ปริมาณการขนส่งสินค้าในกัมพูชาเพิ่มขึ้น 18% ที่ PAS

ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ Sihanoukville Autonomous Port (PAS) ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศเพิ่มขึ้น 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้ากัมพูชา (CAMFFA) กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสิ่งทอและสินค้าเกษตร ซึ่งสังเกตว่าการเติบโตในภาคการขนส่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของกัมพูชา โดยการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 70% ได้ทำการส่งผ่านท่าเรือและกำลังทำการก่อสร้างพื้นที่แห่งใหม่ด้วยการลงทุนประมาณ 203 ล้านเหรียญสหรัฐที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 จะช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือเป็น 900,000 TEUs ต่อปี ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านสัญญาเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) โดยลงนามกับรัฐบาลกัมพูชาไว้ในปี 2560 ซึ่งในปี 2561 มีจำนวน 541,288 TEUs ผ่าน PAS ซึ่งเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในปี 2563 คาดว่าปริมาณของตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือจะเกินกว่า 700,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651165/cargo-traffic-up-18-pct-at-pas-ceo/

เปิดตัวหอการค้าจีนในสีหนุวิลล์

หอการค้าแห่งใหม่ของจีนเปิดทำการในเมืองสีหนุวิลล์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหอการค้าแห่งใหม่ของจีนตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) นำโดย Chen Jiangang ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของหอการค้าจีน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพกล่าวยกย่องการเคลื่อนไหวของจีนในครั้งนี้และเชื่อว่าจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการลงทุนของจีนในพื้นที่ชายฝั่งของกัมพูชามากขึ้น ซึ่งหอการค้าจีนจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและส่งเสริมกัมพูชาให้กับนักลงทุนจีนที่สนใจที่จะลงทุนในกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาตามรายงานล่าสุดจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งจีนถือเป็นยักษ์ใหญ่ในเอเชียตะวันออกลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมคิดเป็นกว่า 35% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651144/china-chamber-of-commerce-opens-in-sihanoukville/

ปตท.สนใจส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชาในอนาคต

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แสดงความสนใจในการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศกัมพูชา โดยอธิบดีกรมปิโตรเลียมของกัมพูชากล่าวว่าบริษัทมีความกระตือรือร้นที่จะส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาเบื้องต้นกับกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยปตท.อาจจะทำการหารือกับ บริษัท KrisEnergy เผื่อในอนาคตอาจจะได้ร่วมงานกันหลังจาก KrisEnergy เริ่มสกัดน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมัน Apsara เป็นครั้งแรก ซึ่ง KrisEnergy เป็นบริษัทจากทางประเทศสิงคโปร์ทำการสำรวจน้ำมันและก๊าซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำลังพัฒนา Block A ในบ่อน้ำมัน Apsara และคาดว่าจะมีการสกัดน้ำมันดิบครั้งแรกในปลายปีนี้หรือต้นปี 2563 ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานพบกับตัวแทนของปตท.ที่กรุงพนมเปญและได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมพลังงานและการพัฒนาน้ำมันของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันดิบจะไม่ถูกกลั่นในประเทศและจะถูกขายในรูปแบบของน้ำมันดิบเท่านั้นเนื่องจากกัมพูชาขาดสิ่งอำนวยความสพดวกในการผลิต โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2.5 ล้านตันเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650625/ptt-keen-to-export-cambodian-crude-in-future/

การลงทุนในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นในปีนี้

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ประกาศว่าได้อนุมัติโครงการลงทุนไปกว่า 831 โครงการด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2559 ถึงสิงหาคม 2562 ตามรายงานล่าสุด โดยรายงานเพิ่มเติมว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติโครงการลงทุนกว่า 222 โครงการมูลค่ารวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจำนวนโครงการการลงทุนและมูลค่าการลงทุนยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณ 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในทางตรงกันข้ามการลงทุนในภาคเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานกลับชะลอตัวลง ซึ่งจีนก็ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาซึ่งคิดเป็น 56% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด ในช่วงแปดเดือนแรกของปีลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (35% ของการลงทุนทั้งหมด) ตามด้วยญี่ปุ่น (7.8%), เวียดนาม (2.9%), สิงคโปร์ (1.8 %), เกาหลีใต้ (1.7%), มาเลเซีย ( 1.36%) และประเทศไทย (0.9%)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650679/cdc-approves-6bln-in-investment-projects-in-first-eight-months-of-the-year/

WEF : เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

จากรายงานของเวิร์ล อีโคโนมิกส์ ฟอร์ม (World Economic Form : 2019) เปิดเผยว่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ซึ่งกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ด้วยคะแนนสารสนเทศมากที่สุด โดยประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด (84.8/100) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความมั่งคงในเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน และประสิทธิภาพของตลาด เป็นต้น ทางด้านข้อมูลของประเทศเวียดนามที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ มาขึ้นเป็นอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ประเทศกัมพูชา (อันดับ 106) สปป.ลาว (อันดับ 113) ซึ่งการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมีนับสำคัญต่อการจัดอันดับข้างต้น

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536849/wef-east-asia-pacific-the-worlds-most-competitive-regional-economy.html#voVbdo0if7cB2tIC.97

Cambodia Travel Mart ดึงดูดผู้เข้าร่วมงานกว่า 6,000 คน

ผู้มีส่วนได้เสียด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศหลายพันคนจะเดินทางมายังกรุงพนมเปญในอีกไม่กี่วันข้างหน้าเพื่อเข้าร่วมงานที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ณ โรงแรม Sokha Phnom Penh ในวันที่ 11-13 ตุลาคม โดยผู้จัดงานได้กำหนดกรอบของงานให้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาสู่โลกภายนอก ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงการท่องเที่ยว และคาดว่า CTM 2019 จะเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับผู้แสดงสินค้าจากประเทศต่างๆเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการรวมถึงการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ซึ่งจากข้อมูลคาดว่าจะมีผู้จัดแสดงมากกว่า 200 รายและผู้เข้าร่วม 6,000 คนจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยกัมพูชามีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วเป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับประโยชน์จากการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้น 11% เมื่อปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649436/cambodia-travel-mart-to-attract-6000-participants/

SSCA สนามบินปอยเปตของกัมพูชายังอยู่ระหว่างการศึกษา

งานเกี่ยวกับโครงการสนามบินปอยเปตยังไม่เริ่มแม้รัฐบาลจะอนุญาตให้มีการพัฒนามาแล้วปีกว่าก็ตาม โดยการตรวจสอบกับสำนักเลขาธิการการบินพลเรือน (SSCA) เปิดเผยว่านักลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนาสนามบินแห่งแรกของจังหวัดยังไม่เริ่มดำเนินการ ซึ่งการลงทุนสนามบินปอยเปต (PAI) ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้กลับมาดำเนินการในสนามบินเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยผู้ว่าการปอยเปตกล่าวกับสื่อท้องถิ่นก่อนหน้านี้ว่าสนามบินปอยเปตแห่งใหม่จะถูกสร้างบนพื้นที่ 300 เฮกตาร์ในชุมชนนิมิธของปอยเปตห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าโครงการจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้าง โดย PAI ได้รับอนุญาตให้สร้างสนามบินในปี 2550 เป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้รับการแก้ไขเนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2551 ซึ่งบริษัทตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นโครงการพลังจากเห็นศักยภาพในการพัฒนาของเมืองปอยเปตซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญ โดยทางสนามบินถูกออกแบบมาสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และคาดว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของปอยเปตและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งติดอยู่กับประเทศไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649492/ssca-poipet-airport-still-under-study/