ยอดค้าปลีกและบริการในนครโฮจิมินห์ พุ่ง 11.2%

ยอดการค้าปลีกสินค้าและบริการในเดือนมกราคม ณ นครโฮจิมินห์ อยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งยอดค้าปลีกสินค้ารวมอยู่ที่ 76.24 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.61 ของยอดการค้าปลีกสินค้าและบริการรวม เป็นผลจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นตามเทศกาลปีใหม่ สำหรับราคาสินค้าในช่วงวันปีใหม่ (Tet) อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอาหารและของกิน เครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น ชณะที่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้า มีการเตรียมสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคก่อนที่จะถึงช่วงปีใหม่ ด้วยกำลังซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนปกติ ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายมีการใช้โปรโมชั่นที่หลากหลาย เช่น ส่วนลดราคาสินค้าร้อยละ 5-49 เพื่อกระตุ้นเพิ่มกำลังซื้อสูงขึ้นในช่วงเดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hcm-citys-retail-sales-services-revenue-surge-by-112-percent-409869.vov

อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จับงานฉลองเปิดแฟรนไชส์สาขาแรกที่เวียดนาม

บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM ผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีกของตกแต่งบ้านครบวงจรในประเทศไทย ร่วมมือกับ VI Funiture Joint Stock Company ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Vietnam Investment Group (VIG Group) ผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจค้าปลีกแห่งเวียดนาม  นำโดย Mr.David Do, VIG Managing Director ฉลองเปิดให้บริการอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ร้านแฟรนไชส์สาขาแรกอย่างเป็นทางการ รูปแบบสแตนด์อโลน มีพื้นที่ 990 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนถนน.Nguyen Thi Minh Khai เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นถนนสายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของผู้บริโภคชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและจะส่งผลดีต่อการเพิ่มยอดขายและรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้แก่บริษัทฯ จากปัจจุบันที่ขยาย แฟรนไชส์แล้วใน 8 ประเทศ (รวมเวียดนาม)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3071345

บิ๊กซีจากประเทศไทยเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในกัมพูชา

บิ๊กซีห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากประเทศไทยเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในกัมพูชาในจังหวัดปอยเปต โดยได้ลงทุนไปกว่า 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการ มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำด้วยสินค้าที่หลากหลายราคาไม่แพง ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีในกัมพูชา คาดว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้จะช่วยสร้างงานกว่า 1,200 ตำแหน่ง และนำความก้าวหน้ามาสู่กัมพูชา โดยจังหวัดปอยเปตมีประชากรกว่า 200,000 คนระหว่างชายแดนไทยกัมพูชาและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้จังหวัดกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งจากไทย จีน และจากประเทศอื่นๆอย่างมาก โดยเมืองนี้มีโครงการที่จะสร้างคาสิโนในโรงแรม ศูนย์การค้า และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งได้รับการร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคเอกชนกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งแรกในปอยเปตอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648873/thailands-big-c-opens-first-supermarket-in-cambodia/

เดินเกมค้าปลีกสมัยใหม่ในเมียนมา

ร้านค้าปลีกและค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) เป็นที่น่าจับตามองภายหลังอนุญาตให้ทุนต่างชาติครองสัดส่วนการถือหุ้นได้ 100% ใกล้เคียงกับไทยและเวียดนาม เพื่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมและราคาที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค เพราะการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางจาก 9% เป็น 15% ในปี 63 อัตราการค้าปลีกเติบโตในปี 55 – 60 ปีละกว่า 8% ทำให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนรวมกับบริษัทท้องถิ่นในรูปแบบร้านค้าปลีกอุปโภคบริโภคสมัยใหม่ (modern grocery store) บริษัทค้าปลีกมีแนวโน้มที่แข่งขันรุนแรงขึ้นหลังจากบริษัทต่างชาติสามารถลงทุนได้เต็มรูปแบบ ร้านค้าปลีกที่มีโอกาสเติบโตสูงคือ มินิซูเปอร์มาร์เก็ต ที่เน้นประเภทอาหารพร้อมทานแทน เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่เน้นความสะดวกและมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ทั้งนี้ ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคจะเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จ โดยจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาในย่างกุ้งและมัณฑะ พบว่าผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญด้านรสชาติและคุณภาพมากขึ้นซึ่งสูงกว่าด้านราคา ส่งผลให้สินค้านำเข้าเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการนำเสนอสินค้าตราห้าง (private label) ถึงแม้ว่าสินค้าจากบริษัทชื่อดังของโลกอย่าง Coca Cola, Unilever หรือ Nestle แต่พบว่า 32% ของสินค้าที่วางขายซึ่งมีทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ต่างประเทศยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ราว 16% เชื่อได้ว่าสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำได้ โดยเฉพาะสินค้าจากไทยที่ชาวเมียนมาเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและราคาที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับสินค้าจากยุโรปหรือญี่ปุ่น แต่ความเสี่ยงของผู้ประกอบการคือ ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่ง ไฟฟ้าที่ไม่เสถียรและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการหาพันธมิตรบริษัทขนส่งของเมียนมา รวมถึงพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลังและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/4746

The OPPORTUNITY : ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในเมียนมา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49875.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2561