โควิด-19 กระทบแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศ ส่งเงินกลับลดลง 16.6%

โควิด-19 กระทบแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศ ลงเงินกลับประเทศลดลงกว่าร้อยละ 16.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,272 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตรงกันข้ามกับในช่วงปี 2014-2019 ที่มีการเติบโตกว่าร้อยละ 6.7 ต่อปี โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยผ่านรายงาน “Asean Migration Outlook” ฉบับแรก ซึ่งปัจจุบันแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศประมาณ 260,000 คน ตกงานหลังจากเกิดการแพร่ระบาดและได้เดินทางกลับมายังกัมพูชา โดยส่วนใหญ่กลับมาจากประเทศไทย ซึ่งในรายงานยังระบุเสริมอีกว่าการตกงานของแรงงานกัมพูชาในต่างชาติส่งผลทำให้ความยากจนในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปี 2019 ช่วงก่อนโควิด-19 แรงงานกัมพูชาในต่างประเทศมีมากกว่า 1 ล้านคน โดยกว่า 719,000 คน ทำงานในประเทศไทย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของแรงงานกัมพูชาในต่างชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501140226/covid-19-hit-cambodian-migrants-hard-remittances-fell-by-16-6/

“ธนาคารโลก” ชี้เวียดนามต้องการแรงงานมีทักษะ ขับเคลื่อนศก.รายได้ปานกลาง-สูง ปี 2578

ตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยว่าเวียดนามต้องการแรงงานที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ในขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจขับเคลื่อนจากแรงงานที่มีทักษะต่ำและค่าแรงงานที่ต่ำทั้งด้านการผลิตและบริการ ไปสู่นวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งสร้างขึ้นมาจากอุตสาหกรรมและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม แรงงานของเวียดนามจะต้องได้รับทักษะในระดับที่สูงขึ้นและมีทักษะที่หลากหลาย โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของรัฐบาลเวียดนาม ปี 2564-2573 มีเป้าหมายที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางด้านผลผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ดีเวียดนามจำเป็นต้องปฏิรูประบบการศึกษาและเพิ่มทักษะที่จำเป็นแก่ประชาชน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-business-news-august-9-2047767.html

แรงงานย้ายถิ่นสปป.ลาว ส่งเงินกลับบ้านราวหลายล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ชาวลาวที่ทำงานในต่างประเทศได้ส่งเงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังประเทศบ้านเกิด โดยเงินส่วนใหญ่จะส่งไปให้ครอบครัว การส่งเงินข้างต้นคาดว่าจะมีมูลค่าราว 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน จากนั้นจะใช้ไปกับการซื้อสินค้าและบริการในประเทศ นับว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของสปป.ลาว กล่าวว่าการจ้างงานชาวลาวในต่างประเทศ มีข้อดีหลายประการทั้งคนงานเองและประเทศสปป.ลาว แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้สปป.ลาวขาดแคลนแรงงานในบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เดือนมิ.ย. ชาวลาวจำนวนมากกว่า 13,000 คน เดินทางไปเกาหลี ไทยและญี่ปุ่น เพื่อที่จะหางานทำหลังจากผ่านการทดสอบความสามารถในสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten147_Lao_migrant_y22.php

สรท.มั่นใจส่งออก Q1/65 โต 5% แม้ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มั่นใจภาวะการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 5% และคงคาดการณ์ภาวะการส่งออกทั้งปี 65 โต 5-8% จากปี 64 ที่มีมูลค่า 271,314 ล้านดอลลาร์

ขณะที่มีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งจากผลกระทบจากข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาแก๊สธรรมชาติและถ่านหินน้ำมัน ในยุโรปและของโลกเพิ่มสูงขึ้น

2) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว

3) ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหา Space allocation ไม่เพียงพอ

4) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

5) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในหลายประเทศมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และเข็มที่ 4 ต่อเนื่อง และเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ (เฉพาะผู้ที่เดินทางในประเทศและมาจากออสเตรเลีย) ขณะที่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เหลืออยู่

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2022/171990

แรงงานสปป.ลาวมีฝีมือเริ่มกลับมาทำงานที่ไทย

สถิติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมระบุว่า แรงงานกว่า 246,000 คน ได้เดินทางกลับจากไทยไปยังลาวตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ เมื่อมีการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยมีคนประมาณ 150,000 คน ที่เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว นายพงษ์สายศักดิ์ อินทรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสังคมสงเคราะห์ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 50 ของแรงงานที่กลับมาทำงานในสปป.ลาวได้กลับมาทำงานที่ประเทศไทยแล้ว เขายังกล่าวเสริมว่านายจ้างในประเทศไทยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นและเสนอค่าจ้างที่เหมาะสม ในขณะที่บริษัทในลาวยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่รัฐบาลกำลังจัดตั้งศูนย์จัดหางานในทุกจังหวัดของสปป.ลาวเพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่กลับมาโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานใหม่แก่พวกเขา ศูนย์แห่งใหม่นี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ตลาดแรงงาน ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับการติดตามและรายงานเกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานและแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการทำงาน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Skilledlao_22_22.php

