สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก

สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเรียกร้องการสนับสนุนจากรัฐบาลในการช่วยฟื้นตัวจากผลกระทบข้างต้น ซึ่งรายรับของสายการบินลดลงถึงร้อยละ 80 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ตามข้อมูลของ IATA แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่ยังจำเป็นต้องจ่ายให้ครอบคลุม เช่น ลูกเรือ การบำรุงรักษา น้ำมันเชื้อเพลิง ภาษีสนามบิน และที่เก็บเครื่องบินอีกจำนวนมาก โดยจนถึงปัจจุบัน IATA ประเมินว่ารัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเงินกู้และการลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนเงินกว่า 160,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้สายการบินสามารถพยุงธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774468/airlines-face-tough-festive-season-as-hoped-for-pick-up-fails-to-materialise/

ตลาดเซโจ เมืองมัณฑะเลย์พร้อมเปิดอีกครั้ง

นาย U Min Min เลขาธิการคณะกรรมการตลาดเผยกำลังขออนุญาตเปิดตลาด13. ตลาดเซโจ (Zegyo Market) ในเมืองมัณฑะเลย์อีกครั้งหลังปิดมานานกว่าหนึ่งเดือน ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 เพื่อไม่ให้ตลาดหยุดนิ่งหรือปิดลง ซึ่งการค้าขายโดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล เช่น ผ้าห่มและเสื้อกันหนาวเป็นสิ่งที่ขายในในช่วงเทศกาลตาดิงยุต (Thadingyut Festival of Lights) และเทศกาลตาซองดิน (Tazaungdine Festival of Lights) ตลาดแห่งนี้ใหญ่ที่สุดในเมียนมาตอนเหนือและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ พบว่ามีปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและการจ้างงานหากถูกปิดเป็นเวลานาน ทั้งนี้ตลาดจะลดพนักงานลงครึ่งหนึ่งและอนุญาตให้อาคารแค่สี่หลังเปิดทำการตั้งแต่ 8.00 น. ถึงเที่ยงวัน ปัจจุบันมีร้านค้ามากกว่า 5,000 ร้าน ในตลาดแห่งนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-zegyo-market-seeks-ok-reopen.html

โควิดพ่นพิษทำราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น กระทบอาหารแช่แข็งในเมียนมา

ตลาดอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารจานด่วนกำลังประสบปัญหาในระหว่างการระบาดของโควิด -19 ร้านอาหารในท้องถิ่นปิดตัวลงอุตสาหกรรมจึงต้องพึ่งพาตลาดขนาดเล็กและการค้าปลีกออนไลน์ อาหารทะเลส่วนใหญ่ผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากไทยและขายให้กับร้านค้าส่วนใหญ่ เช่น Kyay-Oh, Hot-Pot, Barger, Sushi และ Thai BBQ ผู้ผลิตฟาสต์ฟู้ดลดมีปัญหาด้านโลจิสติกส์และโรงงานอาหารแช่แข็งจึงลดการผลิตลง ในขณะเดียวกันราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมเนื่องจากลดการเพาะเลี้ยงในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยต้นทุนการเลี้ยงไก่อยู่ที่ประมาณ 2700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม แต่ราคาในตลาดอยู่ที่ประมาณ 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมดังนั้นจึงขาดทุนมากกว่า 700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม โดยปกติชาวเมียนมาบริโภคไก่ประมาณ 14 ล้านตัวต่อเดือนหรือประมาณ 500,000 ตัวต่อวัน แต่ความต้องการลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากโรงแรมร้านอาหารและร้านชาปิดตัวลง ปกติในตลาดเคยขายได้ประมาณ 48 กก. ต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือวันละ 8 กิโล จึงจำเป็นต้องขายผ่านออนไลน์  ร้านค้าปลีกในเขตเมืองกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ในช่วงต้นเดือนกันยายนราคาไก่หน้าฟาร์มต่ำกว่า 1600 จัตต่อ 1.6 กก. และมีความเสียหายประมาณ 50 ล้านจัตต่อวัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rising-prices-hurt-frozen-food-wholesalers-myanmar.html

เวียดนามเผยธุรกิจในประเทศแสวงหาช่องทางการส่งออกสินค้าไปยังไทย

ตามการประชุมที่นครโฮจิมินห์ จัดขึ้นโดยศูนย์กลางลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) ระบุว่าไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าการส่งออกและนำเข้าทั้งสองประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของยอดการค้าระหว่างประเทศรวมของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออกของเวียดนามมายังไทย ติดอันดับ 1 ใน 5 ของยอดส่งออกรวมไปยังอาเซียนและไทยยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการของศูนย์ฯ กล่าวว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-ไทย มีการพัฒนาในหลายๆด้านด้วยกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การค้าทวีภาคีลดลงร้อยละ 12.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดหดตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ จุดประสงค์ของงานดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสและให้ธุรกิจในประเทศได้รับโอกาสจากการนำสินค้าไปสู่ ‘Big C, Go !’ และจับมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังประเทศไทย

  ที่มา : https://vnexplorer.net/domestic-businesses-seek-ways-to-export-products-to-thailand-a2020111121.html

การแก้ไขเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางโรคระบาดใน สปป.ลาว

