อินเดียนำเข้าถั่วดำ 400,000 ตันจากเมียนมา

รัฐบาลอินเดียประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคมว่าจะซื้อถั่วดำสีดำเพิ่มอีก 400,000 ตันซึ่งรู้จักกันในชื่อ matpe จากเมียนมาในปีงบประมาณ 2563-2564 มีแนวโน้มว่าพวกเมียนมาจะเพิ่มโควต้าการส่งออก จากยอดขาย 250,000 ตันเมื่อปลายปีที่แล้วยังเหลืออีก 40% ที่จะต้องส่งออกไปยังอินเดีย ความต้องการ matpe ยังมีอย่างต่อเนื่องทำให้ราคาอยู่ที่ระหว่าง 900,000 จัต ถึง 1 ล้านจัตต่อตันในขณะที่ราคาของถั่วแระซึ่งอินเดียหยุดการนำเข้าลดลงเหลือ 700,000 จัตต่อตัน ฤดูเก็บเกี่ยวของถั่วดำ อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิ้นเดือนเมษายน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-import-400-000-tonnes-black-gram-myanmar.html

น้ำมันดิ่ง-โควิด ทุบยอดส่งออก ก.พ.2563 พลิกเป็นลบ 4.47% จากเดือนก่อนบวก 3.35%

ส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% ผลจากราคาน้ำมันลดลง แต่ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นทั้งปี 2563 ว่าการส่งออกไทยยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวกได้ รับปัญหาโควิด-19 ยังประเมินทิศทางผลกระทบส่งออกเร็วไปรอติดตามสถานการณ์สักระยะ การส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าอยู่ที่ 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และฐานการส่งออกอาวธในช่วงซ้อมรบในปีก่อน แต่หากดูเฉพาะมูลค่าการส่งออกถือว่ามูลค่าการส่งออกของไทยยังทรงตัวดีมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 19,871 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2558-2562 อย่างไรก็ดี หากหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกของไทยในเดือนนี้ยังขยายตัวอยู่ที่ 1.51% ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออก 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2563 ไทยส่งออกส่งออกลดลง 0.81% มีมูลค่าอยู่ที่ 40,267 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุลอยู่ที่ 2,341 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% สินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น ข้าว ผลจากตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หกตัวจากตลาดจีน น้ำตายทราย เป็นต้น ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.2% สินค้าที่ยังขยายตัวดี เช่น ทองคำ ขยายตัวทุกตลาด เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภันฑ์ยาง สินค้าที่ส่งออกหดตัว เช่น อาวุธ กระสุน รวมทั้งส่วนประกอบ ซึ่งหดตัวจากตลาดสำหรับ สิงคโปร์ อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน โดยจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันโลกผันผวนปรับตัวลดลง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภันฑ์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับการส่งออกไปในตลาดสำคัญในช่วงปัญหาโควิด-19 นั้น หดตัวไปในหลายตลาด เช่น สหรัฐ เนื่องจากปีที่ผ่านมาฐานการส่งออกอาวุธสูง แต่ในปี 2563 ลดลง ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับทิศทางการส่งออกในเดือนมีนาคม 2563 แม้อาจจะลอตัวอยู่บ้างแต่เชื่อว่าการส่งออกในครึ่งปีแรก 2563 จะกลับมาขยายตัวดี จากสถารการณ์ของจีนดีขึ้นจะมีผลต่อการเร่งนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรและอาหาร และชดเชยจากการส่งออกในตลาดสหรัฐและยุโรป เริ่มชะลอตัวลงจากปัจจัยเรื่องของโควิด-19 ทั้งนี้ หากจะให้การส่งออกของไทยทั้งปี 2563 ต้องการให้ขยายตัวอยู่ที่ 0% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือน 20,598 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากต้องการให้โต 2% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-436313

