ผู้ค้าหน้ากากอนามัยขอให้แก้ไขการขนส่งเพื่อคุมราคาไม่ให้สูงจนเกินไป

กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการขายอาหารหลัก ยา และเวชภัณฑ์ในราคาที่สูงเกินจริง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 63 ออกเตือนให้ผู้ค้าไม่ให้ขึ้นราคาโดยไม่จำเป็นในช่วง COVID-19 ในเดือนมีนาคม 63 ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ห้ามขึ้นราคาสินค้าพื้นฐาน ยา และเวชภัณฑ์ ทั้งนี้กรมกิจการผู้บริโภคยังเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ ไม่เพิ่มราคาหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีนและให้จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม ความต้องการพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่การพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 63 แต่ผู้ค้ากล่าวว่าควรผ่อนปรนข้อจำกัดบางประการในการขนส่งที่ชายแดนเมียนมา – จีนเพื่อให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ผลิตจากจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากชายแดน ปัจจุบันราคามีความผันผวนเนื่องจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากข้อจำกัดและความล่าช้าที่ชายแดน เช่น จากชายแดนมูเซเพื่อเข้ามาย่างกุ้งและมัณฑะเลย์มีความลำบากและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันสหพันธ์ข้าวเมียนมาได้เรียกร้องให้ธุรกิจปฏิบัติตามคำเตือนของกระทรวงที่ไม่ขึ้นราคาข้าวเนื่องจากเป็นสินค้าอาหารพื้นฐานในประเทศ ด้านสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคแห่งเมียนมายังได้เรียกร้องให้ตัวแทนจำหน่ายขายในราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากข้อจำกัดด้านโลจิสติกส์และการขนส่งซึ่งกรมกิจการผู้บริโภคจะทำตรวจสอบสินค้าที่ขายเกินราคาบ่อยขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/traders-face-masks-ask-smoother-logistics-flow-avoid-price-hikes.html

น้ำตาลเมียนมาล้นตลาดทำราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี

สมาคมผู้ประกอบการน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาเผยปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำในรอบ 10 ปี เนื่องจากขณะนี้น้ำตาลสำหรับการส่งออกยังคงค้างอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก ตามการคาดการณ์อาจมีสินค้าคงเหลือในประเทศ 150,000 ถึง 200,000 ตันและราคาอยู่ระหว่าง 840-860 จัตต่อ viss ซึ่งต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ การบริโภคลดลงอย่างมากเพราะไม่มีงานเทศกาลหรืองานอีเว้นท์ในช่วง COVID-19 เนื่องจากผู้คนจับจ่ายน้อยลงจึงส่งผลกระทบต่อตลาดขนมและเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำตาลซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้เมียนมากำลังพยายามจะทำทุกทางเพื่อการส่งออกไปยังจีน แม้พื้นที่เพาะปลูกอ้อยจะลดลงแต่ผู้ค้าคาดว่าราคาจะยังคงลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นผลมาจากปริมาณที่มากเกินไปและการบริโภคที่ลดลง ขณะนี้มีไร่อ้อยในเมียนมาไม่ถึง 50,000 เอเคอร์และลดลงจากหน้านี้ที่มีประมาณ 460,000 เอเคอร์ ซึ่งถูกทดแทนโดยถั่วชนิดต่าง ๆ  เนื่องจากสินค้าคงเหลือมีจำนวนมากเกษตรกรจึงขอจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ ทั้งนี้ความต้องการและพื้นที่ปลูกอ้อยที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต่อไปตามห่วงโซ่คุณค่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sugar-glut-myanmar-leads-prices-10-year-low.html

เมียนมาหนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และดนตรีท่ามกลางวิกฤติ COVID-19

กระทรวงวางแผนและการเงินประจำย่างกุ้งเผยรัฐบาลเมียนมาจัดสรรเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพลง การแสดงและการสื่อมวลชนหลังจากวิกฤติ COVID-19 ในระหว่างการประชุมวันที่ 9 กันยายน 63 ที่ประชุมโดยคณะทำงานเพื่อแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเงินกู้ครั้งที่ 3 เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ได้ผลกระทบ แผนในครั้งแรกและครั้งที่สองมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิตการท่องเที่ยวและเกษตรกรรมเป็นหลัก และกำลังพิจารณาจัดหาเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านจัตโดยร่วมมือกับธนาคารในการจัดหาเงินกู้ยืม จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.9 ล้านล้านจัตเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการแจกเงินสดให้ครัวเรือนผู้สูงอายุและค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) เกษตรกรผู้เกษตรกร ชาวประมง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ตลอดจนนักเดินเรือ ทั้งนี้รัฐบาลยังอุดหนุนค่าไฟฟ้ามากกว่า 10,000 ล้านจัตตั้งแต่เดือนเมษายน 63  ในขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาได้จัดสรรงบ 268 พันล้านจัต เพื่อจัดซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปรับปรุงโรงพยาบาล

