จ่อชงครม.ไฟเขียวแผนนำเข้าอาหารสัตว์ ปลาป่น-กากถั่ว-ข้าวโพดปี64-66

พาณิชย์ เตรียมชง “ครม.” เคาะนโยบายอาหารปี 64-66 กำหนดนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งกากถั่วเหลือง ปลาป่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เหมือนปี 61-63 โดยให้นำเข้าได้ทั้งจากสมาชิกดับเบิลยูทีโอ เอฟทีเอ และนอกเอฟทีเอ แต่ยังคงกำหนดให้ผู้นำเข้าข้าวสาลี ต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศในสัดส่วนเดิมที่ 1 ต่อ 3 หวังไม่ให้ราคาข้าวโพดดิ่ง จากการนำเข้าข้าวสาลีที่มากขึ้น นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหาร ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เห็นชอบนโยบายอาหารสัตว์ปี 64-66 แล้ว โดยจะเปิดให้นำเข้ากากถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เหมือนกับปี 61-63   และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ทั้งนี้ กากถั่วเหลือง กำหนดการนำเข้าแบบไม่จำกัดปริมาณ ทั้งจากภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) มีภาษีนำเข้าในโควตา 2% และนอกโควตา 119%, กรอบความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อื่นๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ภาษี 0%, เอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ภาษี 0% เป็นต้น และประเทศที่ไม่มีเอฟทีเอกับไทย ภาษีนำเข้า 6% และเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้า โดยแหล่งนำเข้าใหญ่คือ บราซิล อาร์เจนตินา และสหรัฐ ส่วนปลาป่น กำหนดให้นำเข้าปลาป่นโปรตีน 60% แบบไม่จำกัดปริมาณ โดยการนำเข้าจากอาฟตา ภาษี 0%, ภายใต้เอฟทีเอต่างๆ เช่น อาเซียน-จีน ภาษีนำเข้า 0% เอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ภาษี 0%, เอฟทีเอไทย-ชิลี ภาษี 0% และประเทศนอกเอฟทีเอ ภาษีนำเข้า 6% โดยแต่ละปีไทยนำเข้าจากชิลีเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว โดยนำเข้าภายใต้ดับเบิลยูทีโอ ปริมาณ 54,700 ตัน ภาษีในโควตา 20% นอกโควตา 73% และเสียค่าธรรมเนียมตันละ 180 บาท ส่วนภายใต้อาฟตา ภาษี 0% ไม่จำกัดปริมาณ แต่จำกัดช่วงเวลาการนำเข้าระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-31 ส.ค.ของทุกปี เอฟทีเออื่นๆ เช่น ไทย-ออสเตรเลีย ภาษีในโควตา 4% นอกโควตา 65.70% เป็นต้น โดยปี 62 ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 1 ล้านตัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากอาเซียน

ที่มา: : https://www.dailynews.co.th/economic/792578

ฟิลิปปินส์ยกเลิกการนำเข้าข้าวเมียนมาท่ามกลางการประท้วงของเกษตรกร

สมาคมผู้ค้าข้าวแห่งเมียนมา(MRTA) เผยข้อตกลงการส่งออกข้าวระหว่างเมียนมาและฟิลิปปินส์ได้ลดลงหลังจากที่ได้รับแรงกดดันจากเกษตรกรในท้องถิ่นในท้องถิ่น เมื่อปีที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าว 150,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เมียนมาร่วมประมูลเพื่อส่งออกข้าว 50,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ในปี 2560 แต่ในปีนั้นเวียดนามชนะการประมูลไป เมียนมาไม่สามารถส่งออกข้าวตามเป้าหมายที่คาดไว้คือ 2.4 ล้านตันในปีงบประมาณ 2562-2563 เนื่องจากความต้องการที่ลดลง ขณะนี้มีการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันและคาดว่าข้าวที่เหลืออีก 400,000 ตันจะถูกส่งออกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2563 ณ วันที่ 17 กรกฎาคมการขาดดุลการค้าของเมียนมาในปี 2562-2563 เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 718 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2561-2562

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/philippines-cancels-myanmar-rice-consignment-amid-local-protests.html

เวียดนามเผยมูลค่านำเข้ากว่า 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้

สำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการนำเข้ารวมอยู่ที่ 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.3 โดยจีนยังคงเป็นตลาดนำเข้าสำคัญ ขณะที่ ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าเอเชียเป็นตลาดเศรษฐกิจและการค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการค้าสูงถึง 103.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.2 ของการส่งออกและนำเข้ารวม ทั้งนี้ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ซึ่งในปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าของกลุ่มสินค้าดังกล่าว ประมาณ 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สินค้าโภคภัณฑ์ที่เผชิญกับความยากลำบาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ดิ่งลงร้อยละ 41.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ดี เกาหลีใต้ยังคงเป็นผู้นำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมา จีน ไต้หวันและสหรัฐฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-space-rentals-down-30-due-to-covid19-413778.vov