รัฐบาล สปป.ลาวออกคำสั่งเตรียมชดเชยคนตกงาน

นาย Oudone Maniboune รองอธิบดีกรมการจัดการแรงงาน กล่าวเมื่อวันอังคารว่า กระทรวงได้สั่งให้บางธุรกิจที่ระงับการดำเนินการในเดือนเมษายน ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงให้จ่ายเงินค่าจ้างตามปกติให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงควรจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติ นส่วนคนงานที่ค่าจ้างกำหนดโดยผลผลิตหรือจ่ายเป็นรายวันและมีรายได้น้อย ควรจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่พวกเขามักจะได้รับ หรือประมาณ 550,000 กีบต่อเดือน ขณะนี้มีผู้ว่างงานหลายพันคนต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็วเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพรายวัน ภาคเอกชนเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซง โดยขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย และให้สถาบันไมโครไฟแนนซ์จัดหาเงินกู้ฉุกเฉินสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ข้อเรียกร้องและคำสั่งของรัฐบาลเป็นไปเพื่อรักษาระดับการจ้างงานให้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันที่ตัวพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องและหากไม่มีการควบคุมที่ดีอาจนำมาซึ่งวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแรงงานในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt191.php

เมืองดาหลา เร่งปูพรมฉีดวัคซีนให้แรงงานในโรงงาน

เทศบาลเมืองดาหลา เขตย่างกุ้ง เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้กับคนงานในโรงงานเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ณ โรงพยาบาลประจำเทศบาล โดยเริ่มฉีดครั้งแรกแก่คนงานจำนวน 352 คนจากร้านอาหาร ร้านขายของชำ ท่าเรือ ธุรกิจออมทรัพย์และสินเชื่อ สถานีน้ำมันเชื้อเพลิง คลังประมง โรงสีข้าว คนงานค่าแรงจากสำนักงานไฟฟ้า สามล้อถีบ และอู่ต่อเรือ ซึ่งการวัคซีนที่ฉีดต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมืองดาหลาได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครั้งแรกแก่ประชาชนจำนวน 5,319 คน ทั้งนี้คณะกรรมการเขตว่าด้วยการควบคุมและรับมือเหตุฉุกเฉินจากโควิด-19 กำลังเร่งจัดหาวัคซีนเข็มที่ 2 ให้กับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dala-begins-covid-19-jabs-for-factory-workers/

สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม ชี้ไตรมาสสอง โควิด-19 ดันคนกว่าล้านคนตกงาน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 นั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานเวียดนาม แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนถูกพักงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 87,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งหากแบ่งช่วงอายุแรงงาน พบว่าตั้งแต่เดือนเม.ย.-มิ.ย. แรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ตกงานกว่า 389,000 คน คิดเป็น 21.8% ของแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเมืองอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าชนบทที่ 2.49% โดยการระบาดในครั้งนี้ ทำให้รายได้ของแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง 226,000 ดอง (10 เหรียญสหรัฐ) จากไตรมาสแรก อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างได้รับผลกระทบมากที่สุด ลดลงประมาณ 464,000 ดอง (20 เหรียญสหรัฐ) จนถึง 6.7 ล้านดอง (290 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน รองลงมาภาคบริการ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-drives-millions-of-people-out-of-jobs-in-q2-gso-317960.html

เวียดนามเผยจำนวนธุรกิจ 60,000 แห่ง ปิดกิจการชั่วคราว ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติประจำเวียดนาม (GSO) เผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 จำนวนสถานประกอบการ 59,800 แห่ง หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อรอขั้นตอนการยุบและเลิกกิจการ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป้นรายปี ในขณะเดียวกัน สถานประกอบการจัดตั้งใหม่ราว 55,800 แห่ง ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 778.3 ล้านล้านดอง (33.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 412,400 คน เพิ่มขึ้น 15.4% ในแง่ของสถานประกอบการ และ 39.5% ในแง้ของเม็ดเงินทุน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ สถานประกอบการเกือบ 22,600 แห่ง กลับมาดำเนินกิจการ เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้สถานประกอบการจดทะเบียนใหม่และสถานประกอบการที่กลับมาดำเนินกิจการ รวมกันทั้งสิ้น 78,300 แห่ง ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค.

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/nearly-60000-firms-temporarily-suspend-stop-operations-in-five-months/202367.vnp

คณะกรรมการจัดหางานต่างประเทศของเมียนมาเผยถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ

คณะกรรมการกำกับการจัดหางานนต่างประเทศได้จัดประชุม (ครั้งที่ 1/2564) ที่กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรเมื่อวานนี้ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 18 คน จากผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงาน เผยว่าตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 63 ได้เพิ่มค่าธรรมเนียมหน่วยงานเป็น 25 ล้านจัตจาก 5 ล้าจัตเพื่อให้บริษัท จัดหางานในต่างประเทศที่ได้รับใบอณุญาติที่ให้เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และกำจัดหน่วยงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ระหว่างประชุม นาย U Myint Kyaing ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงาน กล่าวว่าสหภาพฯ ให้ความสำคัญกับการนำชาวเมียนมา 1,086 คน กลับจากมาเลเซียในผ่านทางเรือ 3 ลำในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 70 คนจากอินเดียเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ขณะนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งหน่วยงาน 5 แห่งสำหรับแรงงานที่ทำงานในไทยภายใต้ MoU เพื่อต่ออายุวีซ่าของไปอีก 5 ปี ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กล่าวถึงแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อโอกาสในการทำงานของแรงงานเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/overseas-employment-supervisory-committee-discusses-migrant-workers-issues/