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-support-film-music-industry-amid-covid-19.html

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยกว่า 900 ล้านชิ้น ในช่วง 8 เดือน

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ผู้ประกอบการเวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ทั้งหมด 846 ล้านชิ้น ขณะที่ ในเดือนสิงหาคม บริษัทกว่า 70 แห่งในเวียดนาม ส่งออกหน้ากากอนามัยไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ และอื่นๆ ด้วยจำนวนมากกว่า 135 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก อนุมัติการส่งออกหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้เกี่ยวกับการแพทย์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกหน้ากากอนามัยลดลงในเดือนกรกฎาคม หลังจากหลายๆประเทศ ผ่อนคลายมาตรการจำกัดต่างๆ นอกจากนี้ ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตหน้ากากอนามัยถือเป็นทางออกที่เหมาะสมแก่บริษัทเสื้อผ้าในเวียดนาม เพื่อดำเนินธุรกิจได้ต่อไปและชดเชยจากการขาดทุน เหตุความต้องการเสื้อผ้าน้อยลง

 ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-exports-nearly-900-million-medical-face-masks-in-8-months-314190.html

เมียนมาเตรียมแผนรองรับ COVID-19 สำหรับภาคเกษตร

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน (MOALI) ของเมียนมาจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านอาหารเพื่อรองรับภาคการเกษตรและปศุสัตว์จากปัญหา COVID-19  ภายหลังจากการประชุมตามแผนรับมือเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของ COVID-19 ที่มีต่อประชากรในชนบทรวมทั้งเกษตรกร นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของเมียนมา ภายใต้แผน MOALI จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตพืชผลและปศุสัตว์ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้ CERP รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วร้อยละ 75 ของเงินจำนวน 9 หมื่นล้านจัต เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 63

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-draws-plan-cushion-agri-sector-covid-19.html

‘บั๊กนิญ’ มีรายได้จากการส่งออกกว่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ว่ามูลค่าการส่งออกของจังหวัดบั๊กนิญ (Bac Ninh) มากกว่า 20.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในช่วงเดือน ม.ค.-ส.ค. ปี 2563 ในขณะที่ ยอดการพัฒนาและเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สำนักงานรัฐบาลเพิ่งประกาศข้อสรุปจากรองนายกรัฐมนตรีจากการประชุมผู้นำในจังหวัด โดยเป้าหมายเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการผลิตและธุรกิจที่นำเข้า-ส่งออก อำนวยความสะดวกให้กับคนในท้องถิ่นและการเข้าถึงเงินทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงเครดิต การเงิน ภาษี การดำเนินธุรกิจและการชำระเงินออนไลน์ เป็นต้น การเบิกจ่ายการลงทุนของภาครัฐฯ สูงถึงร้อยละ 68 ลงไปยังจ.บั๊กนิญ ถือว่ามีอัตราการเบิกจ่ายสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดดังกล่าวยังมีข้อบกพร้องอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม, สภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ โดยเฉพาะทางน้ำที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง, การขาดแคลนแรงงานทักษะขั้นสูง การท่องเที่ยวและงานบริการที่ยังคงชะลอตัว

ที่มา : https://vnexplorer.net/bac-ninh-earns-over-usd20-billion-from-exports-a202091702.html

การค้ากัมพูชา-ญี่ปุ่น ดิ่งลง 6%

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น อยู่ที่ 1.175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน หากจำแนกชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ประมาณ 914.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่น 260.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.06 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ คุณ Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวกับสำนักข่าว ‘The Post’ ว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การค้าโลกลดลงที่ละน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2-3

 ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/kingdom-japan-trade-plummets-almost-6-168981/