การนำเข้าสินค้าเดือนเมษายนมีมูลค่า 529 ล้านดอลลาร์

ศูนย์ข้อมูล – กระทรวงข้อมูลการค้าของสปป. ลาวภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์เปิดเผยว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกของสปป. ลาวในเดือนเมษายน 2563 สูงถึง 529 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกมีมูลค่า 208 ล้านดอลลาร์และมูลค่าการนำเข้า 320 ล้านดอลลาร์ขาดดุลประมาณ 112 ล้านดอลลาร์ สปป.ลาวส่งออกสินค้าสำคัญได้แก่ ไม้แปรรูป เศษเหล็ก ทองแดง แร่ทองคำ แตงโม เสื้อผ้า ในด้านมูลค่าการนำเข้าถึงแม้จะยังมีแนวโน้มที่เพิ่มอย่างเนื่องแต่สินค้าที่นำเข้าโดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า บ่งชี้ให้เห็นถึงการเติบในด้านอุตสาหกรรมของสปป.ลาวทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้าทุนมามากขึ้น นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวส่งผลต่อรายได้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้นทำให้ระดับผู้ที่มีรายได้ปานกลางของสปป.ลาวมีมากขึ้น จึงมีความต้องการบริโภคมากขึ้นมูลค่าการนำเข้าของสปป.ลาวจึงสูงนั้นเอง

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/05/07/77633/

กลยุทธ์ส่งออก ฝ่าโควิด-19 ดันสินค้า Essential-Online Exhibition

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้โอกาสที่การส่งออกปี 2563 จะขยายตัว 3% ตามเป้าหมาย เริ่มจะห่างไกลออกไป แม้ว่าจะเปิดฉากมาในเดือนมกราคม 2562 ที่บวกถึง 3.35% แต่ล่าสุดสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) รายงานว่า การส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2563 มูลค่า 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยพิจารณาการส่งออกรายสินค้าพบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% จากการหดตัวของการส่งออกข้าว ในตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หดตัวจากตลาดจีน ส่วนสินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป จากผลพวงปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาดหดตัว อาทิ จีน ติดลบ 2% ฮ่องกง ลบ 3% ญี่ปุ่น ลบ 7% ขณะที่สหรัฐ ลดลง 37% ต่ำสุดเนื่องจากฐานการส่งออกของสหรัฐในปีที่ผ่านมาขยายตัวจากการส่งออก “อาวุธ” และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดอาเซียนภาพรวม ขยายตัว 6.1% โดยเฉพาะตลาด CLMV ขยายตัว 5.8%

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 – 29 มี.ค. 2563

เมียนมาอนุญาตนำเข้าหัวหอมหากราคาท้องถิ่นยังสูงอยู่

เมียนมาอนุญาตให้นำเข้าหัวหอมตามนโยบายหากราคาหัวหอมยังคงมนประเทศเพิ่มขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาหัวหอมมีความผัน แต่ปีนี้ราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามนโยบายการนำเข้าหัวหอมจะได้รับอนุญาตให้เข้าเข้าหากราคาหัวหอมสูง และเมียนมาความพยายามรักษาเสถียรภาพของราคาหัวหอม และไม่อนุญาตให้นำเข้าในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหัวหอมในประเทศ การนำเข้าหัวหอมจะได้รับอนุญาตหากราคาหัวหอมพุ่งสูงขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันราคาหัวหอมต่อ viss คือ 550-925 จัต ในวันที่ 4 กันยายน, 700-1,350 จัต ในวันที่ 4 ตุลาคมและ 1,200-2100 จัตในวันที่ 4 พฤศจิกายน และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาราคาสูงถึง 2,800-3,100 จัตต่อ viss

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/onion-import-will-be-allowed-if-onion-price-continues-to-rise-dy-minister

รัฐบาลสปป.ลาววิจารณ์เงื่อนไขสำหรับการนำเข้าและการขายยานพาหนะ

รัฐบาลได้สั่งให้ผู้ค้าที่นำเข้าและขายรถยนต์ยื่นเอกสารต่อกระทรวงการนำเข้าและส่งออกของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ภายในวันที่ 29 พ.ย. นี้ หากบริษัทล้มเหลวในการนำเสนอเอกสาร อาจสูญเสียใบอนุญาตประกอบธุรกิจและจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ายานพาหนะ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบและรวบรวมสถิติจากตัวแทนจำหน่ายที่มีกิจกรรมและมาตรฐานการบริการที่มีข้อสงสัย รัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาการนำเข้ายานพาหนะผิดกฎหมายหลังจากทราบว่าเจ้าของรถยนต์หลายรายไม่ได้ชำระภาษี ซึ่งประเทศได้สูญเสียรายได้จำนวนมากจากการนำเข้ายานพาหนะที่ผิดกฎหมายมาหลายปี

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-govt-reviews-conditions-import-and-sale-vehicles-108114