ภาครัฐได้รับการกระตุ้นให้กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปท่ามกลางการระบาดของโควิด -19 และการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว นี่เป็นประเด็นหลักประการหนึ่งของมติที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการกลาง ยังมีเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจและผลักดันให้มีการลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น คณะกรรมการกลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวกล่าวว่ารัฐบาลควรเพิ่มการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้มีการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกมากขึ้น ในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการลดกฎระเบียบของระบบราชการเพื่อให้องค์กรเอกชนสามารถลดต้นทุนการผลิตและตั้งโรงงานเพื่อการส่งออกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าสปป.ลาวจะยังคงปลอดจากผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรง แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังคงแพร่หลายทำลายการท่องเที่ยวก ารลงทุนและการส่งออกซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ คณะกรรมการกลางพรรคซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานตัดสินใจทางการเมืองของสปป.ลาวได้สั่งให้รัฐบาลจัดการกับภาระหนี้ที่สำคัญของประเทศและอุดช่องโหว่ทางการเงินรวมทั้งปรับปรุงรัฐวิสาหกิจเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการยังคงมีความคืบหน้าตามแผน ในระหว่างนี้ทางการยังคงดิ้นรนเพื่อควบคุมราคาอาหารเนื่องจากสินค้าจำนวนมากถูกนำเข้าและต้องซื้อด้วยสกุลเงินที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_203.php

กัมพูชาหารือวางโรดแมปฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและภาคเอกชนได้หารือเกี่ยวกับร่างแผนฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ จากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปี 2020-2025 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนกล่าวในระหว่างการประชุมว่าการพัฒนาโครงการนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จำเป็นในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญในปัจจุบันและในอนาคต โดยรัฐบาลจะทำการร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สมาคมการท่องเที่ยวกัมพูชา สมาคมโรงแรมกัมพูชา และสหพันธ์การท่องเที่ยวกัมพูชา ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศหลัง COVID-19 ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาถึง 7 ปี ภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศจึงจะกลับสู่สภาวะปกติ โดยกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกว่า 6.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งในปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมเพียง 1.2 ล้านคน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 71.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773942/roadmap-to-restore-tourism-discussed/

IMF เผยเวียดนามก้าวเป็นอันดับที่ 4 ของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์นี้ โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ จะสูงถึง 340.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ นิตยสาร Investement Bridge อ้างจาก IMF ระบุว่าเวียดนามยังคงเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจเติบโตในปีนี้และปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ในขณะที่ เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2-5 แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากการประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวกปีนี้ นอกจากนี้ ทาง IMF คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ในอาเซียน แตะ 3,497 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปีนี้ รองลงมาฟิลิปปินส์ สปป.ลาว กัมพูชาและเมียนมา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นเศรษฐกิจสำคัญเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และจะสูงถึงร้อยละ 8.2 ในปี 2564 สำหรับสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า GDP จะหดตัวลงร้อยละ 4.3 ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-to-become-4th-largest-economy-in-southeast-asia-said-imf-25227.html

เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก

ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html

ยอดขายรถจักรยานยนต์เวียดนาม ลดลง 18.49% ในไตรมาสสามปี 2563

สมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMA) รายงานว่าตัวเลขยอดขายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ดิ่งลงร้อยละ 18.49 เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 677,739 คัน บริษัทฮอนด้ามอเตอร์เวียดนาม ระบุว่าในเดือนกันยายน เพียงเดือนเดียว มียอดขายรถจักรยานยนต์สูงถึง 169,917 คัน และมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 80.1 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในไตรมาสดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม-กันยายน ยอดขายรถจักรยานยนต์ทั้งหมด อยู่ที่ 1.92 ล้านคันและยอดขายชิ้นส่วนมากกว่า 214,000 ชิ้น/เดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดรถจักรยานยนต์ไม่สามารถทำยอดขายตรงตามเป้าที่ตั้งไว้ได้เหมือนกับปีก่อนๆ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/motorcycle-sales-taper-off-1849-percent/188506.vnp

ค่าเงินด่องของเวียดนามมีแนวโน้มเสถียรภาพ

จากรายงานของฟิทช์ โซลูชันส์ (Fitch Solutions) ระบุว่าในระยะสั้น ทางธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) คาดว่ายังคงรักษาเสถียรภาพของค่าเงินด่องได้ เนื่องจากต้องควบคุมระดับของความสามารถทางการแข่งขันด้านการส่งออก ด้วยเหตุนี้  ฟิทช์ โซลูชันส์ปรับค่าเงินด่องเวียดนามเฉลี่ยที่ 23,250 ด่อง/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 และมาอยู่ในระดับที่ 23,400 ด่อง/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 ขณะที่ ค่าเงินด่องยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนก.ค. ทั้งนี้ คาดว่าการเกินดุลการค้าของเวียดนามยังคงต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำและการส่งออกยังได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่ช่วยกระตุ้นการส่งออกของประเทศ ในขณะที่ การไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนก.ค. อยู่ที่ 84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางธนาคาร SBV มองว่ายังสามารถรักษาระดับของค่าเงินด่องในไม่กี่เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มว่าจำเป็นต้องซื้อเงินสำรองต่างประเทศมากขึ้น เพื่อที่จะให้ค่าเงินด่องกลับมาอ่อนค่าลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/stable-outlook-expected-for-vietnamese-dong-314500.html