ประสิทธิภาพด้านพลังงานถือเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจกัมพูชาในอนาคต

เนื่องจากความต้องการพลังงานของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีผู้เชี่ยวชาญจึงเรียกร้องให้มีการพัฒนาและดำเนินนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งสนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการฝึกฝนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของกัมพูชาในระหว่างปี 2019-2040 ซึ่งคาดว่าการใช้พลังงานหลักทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกัมพูชาสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศระบุว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการนำกัมพูชาไปสู่สังคมสถานะพลังงานสะอาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50783204/achieving-energy-efficiency-crucial-to-kingdoms-economy/

Standard Chartered ปรับเป้า GDP เวียดนามชะลอตัว 3% ในปีนี้ และฟื้นตัวเหลือ 7.8% ในปีหน้า

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ปรับเป้า GDP ของเวียดนามเหลือเพียงร้อยละ 3 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปีหน้า เนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ทั้งนี้ นาย Chidu Narayanan นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเอเชีย กล่าวว่า ‘เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกปีนี้ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 และคาดว่าในไตรมาสที่ 4 กิจกรรมธุรกิจในประเทศจะกลับมาฟื้นตัว อีกทั้ง การปรับปรุงด้านการบริการและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยให้เวียดนามมีความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย’ นอกจากนี้ เม็ดเงินทุน FDI คาดว่าจะไหลเข้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ลดลงในปีนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งอยู่ ด้วยมูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลกและความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนที่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รับผลประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง แต่การไหลเข้าของการลงทุนมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ว่าด้วยมาตรการของรัฐฯ และการเคลื่อนย้ายของเทคโนโลยี จะช่วยส่งเสริมการไหลเข้าของเงินทุน FDI

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-growth-may-slow-to-3-in-2020-likely-to-rebound-to-78-in-2021-stanchart-787676.vov

การแก้ไขเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางโรคระบาดใน สปป.ลาว

ภาครัฐได้รับการกระตุ้นให้กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปท่ามกลางการระบาดของโควิด -19 และการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว นี่เป็นประเด็นหลักประการหนึ่งของมติที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการกลาง ยังมีเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจและผลักดันให้มีการลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น คณะกรรมการกลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวกล่าวว่ารัฐบาลควรเพิ่มการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้มีการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกมากขึ้น ในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการลดกฎระเบียบของระบบราชการเพื่อให้องค์กรเอกชนสามารถลดต้นทุนการผลิตและตั้งโรงงานเพื่อการส่งออกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าสปป.ลาวจะยังคงปลอดจากผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรง แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังคงแพร่หลายทำลายการท่องเที่ยวก ารลงทุนและการส่งออกซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ คณะกรรมการกลางพรรคซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานตัดสินใจทางการเมืองของสปป.ลาวได้สั่งให้รัฐบาลจัดการกับภาระหนี้ที่สำคัญของประเทศและอุดช่องโหว่ทางการเงินรวมทั้งปรับปรุงรัฐวิสาหกิจเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายโครงการยังคงมีความคืบหน้าตามแผน ในระหว่างนี้ทางการยังคงดิ้นรนเพื่อควบคุมราคาอาหารเนื่องจากสินค้าจำนวนมากถูกนำเข้าและต้องซื้อด้วยสกุลเงินที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_203.php

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 1.6% ในปี 2563

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนาม (GDP) ในปี 2563 เหลือมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากเดิมร้อยละ 2.7 ในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่คาดว่าจะเติบโตในเชิงบวกปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ที่หดตัวมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ติดลบร้อยละ 8.3 รองลงมาไทย (-7.1%), มาเลเซีย (-6%) และอินโดนีเซีย (-1.5%) ทั้งนี้ หากประเมินในภาพรวมของเศรษฐกิจอาเซียน-5 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.4 ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2564 ในขณะที่ การเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 2.12 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 2 ในสภาวะปกติ และร้อยละ 2.5 หากได้รับแรงหนุน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-trims-vietnam-gdp-growth-forecast-to-16-in-2020-314508.html

INFOGRAPHIC : การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ‘โด่ยเหมย’ เปิดตัวในปี พ.ศ. 2529 ทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจของเวียดนามอย่างก้าวกระโดดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้านด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นส่งผลให้เวียดนามที่เป็นประเทศยากจนที่สุดในโลกให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower- middle-income Country)

  • เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ในปี 2563 ระดับ 6.8%
  • รายได้ต่อหัวประชากร (GDP Per Capita) ในปี 2562 อยู่ที่ 2,786 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี
  • การประหยัดจากขนาด (Scale Of Economy) ในปี 2562 มากกว่า 262 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สัดส่วนครัวเรือนที่ยากจน (Proportion Of Poor Households) ในปี 2562 ลดลง 4%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economic-growth-over-years/172722.vnp

การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจจะชะลอตัวลงเหลือ 2.5% ในปีนี้

ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจะชะลอตัวลงอยู่ที่ราว 2.5% ในปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 แต่ธนาคารโลกก็คาดว่าอัตราการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 5.9% ในปี 2564 ภายใต้สถานการณ์ปรกติ โดยรายงานของธนาคารโลกระบุเสริมว่าการระบาดใหญ่ในครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในทุกภาคส่วนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร การท่องเที่ยว เสื้อผ้า สิ่งทอและการก่อสร้าง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดการเติบโตของกัมพูชาคาดว่าจะลดลงเหลือ 1% ในปี 2563 และ 3.9% ในปี 2564 ตามรายงานของธนาคารโลก ซึ่ง ABD ได้ทำการคาดการณ์ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับกัมพูชา ว่ารายรับจากการท่องเที่ยวของกัมพูชาอาจลดลงเป็นเหลือ 856.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 โดยในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาลดลง 15% ตลอดทั้งปี 2019 กัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว 6.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.6% จากปีก่อน ซึ่งภาคดังกล่าวสามารถสร้างรายได้ประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708030/kingdoms-growth-to-drop-to-2-5-percent/

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 61 แม้จะมีการเข้มงวดด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าการเบิกจ่ายจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงรถไฟจีน – สปป.ลาว อีกทั้งจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการที่ยืดหยุ่น นำโดยการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลสปป.ลาวยังคงมุ่งมั่นที่จะรวมงบการเงินเพื่อควบคุมภาระหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง สิ่งนี้จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังลดลงจาก 4.4% ของ GDP ในปี 61 ถึง 4.3% ในปี 62 อย่างไรก็ตามสปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหนี้และมีมาตรการหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้  สิ่งสำคัญที่จะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชนรวมถึงการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรการเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง ส่งเสริมการสร้างงานและลดความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305713.htm