เวียดนามคุมสินเชื่อ โต 2.13% ช่วง 6 เดือน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าการขยายตัวสินเชื่อ ณ วันที่ 16 มิ.ย. คาดจะอยู่ที่ร้อยละ 2.13 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่ร้อยละ 5.7 รองผู้อำนวยการธนาคารกลาง คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. อัตราการเติบโตของปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2) ประกอบด้วยเงินสดที่อยู่ในระบบและเงินฝากทั้งหมด จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินเชื่อทางการเกษตรเติบโตร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบสิ้นปีที่แล้ว ตามมาด้วยมาภาคส่งออก (4.94%), ภาคเทคโนโลยี (2.92%) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (2.27%) และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (-0.7%) เป็นต้น นอกจากนี้ ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบ พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 12.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก เหตุจากผลกระทบโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารยังให้การสนับสนุนลูกค้า โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้และการพักชำระหนี้ชั่วคราว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp

เวียดนามเผยราคาเนื้อหมูดิ่งลง หลังจากนำเข้าจำนวนมาก

ราคาเนื้อหมูในประเทศประสบปัญหาดิ่งลงฮวบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) อนุญาตให้บริษัทสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทย ด้วยเหตุนี้ ราคาสุกรมีชีวิตในจังหวัดทางตอนเหนือชองประเทศปรับตัวลดลง ระหว่าง 88,000-93,000 ด่งต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ขณะที่ ภาคกลางมีราคาผันผวนอยู่ที่ 84,000-91,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งคาดว่าราคาจะยังคงลดลงต่อไปอีกในสัปดาห์หน้า เมื่อมีการนำเข้าสุกรจากไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นมีความกังวลถึงการนำเข้าสุกรมีชีวิต เนื่องจากมีความเสี่ยงอีกครั้งของการแพร่ะระบาดโรคไข้หวัดสุกร ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสำนักเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่ามีธุรกิจจำนวนหนึ่งได้ลงทะเบียนเพื่อสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิต ซึ่งหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว มีปริมาณการนำเข้าสุกรสูงถึง 100,000-200,000 ตัว นอกจากนี้ ราคาขายสุกรมีชีวิตยังไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 50,000 ด่งต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/domestic-pork-prices-fall-as-pigs-imported-in-large-volume-414963.vov

สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นผู้นำขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด

รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) แถลงรายงานตัวชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด (PCI) เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. พบว่าจังหวัดที่อยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เป็นภูมิภาคชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการประเมินว่าภูมิภาคดังกล่าวมีความพยายามในการพัฒนาหรือส่งเสริมคุณภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2558-2562 ดัชนีจังหวัด PIC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คิดเป็น 5.95 คะแนน จาก 59 คะแนนในปี 2558 จนถึงปี 2561 อยู่ที่ 64.99 คะแนน ทั้งนี้ ในกลุ่ม 20 จังหวัดและเมืองที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด พบว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง มี 5 จังหวัดที่ติดอันดับ ได้แก่ ดงทับ, วินห์ลอง, เบ็นเต๋, ลองอันและแคนโถ เป็นต้น นอกจากนี้ ในบริเวณณพื้นที่ดังกล่าวมีขนาดยุ้งฉางข้าวใหญ่ที่สุดในประเทศ ประกอบไปด้วย 12 จังหวัดและอีก 1 เมืองศูนย์กลางภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพ.ค.

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามเกินดุลการค้า มีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุนี้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดเกินดุลการค้าสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นของการค้าระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 19.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 18.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน (2.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาเซียน เป็นต้น สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์และชิ้นส่วน, เครื่องจักรและรองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวเลขทางสถิติในเดือนพ.ค. ชี้ให้เห็นว่าตลาดส่งออกเริ่มกลับมาฟื้นตัว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-enjoys-us1-billion-in-trade-surplus-in-may-414911.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้ครึ่งปีแรก สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีสัดส่วนร้อยละ 60.8 ของยอดนำเข้ารวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ ลดลงร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ หลายตลาดขยายตัวได้ดี เช่น ไทย (57.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, เพิ่มขึ้น 244.1%) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรส่งออกผักและผลไม้แปรรูปในช่วงเวลานี้ ยอดส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงปลายปี เนื่องจากคาดว่าควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/veggie-fruit-exports-exceed-15-billion-usd-in-first-half/174897.vnp

‘ไทยเวียตเจ็ท’ กลับมาเปิดบริการในประเทศ

สายการบินไทยเวียตเจ็ท (Thai Vietjet) กลับมาเปิดบินเส้นทางระหว่างกรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) และสนามบินนานาชาติภูเก็ตในวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารและเป็นสายการบินรายแรกที่กลับมาดำเนินต่อ จากข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นไปตามแถลงของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ที่จะเปิดเส้นทางบินนานาชาติภูเก็ตในประเทศ ทั้งนี้ สายการบินไทยเวียตเจ็ทยังได้เสนอไฟล์ทบินฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสมาชิกของคณะกรรมการควบคุม COVID-19 และแพทย์ พยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้ง 160 ราย ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย นอกจากนี้ สายการบินดังกล่าว ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ซึ่งมาจากกิจการร่วมค้าระหว่างเวียตเจ็ท (ถือหุ้น 49%) และกานต์ แอร์ถือหุ้นส่วนที่เหลือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738138/thai-vietjet-resumes-domestic-flights.html