‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ผู้ส่งออกเวียดนามควรเดินหน้าขยายไปยังกลุ่มประเทศยูเรเซีย

จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าจากวิกฤตความผันผวนของเศรษฐกิจและการเมืองโลก ยอดการค้าเวียดนามและยูเรเซีย มีมูลค่าสูงถึง 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ลดลง 9.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าลดลง 6.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม นาย Ta Hoang Linh ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดยุโรป-อเมริกา ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าตลาดยูเรเซียยังคงมีศักยภาพอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์ของเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามส่งออกไปยังตลาดนี้ มีสัดส่วนเพียง 0.4% ของมูลค่าการนำเข้ารวม

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการจัดตั้งหน่วยงานและจัดทำกรอบความร่วมมือทางการค้าต่างๆ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU), ตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) รวมถึงคณะกรรมการร่วม จำนวน 14 คณะ และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eurasia-a-promising-market-for-vietnamese-exporters-experts/272378.vnp

‘เวียดนาม’ เผยยอดส่งออกข้าวทำสถิติสูงสุดในรอบ 34 ปี

การส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปริมาณส่งออกราว 7.8 ล้านตัน ทำสถิติมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ปี 2534 ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวในปีนี้จะสูงถึง 8 ล้านตัน ทำรายได้ราว 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ นายเหวียง เวินโด่น ผู้อำนวยการบริษัท เวียดฮุง กล่าวว่าความต้องการบริโภคข้าวในตลาดโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและราคาส่งออกข้าวที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีราคาข้าวเวียดนามไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตขาดแคลน รวมไปถึงผู้ส่งออกข้าวเวียดนามกำลังรอฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่ นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่าในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาข้าวไทยเพิ่มขึ้น 5% อยู่ที่ 632 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งสูงกว่าช่วงกลางเดือนที่แล้วประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-rice-exports-hit-record-high-since-1989/272379.vnp

‘ปราโมทย์’ เผยข้าวไทยขายดี รับอานิสงค์เวียดนาม

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่าข้าวไทยหลายพันธ์มีราคาสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ราคาข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000–9,500 บาทต่อตัน แต่ราคาข้าวในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน (344 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศพุ่งสูงสุดในรอบ 17 ปี

ในขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่าความต้องการข้าวไทยจากบราซิลและฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ จากการสอบถามไปยังโรงสีข้าวไทย พบว่าจากราคาข้าวของเวียดนามในขณะนี้ที่สูงกว่าราคาข้าวของไทย ประมาณ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอ

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20231205/thai-rice-sells-well-thanks-to-vietnam-association-president/77099.html

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ เปิดให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code

นางเหงียน ทิ ห่ง (Nguyen Thi Hong) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศเวียดนาม และนางเจีย สะเร็ย (Chea Serey) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศกัมพูชา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. โดยเป้าหมายในครั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการชำระเงิน มีความปลอดภัยและมั่งคง รวมถึงส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนชาวกัมพูชาและเวียดนาม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-cambodia-launch-crossborder-qr-payment-link/272312.vnp

‘เวียดนาม’ เผย 11 เดือนปี 66 ทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติเวียดนาม (VNAT) เปิดเผยว่าในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. เวียดนามมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งสิ้น 628.3 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 25.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามได้วางเป้าหมายนักท่องเที่ยวในขั้นแรกอยู่ที่ 8 ล้านคนในปี 2566 แต่เมื่อประเมินตัวเลขดังกล่าว พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 8.9 ล้านคนแล้ว ซึ่งคิดเป็น 111% ของแผนเป้าหมาย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลให้เพิ่มเป้าหมายในปีนี้ มาอยู่ที่ 12.5-13 ล้านคน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-earns-almost-26-billion-usd-from-tourists-in-11-months-2221885.html

‘S&P Global’ เผยดัชนี PMI ของเวียดนามลดลงสู่ระดับต่ำสุดรอบ 5 เดือน

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ‘S&P Global’ เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม เดือน พ.ค. ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน สู่ระดับ 47.3 จากระดับ 49.6 ในเดือน ต.ค. โดยสาเหตุที่ภาคการผลิตเวียดนามปรับตัวลดลง เนื่องมาจากผู้ผลิตเวียดนามเผชิญกับคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงในเดือน พ.ค. รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลงและสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันธุรกิจเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้ธุรกิจต่างๆ ปรับขึ้นราคาสินค้าเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ด้วยเหตุนี้ ภาคธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องลดขนาดการผลิต การจ้างงาน การจัดซื้อ ตลอดจนจำกัดปริมาณสินค้าคงคลัง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-pmi-drops-to-lowest-level-in-five-months-sp-global-post1062915.vov