COVID-19 กระทบอสังหาริมทรัพย์เมียนมาหยุดนิ่ง

นาย U Nay Min Thu กรรมการผู้จัดการของ iMyanmarHouse.com เผย แม้ก่อนหน้านี้ตลาดอสังหาฯ จะไม่แข็งแกร่งมากนัก แต่ก็เริ่มฟื้นตัวก่อนที่จะมีการกลับมาของ COVID-19 แม้จะสามารถควบคุมการระบาดได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าตลาดจะฟื้นตัว ในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านไม่สามารถขนย้ายหรือเลือกดูอสังหาริมทรัพย์ได้เพราะข้อจำกัดในการเดินทาง ทั้งค่าธรรมเนียมการเช่ายังลดลง ไม่เฉพาะพาร์ทเมนท์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงร้านค้าด้วย ทั้งนี้คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 หากอัตราการติดเชื้อสามารถควบคุมได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่าร้อยละ 90 ถูกระงับทั้งการขายและการเช่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/real-estate-market-standstill.html

EU-ABC เคาะ เศรษฐกิจอาเซียน ยังมาแรง

สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป เผยผลสำรวจ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป EU-ASEAN (EU-ABC) คณะทำงานหลักเพื่อภาคธุรกิจของยุโรปในภูมิภาคอาเซียน เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจครั้งที่ 6 โดยมีประเด็นสำคัญจากการสำรวจ ดังนี้

  • 56% ของธุรกิจในสหภาพยุโรปมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานในอาเซียนลดลงเล็กน้อยจาก 61% ในปี 2562
  • 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย มีแผนที่จะขยายการดำเนินงาน
  • ธุรกิจในยุโรปยังคงให้ความสำคัญกับการที่สหภาพยุโรปเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ของสหภาพยุโรป – อาเซียน ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่สอง ในฐานะทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ FTA ซึ่งผลสำรวจในปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน
  • 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย พอใจกับมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล
  • 53% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ดีที่สุดสำหรับโอกาสทางธุรกิจ (ปี 2562 ได้ 63%)
  • 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลัง พิจารณาปรับโครงสร้างซัพพลายเชน หลังเกิดเหตุการณ์ โควิด-19 โดยมีอาเซียน ยุโรป และจีนเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ
  • 73% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า จะขยายระดับการค้าและการลงทุนในอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2562 ได้ 84%)
  • มีเพียง 2% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่รู้สึกว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว (ปี 2562 ได้ 6%)
  • มีเพียง 4% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่พบว่ากระบวนการศุลกากรของอาเซียนมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (ปี 2562 ได้ 8%)
  • 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้งานซัพพลายเชนรายงานว่าต้องเผชิญอุปสรรคมากมายในการใช้งานซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพในอาเซียน (ปี 2562 ได้ 78%)
  • 98% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องการให้อียูเร่งการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับอาเซียนและสมาชิก (ปี 2562 ได้ 96%)

การสำรวจในปีนี้เป็นสิ่งยืนยันว่าอาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่ถูกมองว่ามีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด แต่ทว่าก็เป็นไปดังคาดหมายว่าวิกฤติโควิด-19 ทำให้การค้าและการลงทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่งสัญญาณอ่อนตัวลง หนึ่งในคำถามของแบบสำรวจ ถามว่า ภูมิภาคใดจะเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจต่อการลงทุนในซัพพลายเชนมากขึ้นหลังโควิด-19 ซึ่งภูมิภาคอาเซียนได้รับคะแนนสูงสุด ส่วนยุโรปและจีนก็ได้รับคะแนนโหวตจำนวนมากเช่นกัน ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่ง คาดหวังว่าซัพพลายเชนควรได้รับการจัดโครงสร้างใหม่หลังโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และส่งผลต่อความคืบหน้าของการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางการค้า เพื่อสร้างการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอาเซียน ผลการสำรวจค่อนข้างชัดเจนว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนดูเหมือนจะหยุดชะงัก อาเซียนและกลุ่มประเทศต่างๆ จำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) ขณะนี้ ธุรกิจในยุโรปต่างกำลังปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจตามสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องที่ โดยไม่รอหรือหวังผลความคืบหน้าในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ธุรกิจในยุโรปมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความไม่คืบหน้าในการเจรจาการค้าเสรี (FTA) เพิ่มเติมกับภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดคุยกันมานานเกี่ยวกับการค้าเสรีระดับภูมิภาคต่อภูมิภาค ซึ่ง 8 ใน 10 เห็นว่าอาจให้ประโยชน์มากกว่าการค้าเสรีแบบทวิภาคีหลายชุด ธุรกิจในยุโรปต้องการให้คณะกรรมาธิการยุโรปเร่งการเจรจาและการมีส่วนร่วมกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างชัดเจน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/452392?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=industry

