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ จนมาถึงการทดลองปลูกจนมีผลเป็นที่น่าพอใจและลูกค้ายอมรับ จากนั้นก็ต้องขยายเมล็ดพันธุ์จนมีเพียงพอที่จะปลูกจนได้จำนวนที่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดได้ โดยรวมแล้วน่าจะใช้เวลาในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี เพราะฉะนั้นคงไม่สามารถที่จะทำให้บังเกิดผลได้ในปีนี้หรือปีหน้า ซึ่งยังไม่รวมถึงการพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาคการแปรรูป ระบบสุขอนามัยและอื่น ๆ  อย่างไรก็ดีเป็นนิมิตหมายที่ดีถ้ามีการทำงานประสานกันระหว่างกระทรวงหลักรวมถึงภาคเอกชนที่จะมีข้อมูลที่ถูกต้องของตลาดซึ่งเอกชนจะใกล้ชิดมากกว่าหน่วยงานรัฐ แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นข้าวซึ่งปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ไม่เกิน 6.5 ล้านตันจาก 7.5 ล้านตันในปีที่แล้วและอาจจะหล่นไปเป็นที่ 3 ของโลกในเรื่องตัวเลขส่งออกรองจากอินเดียและเวียดนาม ด้วยเหตุผลที่ข้าวไทยมีราคาที่แพงกว่าคู่แข่งในระดับค่อนข้างมากและพันธุ์ข้าวที่ไม่หลากหลายเหมือนที่คู่แข่งมีทำให้ตลาดข้าวของไทยหดตัวมาโดยต่อเนื่อง เราต้องมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและมีผลผลิตต่อไร่ที่สูงถึงจะสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  สิ่งเหล่านี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถึงจะช้าก็ต้องทำเพราะนี่คือความอยู่รอดของอุตสาหกรรมข้าวไทยในอนาคต หากมิเช่นนั้นข้าวไทยในตลาดโลกก็คงเหลือแค่เป็นตำนาน สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดว่าจะผลักดันให้ไทยกลับมาเป็นอันดับ 1 ผู้ส่งออกข้าวโลกโลกภายใน 2 ปีคงไม่ใช่สิ่งที่น่าจะทำได้ แต่ถ้าเรามีความตั้งใจและพยายามผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นและต่อเนื่อง ในอนาคตก็อาจจะมีความเป็นไปได้ ข้อมูลในปี 2562  ผู้ส่งออกข้าวโลก 3 อันดับแรกได้แก่  อินเดีย ปริมาณ 9.7 ล้านตัน , ไทย 7.5 ล้านตัน และเวียดนาม 6.5 ล้านตัน ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 อินเดียส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน, เวียดนาม 3.4 ล้านตัน และไทย 3 ล้านตัน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/442502?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=trade