บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด คว้ารางวัล ASEAN Business Awards (ABA) 2019 (อาเซียน บิสิเนส อวอร์ดส 2019) อีกก้าวของความสำเร็จ

บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าลำลองแบรนด์แกมโบล (GAMBOL) และ คาเนีย (cania) แบรนด์รองเท้าชั้นนำของไทย เข้ารับรางวัล ASEAN Business Awards (ABA) 2019 ประเภท ASEAN Winner : Rubber-Based (หมวด ธุรกิจเกี่ยวกับยาง) ในงานประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ASEAN Business and Investment Summit 2019 หรือ ABIS 2019 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มอบรางวัล ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นเวทีคู่ขนานสำคัญของการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน(ASEAN Summit) ที่จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี เกณฑ์การตัดสินรางวัลแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ และ SMEs สำหรับคณะกรรมการตัดสิน ABA (Panel of Judges) นั้น ประกอบด้วยผู้แทนจากสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประเทศละ 1 ท่าน รางวัลนี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2550 โดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เพื่อยกย่องเชิดชูธุรกิจที่มีความโดดเด่นในอาเซียน และแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างชัดเจนในการวางรากฐานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/3065610

ดุสิตโพล เผยปชช. 60.67 % มองถกอาเซียนได้ประโยชน์เรื่องเศรษฐกิจ

วันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การประชุมอาเซียนครั้งที่ 35” ในสายตาประชาชน” จากประชาชนทั่วประเทศ 1,159 คน พบว่าประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการประชุมครั้งนี้ คือร้อยละ 60.67 การลงนามความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, ประชาชนประทับใจ/พอใจ การประชุมครั้งนี้มากที่สุด, ร้อยละ 46.98 จัดงานสำเร็จด้วยดีเป็นเจ้าภาพที่ดี ไม่มีสถานการณ์วุ่นวาย, ร้อยละ 31.99 มีการลงนามร่วมมือกันผลักดันเรื่องสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง, ร้อยละ 28.64 ผู้แทนแต่ละประเทศมาร่วมงาน ช่วยสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งที่ประชาชน “เป็นห่วง/กังวล” จากการประชุมครั้งนี้, ร้อยละ 49.12 ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุม, ร้อยละ 29.24 ประเทศไทยอาจเสียเปรียบในบางข้อตกลง ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร, ประชาชนได้ประโยชน์จาการประชุมครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 44.35 ได้ประโยชน์อยู่มาก เพราะประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ร้อยละ 25.80 ได้ประโยชน์มาก เพราะเป็นการกระชับสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น, ร้อยละ 19.41 ไม่ค่อยได้ประโยชน์ และร้อยละ 10.44 ไม่ได้ประโยชน์ จัดการประชุมมาแล้วหลายครั้งแต่ยังเห็นผลช้า และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

ที่มา: https://www.matichon.co.th/politics/news_1747282

ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนด้านพลังงาน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards ประจำปี 2562 เปิดเผยว่า ในวันนี้ (18 ต.ค.) เป็นโอกาสการฉลองความสำเร็จครบรอบ 2 ทศวรรษ กับการผลักดันการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานของไทย โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมและเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านการประกวดไทยแลนด์เอนเนอร์ยี่อวอร์ด (Thailand Energy Awards) อย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปี โดยปัจจุบันมียอดส่งผลงานเข้าประกวด รวม 3,465 ผลงาน ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลในสาขาต่างๆ จำนวน 951 รางวัล คิดเป็นสัดส่วนลดการใช้พลังงานมูลค่ากว่า 9,300 ล้านบาท สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 1.9 ล้านตัน