อัตราการเติบโตทางการเกษตรสปป.ลาว ต่ำกว่าเป้าหมาย

ตามรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ ในปีนี้ภาคการเกษตรสปป.ลาว คาดว่าจะเติบโตในอัตราเพียง 0.9-1.7 % ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.8-3 % การขาดแคลนเกิดจากปัจจัยต่างๆรวมทั้งการระบาดของโรคโควิด -19 การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง ตามรายงานของธนาคารโลก ภาคการเกษตรฟื้นตัวขึ้น แต่ในระดับปานกลางทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการหยุดชะงักของตลาดส่งออกและความเสี่ยงของสภาพอากาศ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเพิ่มการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกมากขึ้น แต่ปริมาณผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ สินค้าเกษตรบางส่วนยังคงถูกนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ มีความท้าทายหลายประการที่ขัดขวางการพัฒนาการเกษตร ที่ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่การผลิตทางการเกษตรได้ สิ่งที่ทำได้คือใช้เทคนิคที่เหมาะสมและปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัยเพื่อปรับปรุงปริมาณและคุณภาพของพืชที่ผลิตเพื่อการส่งออก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามช่วยเหลือผู้ผลิตในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน แต่ผู้ปลูกยังคงต้องเจอกับต้นทุนที่สูงเนื่องจากต้องซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์และปุ๋ยจากประเทศอื่น ๆ ซึ่ง 64% ของประชากรสปป.ลาวทำงานในภาคเกษตร แต่ภาคนี้เติบโตขึ้นเพียง 3%  แม้ว่าการเข้าถึงแหล่งเงินจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ผู้ผลิตก็ต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมาก การเกษตรเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงเนื่องจากผู้ผลิตไม่เพียง แต่ต้องต่อสู้กับศัตรูพืชและโรคภัย รวมถึงน้ำท่วมและภัยแล้ง การชลประทานที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งยังคงพึ่งพาการเกษตรแบบยังชีพตามวิธีการดั้งเดิม แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและมีคุณภาพต่ำ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_175.php

ภาคก่อสร้างเมียนมาหวั่นผลกระทบจากการ Work from Home

บริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ผลมาการระบาดของ COVID-19  โครงการ WFH ถูกนำมาใช้ร้อยละ 50 สำหรับพนักงานถูกนำมาใช้ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 63 ในช่วงการระบาดครั้งแรกของ COVID-19 แต่ถูกยกเลิกไปในเดือนมิถุนายนเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ขณะนี้อาจถูกนำกลับมาใช้เมื่อมีการระบาดอีกครั้ง แม้ว่าการ WFH สามารถนำมาใช้ในภาคธุรกิจที่ไม่ให้พนักงานมาทำงานที่สำนักงานได้ แต่เป็นการยากสำหรับภาคการก่อสร้างที่จะลดจำนวนคนงานในสถานที่ทำงาน  ขณะเดียวกันกำลังปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินงานถูกระงับ ซึ่งภาคการก่อสร้างเป็นแหล่งที่ให้โอกาสในการทำงานมากที่สุดในตอนนี้  ปัจจุบันการก่อสร้างเเริ่มฟื้นตัวหลังจากหยุดชะงักระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 63 ซึ่งในช่วงดังกล่าวเอกชนรายย่อยบางรายเลิกกิจการเนื่องจากปัญหาการหมุนเวียนของกระแสเงินสด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/construction-sector-myanmar-worried-over-work-home-order.html

การส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในแขวงจำปาสัก

รองเจ้าแขวงจำปาศักดิ์กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าโควิด -19 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตามมาตรการ cross-border travels  ได้ช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าเกษตรในจำปาสักทางอ้อม ซึ่งแขวงจำปาสักมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมากและเกษตรกรมีประเพณีการผลิตข้าว กาแฟ ชา ผลไม้ผักและพืชอื่น ๆ มายาวนาน ความท้าทายด้านการตลาดทำให้ผู้ผลิตในพื้นที่บางครั้งต้องขายพืชผลในราคาที่ต่ำกว่าและขาดทุนซึ่งทำให้ไม่สามารถขยายผลผลิตทางการค้าต่อไปได้  ในขณะนี้ชาวไร่กาแฟ บางรายกำลังตัดโค่นสวนกาแฟและหาทางทำมันสำปะหลังเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มากขึ้น ทั้งนี้ทางการจำปาสักจะส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ขยายตลาดการเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร การผลิตทางการเกษตรยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น ขนาดของตลาดที่เล็ก การผลิตขนาดเล็กปริมาณและคุณภาพที่จำกัด การแข่งขันจากสินค้านำเข้า เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ จะเพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อช่วยสร้างรายได้ การบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อีกทั้งจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อขยายขนาดของตลาดในท้องถิ่น สร้างตลาดการเกษตรเพื่อส่งเสริมการค้าทางการเกษตร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak_174.php