สปป.ลาว หนุน โลจิสติกส์เชื่อมทางรถไฟ จีน-สปป.ลาว

เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคปฏิวัติประชาชนลาว และประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด แห่งสปป.ลาว ได้เสนอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำงานร่วมกับ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าใน สปป. ลาว (Vientiane Logistics Park :VLP) เพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค อีกทั้งยังขอให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและกำหนดกฎหมายที่จำเป็นเพื่อหนุนอุตสาหกรรมให้เติบโดได้ดียิ่งขึ้น โดยการเปิดให้บริการของรถไฟลาว-จีนตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2564 มีรายงานว่า การขนส่งสินค้าเพื่อกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกสบายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การเปิดดำเนินการของ VLP มีการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้น คาดว่าจนถึงปี 2573 จะมีการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 5 ล้านตู้ ครอบคลุมทั่วประเทศและจะมีการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ 2 ล้านตู้ต่อปีผ่าน VLP และทางรถไฟ ทั้งนี้มีการประเมินว่า VLP จะสร้างรายได้ให้กับรัฐประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220630/a006b98c589f4af28f9a3e7c8bee9323/c.html

ท่าเรือแห้งทนาเล้งได้รับทุนสนับสนุนยกระดับตามมาตรฐานสากล

ท่าเรือแห้งทนาเล้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์โลจิสติกส์แบบบูรณาการในนครหลวงเวียงจันทน์ ได้รับเงินทุนใหม่สำหรับการพัฒนาและต้นทุนอุปกรณ์เพื่อพัฒนาให้ทันสมัยและให้บริการระดับโลก International Finance Corporation (IFC) ได้จัดเตรียมเงินจำนวน 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นทุนในการพัฒนา ก่อสร้าง และต้นทุนอุปกรณ์ของท่าเรือแห้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Vientiane Logistics Park แบบบูรณาการแห่งแรกของประเทศ (VLP) ท่าเรือแห้งและสวนโลจิสติกส์จะกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ของลาว และช่วยขับเคลื่อนการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการค้าทางทะเลเป็นถนนและทางรถไฟสำหรับลาวที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ด้านลอจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าใช้จ่าย จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การจัดหาเงินทุนใหม่ IFC  โครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่งเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของลาว ทำให้ลาวกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระดับภูมิภาค สร้างงาน และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten18_Laosinter.php

‘โลจิสติกส์เวียดนาม’ คุมเข้มมาตรฐานสากล

สมาคมโลจิสติกส์ธุรกิจเวียดนาม (VLA) รายงานว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามได้รับแรงกดดันเกี่ยวกับการฝึกอบรมและยกระดับความรู้ของพนักงาน ตลอดจนการติดตามมาตรฐานระดับสากล ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลครั้งล่าสุดของสมาคมฯ พบว่ากิจการส่วนใหญ่ต้องการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการบริหารงานคุณภาพที่ทันสมัย อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 17025, HACCP และ ISO 22000 เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าถึงเวลาแล้วที่เวียดนามต้องจัดตั้งระบบการจัดการคุณภาพให้ดีขึ้น และให้ครอบคลุมกับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วิธีการขนส่งและการบริโภคพลังงาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-logistics-must-keep-up-with-international-standards/227570.vnp

เวียดนาม เล็งขยายเส้นทางเดินเรือไปยังกัมพูชาและไทย

ผู้ประกอบการเวียดนามร้องขอให้รัฐบาลช่วยขยายเส้นทางเดินเรือขนส่งระหว่างเกาะฟูโกว๊กของประเทศเวียดนาม ไปยังชายฝั่งประเทศกัมพูชาและไทย ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงด้านความร่วมมือช่องทางการเดินเรือชายฝั่งทะเล ระหว่างเวียดนาม กัมพูชา และไทย ที่เคยมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ ในปี 2014 โดยความร่วมมือด้านการขนส่งทางชายฝั่งคาดว่าจะเพิ่มโอกาสมากขึ้นสำหรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดกลางและขนาดเล็กในเส้นทางระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มการลงทุนในสามประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501046123/vietnam-seeks-shipping-navigation-route-expansion-with-cambodia-thailand/

รัฐบาลมีแผนเพิ่มทางด่วนเพื่อปรับปรุงการขนส่ง

รัฐบาลกำลังปรับปรุงเครือข่ายถนนของประเทศ และกำลังวางแผนที่จะสร้างทางด่วนเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงการขนส่งและช่วยบรรลุเป้าหมายสำหรับการให้สปป.ลาวเป็นประเทศที่เชื่อมโยงทางบกในภูมิภาค จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางพิเศษเวียงจันทน์-ปากเซสำหรับส่วนที่ 1, 2, 3 และ 4 แต่บันทึกความเข้าใจในส่วนที่ 5 ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาถนนเพื่อปรับปรุงการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและในระยะไกล การพัฒนาปรับปรุงการขนส่งดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ในประเทศอีกทั้งสร้างจุดแข็งให้กับสปป.ลาวในการเป็นประเทศเชื่อมโยงระบบการขนส่งระดับภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_42_22.php