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในกัมพูชา

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกของไทยในกัมพูชา Download

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในสปป.ลาว

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเมียนมา

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเวียดนาม

เวียดนามเผยส่งออกมันสำปะหลังลดลง ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามลดลงเล็กน้อย ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังในช่วงเวลาดังกล่าว 380,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.06 และ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งราคาส่งออกเฉลี่ยของมันสำปะหลังอยู่ที่ราว 332 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นตลาดมันสำปะหลังของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 ของมูลค่าส่งออกมันสำปะหลังรวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกมันสำปะหลังไปยังจีนลดลงร้อยละ 21.1 ในด้านปริมาณและร้อยละ 25.1 ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับชาวงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ปิดตลาดตามเขตชายแดนและระงับกิจกรรมการค้าตามบริเวณชายแดนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามไปยังจีน นอกจากนี้ จีนยังคงมีความเข็มงวดสำหรับการติดฉลาก,การบรรจุภัณฑ์ และการค้าตามชายแดน เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-cassava-export-reduction-in-two-months/169980.vnp

COVID-19 กระทบเล็กน้อยต่อส่งออกประมงเมียนมา

แม้ว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังประเทศจีนได้ลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำการส่งออกไปให้ทั่วโลกเพียง 4,000 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ทางทะเลประมาณ 4,000 ตันมูลค่ากว่า 3.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.3 พันล้านจัต) ถูกส่งออกไปยังประเทศจีนผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมูเซ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกส่วนใหญ่เป็นปลาไพค์ ปลาฟลาวน์เดอร์ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาคาร์พสีเหลือง ปลาปักเป้า กุ้งและปลาหมึก จุดการค้าชายแดนของชินฉ่วยฮ่อ ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ปลาไหลและปลามังกรหรือปลาไหลทะเลมีการส่งออกรวม 28.23 ตันมูลค่า 72,075 ดอลลาร์สหรัฐถูกส่งออกระหว่างวันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกชายแดนของผลิตภัณฑ์ประมงเป็นไปตามปกติในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากประตูชายแดนชินฉ่วยฮ่อ ปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแต่จะเปิดใหม่ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามการค้าผ่านประตูนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกปลาไหล จนถึงปีที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเมียนมามูลค่า 415.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 361.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fisheries-exports-not-badly-hit-agriculture-virus.html

ถกทูตพาณิชย์ปรับทัพส่งออกปี63

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก 28 ก.พ.นี้เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและปรับทัพใหม่หลังเจอไวรัสโควิด-19ระบาดหนัก  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า  ในวันที่ 28 ก.พ.นี้จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 63  พร้อมทั้งปรับแผนงานการส่งออกในตลาดในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  สงครามการค้าสหรัฐ-จีน  เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีแผนการหรือกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อกระตุ้นการส่งออกที่แตกต่างกัน ส่วนแผนการการเจาะตลาด 18 ประเทศที่วางไว้ก็คงต้องมีการปรับใหม่เพื่อความเหมาะสมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การระบาดของไวรัสโควิค-19 สำหรับแผนการตลาดที่ต้องต้องปรับใหม่ เช่น แผนการโปรโมทสินค้าผลไม้ในดือนเม.ย.ต้องดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้าไปทำกิจกรรมโปรโมทได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็ต้องระงับไว้ก่อน พร้อมกับปรับแผนให้เน้นในเรื่องของการขายออนไลน์ให้มากขึ้น แต่หากว่าจีนคุมสถานการณ์ได้ไว้ เราก็ต้องรีบเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด  ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปที่ตลาดอื่นๆด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/758828

เวียดนามตั้งเป้า จ.ก่าเมา จะบรรลุตามเป้าหมายการส่งออก

จังหวัดก่าเมาอยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนาม ได้หาแนวทางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นและผลักดันการส่งออกให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ท่ามกลางไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุน รวมถึงผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2568 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามหรือเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีมีความทันสมัย ดังนั้น ธุรกิจท้องถิ่นจึงต้องเตรียมการวางแผนการผลิตและแปรรูป ขณะที่ จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) จะช่วยให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดก่าเมาได้สร้างรายได้ในเดือน ม.ค. 63 ประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย จีนและสหภาพยุโรปในทางตอนใต้ของเวียดนามังคงมุ่งเน้นในการผลิตหน้ากาก้องกันเชื้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592306/ca-mau-looks-for-measures-to-achieve-export-turnover-target.html