อัตราการหางานเพิ่ม20% ในช่วง COVID-19 ระบาดในเมียนมา

ข้อมูลของ My Jobs.com.mm พบว่าอัตราการหางานเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ในช่วงการระบาดของ COVD-19 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าและระบบการจัดหางานของนายจ้างก็เปลี่ยนไป ซึ่งธุรกิจบางแห่งลดเงินเดือนพนักงานและลดกำลังแรงงานตั้งแต่เดือนมีนาคม 63 จากนั้นการหางานผ่านทางออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปลายเดือนพฤษภาคม 63 ในปัจจุบันอุตสาหกรรมกรรมท่องเที่ยวหยุดชะงักทำให้พนักงานถูกลดเงินเดือน เลิกจ้างและมีบางส่วนลาออกไปสมัครงานอื่น ๆ ซึ่งการขาดแคลนแรงงานจะเกิดขึ้นหากภาคการท่องเที่ยวกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/job-hunting-rate-creeps-20pc-during-covid-19-myanmar.html

เมียนมาได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน 45,000 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของเมียนมาร์จากวิกฤติ COVID-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้ขยายการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างการพบปะกับที่ปรึกษาแห่งรัฐนางอองซานซูจีที่เมืองเนปยีดอในวันที่ 24 สิงหาคม 63 ซึ่งจะประกอบด้วยงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉิน 30 พันล้านเยน และความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อีก 1.5 หมื่นล้านเยนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งสองฝ่ายยังหารือถึงแผนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเมียนมาและรักษาช่องทางที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนของญี่ปุ่น จนถึงขณะนี้ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ด้านการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เมียนมา การช่วงเหลือเพิ่มเติมเกิดขึ้นไม่นานหลังได้รับเงินกู้ 80 พันล้านจัตภายใต้โครงการริเริ่มระงับการให้บริการหนี้ (DSSI) ที่รับรองโดยธนาคารโลกและประเทศภายใต้ G20 DSSI ได้รับการรับรองในเดือนเมษายน 63 เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้ระงับการชำระหนี้แก่ประเทศที่ยากจนที่สุดเพื่อช่วยจัดการผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จนถึงขณะนี้เมียนมายังได้รับเงินครึ่งหนึ่งของกองทุนมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ IMF จัดหาให้ในเดือนกรกฎาคม 63 เพื่อสนับสนุนเด้านศรษฐกิจส่วนที่เหลือจะได้รับในปีงบประมาณที่จะถึงนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถระดมทุนจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจก้าวไปข้างหน้า คาดการณ์ว่างบประมาณที่ใช้ไปจะขาดดุลงบประมาณที่ร้อยละ 5.41 ของ GDP ในปีนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-receives-more-overseas-financial-support-combat-covid-19.html

จีนเตรียมจัดจ่ายวัคซีน COVID -19 ให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเมื่อพัฒนาสมบูรณ์

นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (LMC) ครั้งที่สามผ่านลิงก์วิดีโอซึ่งตามรายงานในซินหัว นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า “จีนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ” จีนตั้งใจที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในสปป.ลาว ภายใต้กรอบของกองทุนพิเศษ LMC และจะจัดหาวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการสนับสนุนมาตราฐานทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนวทางการร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาของแม่น้ำโขลงรวมถึงการค้าและการท่องเที่ยว ในส่วนของสปป.ลาวเองยังคงได้รับสนับสนุนในการขยายเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีนที่จะเชื่อมต่อมายังจีนและไทยได้ เป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและจะเป็นเส้นทางที่สำคัญด้านการค้าและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/26/china-to-provide-mekong-countries-with-covid-19-vaccine/

“ส.ว.สถิตย์” แนะตั้งสหภาพศุลกากรในกลุ่ม CLMV สร้างกลไกพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น