“เวียดนาม” เผยภาคโลจิสติกส์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ

หนังสือพิมพ์ Lao Dong สื่อทางการเวียดนามอ้างคำพูดจากคุณ Piyush Rathorenoi ผู้จัดการทั่วไปขององค์กร Transworld QBV ICD ประเมินว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามจะเติบโตได้ดีในอนาคต และจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสจิกส์ของโลก ทั้งนี้ CapitaLand Development (CLD) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดจังหวัดบั๊กซาง เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการลงทุนที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนาม อีกทั้ง คุณ Ronald Tay ผู้อำนวยการทั่วไปของ CLD Vietnam กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นการร่วมมือในการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนในภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานคนในท้องถิ่นกว่า 20,000 คน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-logistics-sector-attracts-more-foreign-investment-inflows-post927212.vov

 

การรถไฟฯ ‘เวียดนาม’ แนะส่งเสริมบริการโลจิสติกส์

ในเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว การรถไฟเวียดนาม (VNR) ได้เพิ่มการเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟใหม่จากเวียดนามไปยังเบลเยียม โดยออกเดินทางจากสถานีเยนเวียน (Yen Vien) กรุงฮานอย ไปยังเมืองลีเอเจ้ (Liege) ที่ประเทศเบลเยียม ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ เวียดนามกำลังเร่งเปิดบริการรถไฟบรรลุสินค้าจากเวียดนาม-จีน-รัสเซีย-ยุโรป-อาเซียน-กลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง เพื่อรองรับการให้บริการโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ นาย Vu anh Minh หัวหน้าการรถไฟเวียดนาม กล่าวว่าการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผ่านทางรถไฟ ใช้เวลาราว 18-20 วัน ในขณะที่การขนส่งทางทะเล ใช้เวลาราว 40-45 วัน และได้ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับการขนส่งทางรถไฟ โดยเฉพาะสินค้าที่เหมาะสมกับสภาพการจัดเก็บที่ดีและจัดส่งได้รวดเร็ว ตลอดจนธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์แทนการขนส่งทางทะเลมากขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟในเวียดนามอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการขนส่งอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1141763/vnr-should-seek-ways-to-promote-logistics-services.html

ไทยควรเชื่อมต่อทางรถไฟสายลาว-จีน โดยด่วน

รัฐบาลไทยกำลังได้รับคำแนะนำให้เร่งพัฒนาเครือข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงระบบรถไฟของไทยกับรถไฟลาว-จีน ซึ่งเชื่อมต่อคุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนกับเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสปป.ลาว ดนุชา พิชยานันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการข้อตกลงกับประเทศลาวและจีน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อระหว่างระบบรถไฟของไทยกับการรถไฟลาว-จีน” ทางรถไฟเป็นโครงการเชื่อมต่อระหว่างแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ที่จีนเสนอและกลยุทธ์ของลาวในการเปลี่ยนตนเองจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้เป็นศูนย์กลางทางบก เมื่อเริ่มเปิดใช้บริการคาดว่าจะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและการค้าของการรถไฟลาว-จีนอย่างมาก นอกจากนี้การเชื่อมโยงทางรถไฟจะดึงดูดการลงทุนจากจีนและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และเหมืองแร่ นายดานูชา เสนอให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการตามข้อตกลงไตรภาคีเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่ไร้รอยต่อระหว่างไทยกับการรถไฟจีน-ลาว การเชื่อมโยงทางรถไฟที่ดีขึ้นหรือราบรื่นจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทย ลาว และจีน”

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/2224707/calls-to-speed-up-link-to-laos-china-line

รถไฟ‘ลาว-จีน’ใกล้เปิดหวูด ไทยวางยุทธศาสตร์รองรับค้าผ่านแดน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ร่วมประชุมวางแผนงานและบูรณาการแผนงานของทั้งสองหน่วยงานร่วมกัน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจีน – ลาว – ไทย จากรถไฟจีน – ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งการเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถือเป็นความสำเร็จในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระบบรางของทั้ง 2 ประเทศเข้าด้วยกัน ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้เป็นการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน วันที่ 2 ธ.ค.ปีนี้

ที่มา : https://www.naewna.com/business/614387

‘ศักดิ์สยาม’ หารือ ‘สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน’ ร่วมมือภาคขนส่ง ยกระดับโครงข่ายคมนาคม-โลจิสติกส์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Mr.Martin Hayes รองประธานสภาธุรกิจสหภาพยุโรป–อาเซียน และ Mr.Jan Eriksson ประธานสมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ ประจำประเทศไทย และคณะเข้าพบ วันนี้ (6 ต.ค. 2564) ว่า ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อลดอุปสรรคการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอความคืบหน้าของโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และการพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมถึงการดำเนินงานเพื่อรองรับการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ความปลอดภัยด้านคมนาคม การขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเป้าหมายและความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านแนวนโยบายการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ อีกทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่งครอบคลุมทางถนน ทางราง และทางน้ำ รวมทั้งนโยบายในการแก้ปัญหาการจราจร ทั้งการพัฒนาระบบ M-Flow

ที่มา : https://www.trjournalnews.com/35757