ที่มา:https://www.ryt9.com/s/tpd/3056555

ประชุมสุดยอดผู้นำสตรีด้านธุรกิจครั้งแรกในอาเซียน

  กำลังเตรียมจัดงานใหญ่คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุลประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียน สากล (AWEN) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีด้านธุรกิจ Women CEOs Summit ครั้งแรกในอาเซียน ในหัวข้อ Globalization 4.0 and Beyond : Shaping the Future of Women Enterprises (การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีนักบริหาร : กำหนดทิศทาง ธุรกิจสตรี ก้าวล้ำ…สหัสวรรษ 4.0) ที่มีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 30-31 ตุลาคม 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้นำสตรีด้านธุรกิจ (CEO) ของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศนอกกลุ่มอาเซียนด้วย รวมทั้ง หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และผู้นำด้านสังคมที่เกี่ยวข้องประมาณ 300 คน ซึ่งเป็นรายการสุดท้ายของสตรีในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมเชิญทูตานุทูตของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อเป็นการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและนอกกลุ่มประเทศอาเซียน

         ที่มา: https://www.ryt9.com/s/nnd/3055453

ภาครัฐผนึกกำลังเอกชนดันไทยขึ้นแท่นฮับการเดินเรืออาเซียน

พิธีเปิดงาน Thailand Marine & Offshore Expo 2019 เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญประเทศ โดยปัจจุบัน 90% ของปริมาณการค้า ระหว่างประเทศ อาศัยการขนส่งทางน้ำ เนื่องจากสามารถบรรทุกได้ในปริมาณมาก และมีต้นทุนการขนส่งที่ราคาถูกกว่าการขนส่งด้านอื่นๆ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบันอุตสาหกรรม ต่อเรือและซ่อมเรือ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกมาก โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำ เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบในการผลิตและการซ่อมเรือ อาทิ สี/เคมีภัณฑ์ การหล่อโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือสื่อสาร อุตสาหกรรมกลางน้ำ อาทิ สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ การขนส่งทางทะเล การประมง การท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการเดินเรือในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอีกช่องทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ของประเทศไทย ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ พร้อมเป็นเวทีสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ ให้กับ ผู้ประกอบการในประชาคมอาเซียน ภูมิภาคเอเชีย และระดับโลก โดยการจัดงาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2019 Thailand งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี พร้อมกับงาน Thailand Marine & Offshore Expo (TMOX) 2019 โดยมีผู้ประกอบการจากไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน เป็นโอกาสในการขยายตลาดและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการต่อเรือ การเดินเรือ ภาคการขนส่ง อุตสาหกรรมการประมงนอกชายฝั่ง อุตสาหกรรมเรือท่องเที่ยว รวมไปถึงอุตสาหกรรมด้านพลังงานน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่ออนาคต (New S-Curve)

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/nnd/3054120

เวียดนาม อินโดนิเซีย เป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคอาเซียน

จากรายงานวิจัยของบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Google, Temsek และ new partner Bain & Company เปิดเผยว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 39 ในปี 2562 และจะมีมูลค่ากว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศอินโดนิเซียและเวียดนามมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40 ในขณะที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 20-30 ในขณะที่ เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายในปี 2568 อยู่ที่ 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยวออนไลน์ และธุรกิจ Ride-Hailing เป็นต้น รวมไปถึงเวียดนามมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 61 ล้านคน และใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชม. 12 นาที ต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน นอกจากนี้ เวียดนามก้าวขึ้นมาอันดับ 3 ของจุดหมายในการลงทุนดิจิทัลภูมิภาคนี้ ด้วยมูลค่าเงินทุนกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561 และช่วงครึ่งเดือนแรกปี 2562 โดยเมืองฮานอยและโฮจิมินห์ เป็น 1 ใน 7 เมืองเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536446/viet-nam-indonesia-lead-asean-in-internet-economy-growth.html#t0jGYwAhAxtOfG7o.97