“ส.ว.สถิตย์” แนะทางรอดยุคโควิด-19 เสนอตั้งสหภาพศุลกากรในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และ ไทย ทลายอุปสรรคทางการค้าชายแดนระหว่างกัน สร้างกลไกการพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีห่วงโซ่การผลิตครอบคลุมประชากรจำนวนมาก และใช้ทรัพยากรในประเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ สมาชิกวุฒิสภาได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อรายงานเรื่องข้อเสนอทิศทางประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19 ของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม ของวุฒิสภาว่า สงครามการค้า และโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยต้องหันกลับมาเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น พึ่งตนเอง สำหรับประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเศรษฐกิจของไทยมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง ไทยควรจะเร่งประสานเศรษฐกิจรวมกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย (CLMVT: Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam, Thai) เพื่อสร้างกลไกในการพึ่งตนเองในกรอบที่ใหญ่ขึ้น สินค้าไทยเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ ดร.สถิตย์ เสนอว่า เศรษฐกิจของกลุ่ม CLMVT ควรพัฒนาไปสู่การจัดตั้งเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) กล่าวคือ นอกจากเสรีในการนำเข้า-ส่งออกกันแล้ว อัตราภาษีศุลกากร ที่นำเข้ามาในแต่ละประเทศของสหภาพศุลกากรจะเป็นอัตราเดียวกัน

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9630000087276

สปป.ลาวและญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเปิดช่องทางการเดินทางระหว่างประเทศ

ญี่ปุ่นและสปป.ลาวลงนามข้อตกลงที่จะให้ชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวสามารถกลับมาเดินทางระหว่างสองประเทศได้ ซึ่งคาดการณ์จะเริ่มทำได้เร็วที่สุดในเดือนกันยายน ปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่มีอัตราการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่ดีนอกเหนือจากความร่วมมือกับญี่ปุ่น สปป.ลาวยังได้ลงนามความร่วมมือระหว่างจีนและกลุ่มแม่น้ำโขลงที่ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา เมียนมาร์ สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม การร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสร้างในด้านความมั่นคงด้านอาหารและที่สำคัญช่วยส่งเสริมการค้าของสปป.ลาว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขลงต้องหารือถึงแนวทางการป้องการแพร่ระบาดระลอกใหม่และมาตราการบรรเทาหรือฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้ง ซึ่งไทย จีน ญี่ปุ่น พร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขลงทั้งในด้านเงินทุน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรับมือ COVID-19 เพื่อให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเติบโตได้ตามเป้าอีกครั้ง 

ที่มา : https://www.ttrweekly.com/site/2020/08/laos-and-japan-to-open-travel-channel/

รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือภาระหนี้แก่เอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะชำระหนี้ให้กับองค์กรเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทต่างๆ เพื่อบรรเทาอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเงินจะถูกระดมจากการออกพันธบัตรและสถานบันการเงิน รัฐบาลได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้มีการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการช่วย บริษัท ในท้องถิ่นลดผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 แม้ว่าประเทศจะมีความตึงเครียดด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2018 ถึงต้นปี 2019 หนี้ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นกับองค์กรเอกชนกว่า 3,000 พันล้านกีบ โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะนำหนี้ดังกล่าวเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและลดภาระของรัฐบาลเอง เนื่องจากรายได้ของประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 78 ของแผนประจำปีในปี 2563 จึงจำเป็นต้องลดการใช้จ่ายในโครงการที่ไม่จำเป็นรวมถึงบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดภาระของรัฐบาล รัฐบาลจะไม่เพียง แต่ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่ายด้านการบริหารเท่านั้น แต่ยังเลื่อนงบประมาณการลงทุนของลงร้อยละ 50 สำหรับโครงการที่ลดลงจะไม่ส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากนัก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php

ภาคอุตสาหกรรมเร่งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมมัคคุเทศก์ในเมียนมา

สมาคมมัคคุเทศก์เมียนมา (MTGA) กล่าวว่าได้ส่งต่อข้อเสนอแนะในการขอสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไปยังคณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ของรัฐบาล ความช่วยเหลือทางการเงินและเงินกู้ COVID-19 ในปัจจุบันมอบให้กับภาคการท่องเที่ยวและ บริษัทต่างๆ แต่ไม่ใช่สำหรับไกด์นำเที่ยว ดังนั้นจึงมีการส่งข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาเงินกู้สำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยจะช่วยเหลือเพียงมัคคุเทศก์ประเภทเดียวที่ได้รับคือการอุดหนุนเมื่อเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นที่ช่วยคนได้ครั้งละไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น กระทรวงจะศึกษาข้อเสนอแนะจากสมาคมมัคคุเทศก์เมียนมาและให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลพนักงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ได้ปล่อยเงินกู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 แก่ธุรกิจในภาคต่างๆเช่นเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของธุรกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/industry-body-urges-more-help-tour-guides-myanmar.html

รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนสปป.ลาว

รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ได้เดินทางเยือนสปป.ลาวเพื่อฉลองครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสปป.ลาวและญี่ปุ่น เสริมสร้างมิตรภาพอันยาวนานและความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ ได้มีการหารือกันถึงความเป็นไปได้ของการอนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยในประเทศ นักลงทุนและนักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างสองประเทศได้ในขณะที่ยังคงข้อกำหนดของการกักกันเป็นเวลา 14 วันที่บ้านหรือในพื้นที่อื่นที่กำหนดไว้ ผู้เดินทางจะได้รับการตรวจสอบตลอดการเข้าพัก แต่จะช่วยให้การค้าดำเนินต่อไปได้โดยฝ่ายสปป.ลาวมีความกระตือรือร้นที่จะเห็นธุรกิจของญี่ปุ่นย้ายการดำเนินงานไปยังสปป.ลาวมากขึ้น และยังหารือถึงความร่วมมือในด้านภัยพิบัติและการป้องกันโรค ความมั่นคงสาธารณะเสถียรภาพทางการเงินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของทางด่วนเวียงจันทน์ – ฮานอยเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมต่อ และมีการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคซึ่งรวมถึงปัญหาทะเลจีนใต้และสถานการณ์ของเกาหลีเหนือตลอดจนความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ หลังจากการประชุมได้มีการจัดพิธีลงนามเพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 2 โครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่โรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนในเครือ 8 แห่งในสปป.ลาว และการจัดหารถโดยสารสาธารณะใหม่ที่จะให้บริการในเมืองเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมีพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะนำไปสู่การรับมือกับโรคโควิด -19 ในสปป.ลาว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/24/japanese-foreign-minister-motegi-visits-laos/

ครม. แนะภาคการเงินและธุรกิจปรับปรุงนโยบายที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

การประชุมประจำเดือนสิงหาคมของคณะรัฐมนตรีมีการหารือในหลายประเด็นรวมถึงรับรองกฎหมายเพิ่มเติมต่างๆ ประเด็นที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ครอบคลุมในเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยคณะรัฐมนตรีสั่งการเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงนโยบายเพื่อส่งเสริม SMEs รวมถึงการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และการปรับปรุงขั้นตอนเข้าถึงกองทุนส่งเสริม SME ได้ง่ายและรวดเร็ว ในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม นอกจากนี้รัฐบาลยังผลักดันการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ การจะทำตามแผนดังกล่าวได้สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือภาครัฐต้องคำนึงถึงประสิทธิด้านการเก็บภาษีเพื่อให้ได้ตรงตามเป้าหมายประจำปี ในที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการร่างกฎหมาย 3 ฉบับซึ่งจะถูกส่งเข้าสู่การประชุมสมัชชาแห่งชาติสมัยสามัญที่กำลังจะมีขึ้น และเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างภาคการค้า รัฐบาลพยายามสนับสนุนการผลิตในประเทศเพื่อลดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออกรวมถึงส่งเสริมการแคมเปญการท่องเที่ยวหลังโควิด -19 เพื่อทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเติบโตอีกครั้ง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Cabinet_163.php

ธุรกิจบันเทิงในย่างกุ้งยังคงปิดให้บริการ หวั่น COVID-19 ระบาดรอบสอง

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 63 รัฐบาลภูมิภาคย่างกุ้ง สั่งให้ธุรกิจบันเทิง เช่น KTV Lounge บาร์และไนต์คลับรวมถึงธุรกิจในโรงแรมปิดให้บริการเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของ COVID-19 การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาเตือนว่าอาจเกิดCOVID -19 ระลอกที่สองหลังจากตรวจพบผู้ติดเชื้อ 4 รายในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ในช่วงสี่วันที่ผ่านมา หากพบว่าละเมิดกฎจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 63 คณะกรรมการป้องกัน COVID-19 ได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการกับธุรกิจในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์และภูมิภาคอื่น ๆ ที่ละเมิดกฎของทางการ แม้รัฐบาลจะประกาศเคอร์ฟิวในช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 00.00 น. ถึงตี 4 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19 แต่ KTV Lounge ไนท์คลับและบาร์บางแห่งในย่างกุ้งยังคงเปิดให้บริการในเวลากลางคืน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/entertainment-businesses-yangon-remain-restricted.html