กัมพูชามองหาการลงทุนจากไทยเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาขอให้ไทยช่วยผลักดันการลงทุนของไทยในกัมพูชามากขึ้น โดยปีนี้ครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย ซึ่งมีการค้าทวิภาคีที่แข็งแกร่งแม้จะอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 โดยกัมพูชาได้เสนอไทยให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งการค้าข้ามพรมแดน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งรัฐมนตรีจากทั้งสองแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพอันยาวนาน ซึ่งหลังจากการพูดคุยระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศทางกัมพูชายังขอให้ไทยอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่ถือบัตรผ่านแดนและแรงงานภายใต้ MoU กลับเข้าทำงานภายในไทยได้ตามปกติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769628/cambodia-seeks-more-thai-investments/

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html

COVID-19 ดันราคาข้าวในย่างกุ้งพุ่งสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนมีนาคมจากการระบาด COVID-19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาปริมาณข้าวที่มีไว้สำหรับการค้าลดลงอย่างมาก ทำให้การเดินทางระหว่างรัฐและการเคลื่อนย้ายสินค้าหยุดชะงัก ดังนั้นปริมาณข้าวที่ส่งไปยังศูนย์ค้าส่งบุเรงนองในย่างกุ้งจึงลดลง โดยปกติจะมีรถบรรทุกข้าวประมาณ 200 คันเข้าและออกจากศูนย์ค้าส่งบุเรงนองต่อวันลดลงเหลือ 20 ต่อวัน ด้วยเหตุนี้ราคาข้าวหอม Paw San, Shwebo, Myaung Mya และ Phya Pone เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 จัตต่อถุงในขณะที่ราคาข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 จัตต่อถุง รัฐบาลได้ซื้อข้าวจำนวน 50,000 ตันหรือ 10% ของข้าวสำรองไว้สำหรับการส่งออกและจะขายให้ประชาชนได้ในราคาคงที่ ข้าวพันธุ์อื่น ๆ เช่น Shwe Bo Paw San และ Ayeyarwady Paw San จะวางจำหน่ายในราคาตลาด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rice-prices-rise-yangon-covid-19-restrictions-squeeze-supply.html

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เล็กเห็นศักยภาพในตลาดกัมพูชา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ในนาม Krungsri มุ่งเน้นไปที่ตลาดในภูมิภาคสำหรับแผนธุรกิจระยะกลางเนื่องจากมองหาการเติบโตแบบ S-curve ในระยะถัดไป ซึ่งในอาเซียนกรุงศรีมีสำนักงานในกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ภายใต้รูปแบบและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมบนพื้นที่ โดยได้จัดทำแผนธุรกิจระยะต่อไปสำหรับปี 2021-23 ที่เน้นไปที่ความคล่องตัวและความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับช่วงหลัง COVID-19 ซึ่งธนาคารได้ขยายสู่ตลาดอาเซียนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของญี่ปุ่นคือ Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบันธนาคารยังคงรักษาแผนธุรกิจที่มีอยู่และปรับกลยุทธ์บางอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตที่สูงของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769441/bank-of-ayodhya-krungsiri-sees-potential-in-regional-markets-especially-cambodia/

สนามบินนานาชาติย่างกุ้งระงับเที่ยวบินในประเทศถึงวันที่ 31 ตุลาคม 63

Reserved: เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจะขยายการระงับเที่ยวบินภายในประเทศไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากมียอดจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มขึ้น โดยสายการบินแห่งชาติเมียนมา (MNA) ระงับเที่ยวบินเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11-30 กันยายน 63 และจะระงับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมดจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมเนื่องจากเมืองทั้งหมดในเขตย่างกุ้งอยู่ภายใต้คำสั่งให้หยุดเชื้อโดยการอยู่ในที่พักอาศัย (Stay at Home) สายการบิน Mann Yadanarpon จะยังคงระงับเที่ยวบินภายในประเทศจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม สายการบิน Golden Myanmar Airlines ถึงวันที่ 31 ตุลาคม สายการบิน Air KBZ ถึงวันที่ 31 ตุลาคมหรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมและ สายการบิน Air Thanlwin ถึงวันที่ 16 ตุลาคม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-intl-airport-extends-domestic-flight-suspension-until-october-31

เวียดนามคาดช้อปออนไลน์ทะลุกว่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

จากรายงานที่จัดทำโดย Facebook, Bain & Company เผยผลการศึกษา ‘Digital Consumers of Tomorrow, Here Today’ ชี้ว่าการใช้จ่ายออนไลน์ของคนเวียดนามจะเพิ่มขึ้น 3.7 เท่าในปีนี้ ด้วยมูลค่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 โดยทำการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 17,000 รายใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เป็นการสำรวจในเรื่องการซื้อของออนไลน์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2561-2563 จำนวนผู้บริโภคยุคดิจิทัลในภูมิภาค เพิ่มขึ้นราว 60 ล้านคน เป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 12 ต่อปี และอีกร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรใน 6 ภูมิภาคดังกล่าว หรือประมาณ 443 ล้านคนที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้บริโภคยุคดิจิทัลในเวียดนาม 49 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-online-spending-forecast-at-us25-billion-by-2025-314409.html

รัฐบาลการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID -19 เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การประชุมคณะรัฐมนตรีในวาระเรื่อง “การผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID -19 เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ”โดยรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะอนุญาตให้ประเทศที่สามารถควบคุมการระบาด COVID -19ได้แล้วและมียอดผู้ติดเชื้อน้อยสามารถมาเยือนสปป.ลาวได้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID -19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด อย่างไรก็ตามภายใต้นโยบายดังกล่าวจะต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเพื่อลดโอกาสการระบาดรอบ 2 ที่อาจกลับมาได้จากการเปิดประเทศครั้งนี้ นอกจากนี้ด้านการค้าจากการปิดด่านชายแดนในบางจุดที่ผ่านมารัฐบาลยังอนุญาตให้ขนส่งสินค้าได้ตามปกติแต่ยังคงไม่อนญาตให้มีการเดินทางเข้า-ออกได้ซึ่งการจะเข้ามาท่องเที่ยวนั้นจะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน รัฐบาลสปป.ลาวหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทสได้ แต่ก็มากับความท้าทายที่รัฐบาลต้องมีแผนรับมือที่ดีต่อโอกาสที่การระบาดจะกลับมาอีกรอบ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt192.php

รัฐบาลกัมพูชาขยายมาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานต่อไปอีก 3 เดือน

รัฐบาลได้ขยายมาตรการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ การท่องเที่ยวและการบินจนถึงสิ้นปี 2020 โดยถือเป็นการออกมาตรการเป็นรอบที่ 6 ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงิน 40 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับคนงานที่ถูกปลดออกจากงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า กระเป๋าเดินทาง และการท่องเที่ยวไปอีกสามเดือนจนถึงสิ้นปี 2020 อย่างไรก็ตามเจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจะต้องเพิ่มเงินอีก 30 ดอลลาร์ต่อเดือนเพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคแรงงาน และรัฐบาลยังคงยกเว้นการจ่ายภาษีรายเดือนในทุกประเภทสำหรับโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหารและตัวแทนการท่องเที่ยวที่จดทะเบียนกับแผนกจัดเก็บภาษีและดำเนินธุรกิจในกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าแม้ว่าความพยายามในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมมากเพียงใด เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก โควิด-19 ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามอย่างมากในการควบคุมการแพร่ระบาดและช่วยเหลือในหลายด้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50768727/govt-extends-support-measures-for-3-months/