การตรวจสอบคลังน้ำมันที่ท่าเรือติลาวา และร้านค้าน้ำมันในย่างกุ้ง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง U Thant Sin เข้าเยี่ยมชมสถานีจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ท่าเรือติละวา เมือง Thanlyin ในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้ ยังพิจารณาสภาพการทำงานของระบบในการนำเข้าเชื้อเพลิงโดยเรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศ เงื่อนไขการรับเชื้อเพลิงที่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และการกระจายเชื้อเพลิงโดยผู้ให้บริการขนส่งไปยังรัฐและภูมิภาค อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ สั่งการให้บริษัทที่นำเข้า จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ดำเนินกิจกรรมรักษาความปลอดภัยตามสถานีจัดเก็บ ท่าเรือ และท่าเทียบเรือ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีน้ำมันรั่วไหลระหว่างการขนถ่ายและสามารถรักษาและกระจายคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงได้จากเจ้าหน้าที่ทุกระดับ เพื่อเปลี่ยนผ่านจากระบบสกัดลูกลอยแบบแมนนวลสำหรับรถหัวจ่าย ไปสู่การสกัดลูกลอยแบบออนไลน์ รวมถึง ติดตั้งและใช้ระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมและติดตามสถานะการซื้อและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ ร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงควรใส่ใจเพื่อให้สามารถจำหน่ายและขายสินค้าตามคุณภาพและความต้องการด้วยบริการที่ดีแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-storage-at-thilawa-port-fuel-stores-in-yangon-inspected/

เมียนมาร์เข้าร่วมการประชุม Uttarakhand Global Investor Summit 2023 ที่ประเทศอินเดีย

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ ได้กล่าวถึง การมีส่วนร่วมของเมียนมาร์ใน Uttarakhand Global Investor Summit 2023 (UKGIS) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเดห์ราดุน รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย โดยการประชุมสุดยอดครั้งนี้ซึ่งมีระยะเวลาสองวัน คือวันที่ 8-9 ธันวาคม มี U Moe Kyaw Aung เอกอัครราชทูตเมียนมาร์ประจำอินเดีย เข้าร่วมงานตามคำเชิญของรัฐบาลรัฐอุตตราขัณฑ์ อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวระบุว่า นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการทูต ผู้ประกอบการ และนักลงทุนจากประเทศต่างๆ รวมถึงเมียนมาร์ ซึ่งในระหว่างการประชุมสุดยอด เอกอัครราชทูต U Moe Kyaw Aung ได้หารือกับเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และตัวแทนจากประเทศอื่นๆ ของอินเดีย เพื่อสำรวจโอกาสด้านการลงทุนและเศรษฐกิจ และศักยภาพของเมียนมาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-takes-part-in-uttarakhand-global-investor-summit-2023-in-india/

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์ทะลุ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์มีมูลค่า 2.035 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งมูลค่าดดังกล่าวเป็นมูลค่ารวมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผานมา ทั้งนี้ ตัวเลขมูลค่าการส่งออกดังกล่าวลดลงจาก 2.364 พันล้านดอลลาร์ที่มีการเก็บข้อมูลสถิติไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงเท่ากับ 328.349 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาร์มีการส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ เมียนมาร์ได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-agri-exports-surpass-us2-bln-in-8-months/#article-title

การส่งออกยางของเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเป็น 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 เดือน

ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 1 ธันวาคม ในปีงบประมาณ 2566-2567 เมียนมาร์ส่งออกยางกว่า 99,660 ตันไปยังต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 123.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ราคาทั่วไปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,580 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้ง 1,560 จ๊าดต่อปอนด์ ในตลาดยางของรัฐมอญ ซึ่งราคายางของเมียนมาร์จะได้รับอิทธิพลจากความต้องการยางทั่วโลก การผลิตยางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาดเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เป้าหมายการส่งออกยางพาราของสมาคมยางเมียนมาร์ที่ตั้งไว้ในปีงบประมาณนี้คือ 300,000 ตัน ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าการผลิตยางในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา ที่มีการผลิตเกิน 360,000 ตัน และมีการส่งออกยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-rubber-exports-swell-to-us123-mln-in-8-months/#article-title

การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาร์มีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติ มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการตัด ผลิตและบรรจุหีบห่อ (CMP) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – วันที่ 1 ธันวาคม ในปีงบประมาณ 2566-2567 มีมูลค่ามากกว่า 2.966 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาสินค้าส่งออกหลัก 10 รายการ ในขณะที่ มูลค่าการส่งออกก๊าซธรรมชาติมีมูลค่า 2.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วดำ 474.126 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวและข้าวหัก 378.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกข้าวโพด 271.312 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกปลา 220.418 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วเขียว 185.983 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกยางธรรมชาติ 123.691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วมะแฮะ 101.952 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการส่งออกโลหะและแร่ 79.404 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในบรรดาประเทศคู่ค้าสิบอันดับแรกของเมียนมาร์ ประเทศไทยถือเป็นอันดับหนึ่งด้วยมูลค่าการค้ากว่า 2.472 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือจีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สเปน สาธารณรัฐเกาหลี และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังพยายามเพิ่มการส่งออกภาคการผลิต และไม้วีเนียร์และไม้อัด ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป เสื้อผ้า น้ำตาล และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากชายแดนแล้ว เมียนมาร์ยังส่งออกสินค้าทางทะเลและทางอากาศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/garment-exports-top-us2-9-bln-in-past-eight-months/#article-title

คณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า หารือเรื่องการจำหน่ายเชื้อเพลิง และมาตรการเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร

Mya Tun Oo รัฐมนตรีสหภาพสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐ และประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลการไหลเวียนของการค้าและสินค้า ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2/2566 ที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ ว่ามีการเตรียมการอย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่ามีเชื้อเพลิงเพียงพอที่สถานีบริการน้ำมันและจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงในสต็อก ในทางกลับกันยังกำกับดูแลการต่อต้านการค้าเชื้อเพลิงที่ผิดกฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการยังเน้นไปที่มาตรการเชิงปฏิบัติสำหรับการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และพิจารณาว่าเชื้อเพลิงที่นำเข้ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานคุณภาพหรือไม่ ในทำนองเดียวกัน มีการแจกจ่ายน้ำมันสำหรับใช้ปรุงอาหารอย่างเพียงพอไปยังภูมิภาคและรัฐ รวมถึงกรุงเนปิดอว์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเสถียรภาพต่อตลาดและราคาสินค้า อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีสหภาพฯ กล่าวต่อว่าในสมัยนั้นมีการใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด งา และยางพารา นอกจากนี้ยังต้องกำกับดูแลการส่งกลับรายได้จากการส่งออกตามขั้นตอนที่กำหนดและจะจัดลำดับความสำคัญของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับเขตอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออก และเน้นย้ำถึงความร่วมมือกับ UMFCCI สมาคมพี่น้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/central-committee-on-ensuring-smooth-flow-of-trade-and-goods-discusses-fuel-distribution-measures-to-increase-export-of-farm-produce/#article-title

เมียนมาร์กระตุ้นการส่งออกถั่วพัลส์ตามเป้าหมายประจำปี โดยส่งออกไปแล้ว 1 ล้านตัน

สมาคมผู้ค้าถั่วพัลส์ ถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดงาของเมียนมาร์ รายงานว่า ด้วยการส่งออกพัลส์ในปัจจุบันมากกว่า 1 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่ทางทะเล ในปีงบประมาณนี้ คาดการณ์ว่าสมาคมจะบรรลุเป้าหมายประจำปีตามปกติอยู่ที่ประมาณ 1.5 ถึง 2 ล้านตันต่อปี โดยการค้าทางทะเลถือเป็นช่องทางหลักในการส่งออก ในขณะที่เส้นทางชายแดนส่วนใหญ่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน ท่ามกลางความยากลำบากในการขนส่งทางถนน ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศปลายทาง อินเดียถือเป็นประเทศอันดับหนึ่งที่เมียนมาร์มีการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว โดยการส่งออกไปยังอินเดียส่วนใหญ่ผ่านทางทะเล เนื่องจากการค้าชายแดนเป็นเรื่องยากในการขนส่ง อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 17 พฤศจิกายน ปีงบประมาณนี้ เมียนมาร์มีรายได้มากกว่า 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1 ล้านตัน รวมถึงถั่วดำและถั่วแฮะ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-export-on-track-to-meet-annual-target-with-1-mln-tonne-already-shipped/