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาเพิ่มสูงสุดในอาเซียน

ความต้องการข้าวโพดของเมียนมาได้เพิ่มขึ้นในงอาเซียนในปีนี้ทำให้การส่งออกไปจีนลดลงหลังจากรัฐบาลหยุดการส่งออกข้าวโพดเป็นเวลาเก้าเดือนซึ่งเป็นความพยายามในการควบคุมการค้าผิดกฎหมายที่ชายแดนระหว่างสองประเทศ ไทยนำเข้า 400,000 ตันเทียบกับ 100,000 ตันในปีที่แล้ว การขนส่งไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 – 40,000 ตันในปีนี้จาก 10,000 ตันในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการถูกห้ามนำเข้าของจีนทำให้พื้นที่เพาะปลูกปีนี้ลดลงเหลือ 323,000 เฮกตาร์จาก 404,000 เฮกเตอร์ รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการเพาะปลูกและช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งความต้องการจากไทยช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปประเทศอื่น ๆ มีการปรับตัวลดลง แต่ก็ไม่ได้สูญเสียตลาดจีนไปซะทีเดียว เพราะจีนเคยซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพม่าถึง 80% ปีที่แล้วส่งออกข้าวโพดจำนวน 1.67 ล้านตันไปยังจีน หากรวมการส่งออกที่ผิดกฎหมายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน ทุกปีเมียนมาผลิตข้าวโพดได้ประมาณ 3.2 ล้านตันจากพื้นที่ 607,000 เฮกเตอร์ โดยเฉพาะในรัฐฉานและเขตสะกาย และเขตมะกเว โดยรัฐฉานมีพื้นที่เพาะปลูกคิดเป็น 46% ของการเพาะปลูกข้าวโพดทั้งประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/asean-demand-myanmar-maize-rises.html

ทยควง 4 ชาติร่วม’China-Asean Forum’ หวังผนึกกำลังร่วมกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว

ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ณ มณฑล กวางสี  เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 14 “The 14 th  China-Asean Cultural Forum” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับ การสื่อสารเชิงลึกและการคิดเชิงปะทะสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยวระหว่างจีน – อาเซียน โดยมีตัวแทนภาครัฐบาล ทั้งจีน อีก 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และภาคเอกชน ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ด้านรองผู้ว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะของกัมพูชาเชื่อว่า “One Belt One Road” ไม่เพียง แต่จะส่งเสริม การบูรณาการและการพัฒนาของจีนและอาเซียน แต่ยังส่งเสริมวัฒนธรรมเอเชียไปทั่วโลก “One Belt One Road” ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศในเอเชีย

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/nnd/3045081

พาณิชย์เร่งอัพเกรดเอฟทีเอ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมกำลังอยู่ระหว่างการ เตรียมความพร้อมสำหรับการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา หลังจากที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีมติให้อาเซียนไปเจรจากับคู่เจรจาเพิ่มเติม หลังจากที่เอฟทีเอจับคู่เจรจาหลายกรอบ ทั้งอาเซียน-จีน, อาเซียน-อินเดีย, อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ได้มีผลบังคับใช้มานานแล้ว และยังไม่มีการปรับปรุงความตกลง ยกเว้นอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่ได้มีการอัพเกรดเอฟทีเอไปแล้ว ขณะนี้กำลังรอการบังคับใช้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/tpd/3041888

ปตท. ชงโมเดลธุรกิจLNGเสนอกกพ. หนุนไทยก้าวสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียน

ปตท.จัดทำรูปแบบธุรกิจแอลเอ็นจีต่อกกพ.เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ มั่นใจไทยมีความพร้อมทั้งความต้องการใช้ โครงสร้างพื้นฐานสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีและด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง ขณะที่  นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเปิดงาน Gas Day 2019 Energy fuel for today and tomorrow ว่า ปตท.อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้ (แอลเอ็นจี ฮับ) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยรูปแบบธุรกิจดังกล่าว ปตท.มีศักยภาพในการส่งออกแอลเอ็นจีไปตลาดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานรองรับสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจี (แอลเอ็นจี เทอร์มินอล) ทำได้อยู่แล้ว โดยปีนี้จะรีโหลดแอลเอ็นจีใส่เรือ เพื่อ ขนไปจำหน่ายให้กับลูกค้า เบื้องต้นได้มีการเจรจากับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมบางราย และในอนาคตจะต่อยอดไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทฯ มองว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีความต้องการใช้แอลเอ็นจีมาก และด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง CLMV ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นฮับแอลเอ็นจี ในอาเซียน โดยกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจก๊าซครบวงจรเพื่อมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไฟฟ้า โดยการขนส่งก๊าซฯไม่จำเป็นต้องผ่านทางท่อเท่านั้นแต่ขนส่งผ่านรถ และเรือได้

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา