เวียดนามลุยลงทุนโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) เริ่มก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำ ด้วยมูลค่า 9.22 ล้านล้านดอง (400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำดาซัง โดยการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วยนักลงทุนราว 30% และอีก 70% มาจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐ (Vietcombank) และหน่วยงาน Agence Francaise de Developpement (AFD) อีกทั้ง ผู้รับเหมาในประเทศ ได้แก่ บริษัท Truong Son Construction Corp ภายใต้กระทรวงกลาโหม และบริษัทร่วมทุน Construction Joint Stock Company 47 รายและบริษัทร่วมทุน Lilama 10 จะดำเนินการสร้างโรงงานขยายกำลังการผลิต 480 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและความทันสมัยของเวียดนาม นอกจากนี้ ผู้อำนวยการการไฟฟ้าเวียดนาม นาย Tran Dinh Nhan กล่าวว่าโรงงาน Hoa Binh มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำดาซังอย่างเต็มที่และใช้น้ำที่อุดมสมบูรณ์ในฤดูน้ำหลาก เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-kicks-off-us400-million-hydropower-project-315865.html

รมว.พาณิชย์ถก JFCCT เร่งลดอุปสรรคการค้า-ดึงดูดลงทุนหลังโดนผลกระทบโควิด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) นำโดยนายสแตนลีย์ คัง ประธาน JFCCT ว่า วันนี้ได้พบปะหารือตัวแทนหลายประเทศในกลุ่มหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย โดยประเด็นที่ 1 คือเรื่อง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่ง JFCCT ต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวสามารถถือหุ้นได้ 100% ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้บัญชี 3 บางรายการในช่วง 3 ปีนี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาประเทศไทยในช่วงโควิด ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์รับจะพิจารณาให้ ภายใต้ขั้นตอนกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด เรื่องที่ 2 คือ การเจรจาการค้าเสรี (FTA) กับหลายกลุ่ม ที่มีความชัดเจนอย่างน้อย 5 ประเทศ 5 กลุ่ม คือ FTA ไทย-EU, ไทย-UK, ไทย-EFTA กลุ่มประเทศแถวสวิส นอร์เวย์, ไทย-ยูเรเซีย และอาเซียนกับแคนาดา เรื่องที่ 3 คือ มาตรการฟื้นการท่องเที่ยวที่ภาคเอกชนต่างประเทศ อยากเห็นการกำหนดเงื่อนเวลาที่จะให้กักตัวอย่างชัดเจนและจะมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มขึ้นเมื่อใด ส่วนเรื่องที่ 4 เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งที่ภาคเอกชนต่างประเทศ ต้องการเห็นการขนถ่ายสินค้าที่สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการพบปะกันนั้น จะเปิดโอกาสให้หอการค้าต่างประเทศได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อจะได้ติดตามความคืบหน้า และร่วมกันทำงานคลี่คลายปัญหาที่ติดขัด เพื่อช่วยกันฟื้นเศรษฐกิจและเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยด้วย

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3172940

กนอ.เปิดยุทธศาสตร์5ปีตั้งตัวเป็นหน่วยงานหนุนการลงทุน

5 ต.ค. 2563 นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยในงานสัมมนาทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2564 ว่า กนอ.จะเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ระยะ 5 ปี(2564-68) วงเงินลงทุนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนกนอ.ให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้สอดรับเทคโนโลยี 5 จีเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นเทรนด์ของทั่วโลก ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน วงเงินลงทุนของกนอ.ช่วง 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในท่าเรือมาบตาพุดเฟส3 ขณะที่ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนนิคมฯสมาร์ทปาร์คช่วงเริ่มก่อสร้าง 800 ล้านบาท ลงทุนด้านดิจิทัล 200 ล้านบาท และอื่นๆ 200 ล้านบาทสำหรับความร่วมมือกับผู้พัฒนาเทคโนโลยี 5 จีในนิคมอุตสาหกรรม เบื้องต้นตามยุทธศาสตร์นี้กนอ.จะนำ 5 จีมาพัฒนานิคมฯของกนอ.รวม 5 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯมาบตาพุด นิคมฯแหลมฉบัง นิคมฯบางปู นิคมฯลาดกระบัง นิคมฯภาคเหนือ รองรับการลงทุนอในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) ขณะที่นิคมฯของภาคเอกชนอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน  

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/80656

โพลชี้บริษัทยุโรปสนใจลงทุนในอาเซียนน้อยลง

สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทจากยุโรปมีความพึงพอใจลดลงเกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสำรวจล่าสุดจาก EU-ABC พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 73% คาดว่าการค้าและการลงทุนในอาเซียนจะเติบโตขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลงจากปี 2562 ที่ผู้ตอบแบบสำรวจถึง 84% คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว นอกจากนี้ 39% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2563 ซึ่งลดลงอย่างมากจากผลสำรวจปีที่แล้วที่ 60% ขณะเดียวกัน มีบริษัทเพียง 53% ที่ยกให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มอบโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ซึ่งลดลงจาก 63% ในปี2562 ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวสอบถามบริษัทในภาคผลิตและภาคบริการ 680 แห่งทั่วอาเซียนในระหว่างเดือนเม.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/41207

กทท.เริ่ม“แหลมฉบังเฟส3” ลุย“ถมทะเล”คาดเสร็จใน4ปี

กทท.ลุยแหลมฉบังเฟส 3 เริ่มงานถมทะเล หลังลงนาม “กิจการร่วมค้าซีเอ็นเอ็นซี” ตั้งเป้าแล้วเสร็จใน 4 ปี พร้อมเดินหน้างานอาคาร,สาธารณูปโภค 6.5 พันล้านปีนี้ กทท.ได้ดำเนินการเปิดประกวดราคาจัดหาเอกชนเริ่มงานก่อสร้างโครงการในส่วนที่ กทท.รับผิดชอบ คือ งานก่อสร้างทางทะเล และงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยปัจจุบันได้ลงนามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 1 งานก่อสร้างทางทะเล และเตรียมส่งมอบพื้นที่เพื่อออกหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) สำหรับงานจ้างเหมาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ส่วนที่ 2) งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธรณูปโภค วงเงิน 6,502 ล้านบาท ขณะนี้ได้ยกเลิกการประกวดราคา หลังจากประกาศไปเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2563 เนื่องจาก กทท.ต้องการปรับปริมาณงานและราคา ให้มีความสอดคล้องกับปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะประกาศประกวดราคาอีกครั้งภายในปีนี้รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า ตอนนี้ กทท.ได้เริ่มต้นงานในส่วนที่ภาครัฐรับผิดชอบแล้ว ซึ่งอยู่นอกเหนือกับงานร่วมทุนกับเอกชน ในเรื่องของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนของท่าเทียบเรือ F ที่จะร่วมทุนให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการภายในพื้นที่ โดยปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้สรุปผลและการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน (ซองที่ 4) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC และเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/897001?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=eec

ญี่ปุ่นครองแชมป์ปักหลักลงทุนในนครโฮจิมินห์

ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่ามูลค่าเงินทุนของบริษัทญี่ปุ่นไปยังเมืองโฮจิมินห์ อยู่ที่ราว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.39 ของเงินลงทุนรวมจากต่างชาติในเมืองดังกล่าว ซึ่งสาขาธุรกิจที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยมูลค่า 3.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอิเล็กทรอนิกส์, บริการ, เคมีภัณฑ์, ยาง, พลาสติก, เครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กล่าวว่าในเดือน มิ.ย. จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น 30 ราย ได้ขยายการผลิตไปยังเวียดนาม โดยจากผลสำรวจของบริษัทญี่ปุ่นราว 10,000 แห่ง ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 41 มองว่ากำลังพิจารณาในการขยายการดำเนินงานไปยังเวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

ที่มา : https://fintel.vn/japan-is-the-largest-foreign-investor-in-hcmc/

เมียนมาลงทุนด้านการดูแลสุขภาพเกษตรและอุตสาหกรรม

เมียนมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตร ปศุสัตว์และการประมง และเขตอุตสาหกรรมหลังจากที่ได้รับ COVID-19 โดยมีการจัดลำดับความสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนในทั้งสามกลุ่มหลังจากได้รับ COVID-19 ในปีนี้ในด้านการดูแลสุขภาพ เช่น ธุรกิจที่ผลิตหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และเจลล้างมือแต่ต้องได้รับการอนุมัติก่อน การพัฒนาระบบฟาร์มเนื้อสัตว์และการประมงเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคการประมงและการเกษตรประกอบคิดเป็น 1%และ 0.5% ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศ การลงทุนจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นและลดค่าใช้จ่ายทางและความเจ็บป่วยจากการว่างงาน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงวันที่ 23 มิถุนายนในปีงบประมาณปัจจุบันลดลง 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าหมายของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ในช่วงปีงบประมาณก่อนหน้าได้อนุมัติการลงทุน 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีทั้งหมด 189 ธุรกิจ ส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ 8,700 ตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงธุรกิจ 14 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าหรือขยายกิจการในประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายได้เกือบ 200 ล้านในเมืองหลวงและสร้างงานมากกว่า 2,500 ตำแหน่ง จนถึงตอนนี้มีนักลงทุนจากสิงคโปร์ จีน และไทยได้ลงทุนมากที่สุด ปัจจุบันมี 51 ประเทศที่ลงทุนใน 12 สาขา – ไฟฟ้า 26.6% , 26% ในธุรกิจน้ำมันและก๊าซและ 14       % ในการภาคผลิต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lure-investments-healthcare-agri-and-industry.html

นักลงทุนเรียกร้องรัฐบาลปรับปรุงการอนุมัติการลงทุน

ปัจจุบันการลงทุนในสปป.ลาว มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและหลายขั้นตอนในการขออนุมัติจากหน่วยงานต่างๆ หากนักลงทุนได้รับการอนุมัติจากที่หนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่านักลงทุนจะสามารถดำเนินการได้เลย จากขั้นตอนที่ลำบากนี้ทำให้ธนาคารโลกจัดอันดับสปป.ลาวให้อยู่ที่ 154 ของโลกในด้านความสะดวกในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันของสปป.ลาว ในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 8 ของสมัชชาแห่งชาติซึ่งกลุ่มสมาชิกสมัชชาขอให้รัฐบาลปรับปรุงการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-stop service) หลังจากที่ผ่านมานักลงทุนสปป.ลาวยังต้องขออนุมัติจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยดร. Sonexay รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้ให้ความเห็นในที่ประชุมว่า“ สิ่งที่เราต้องการบรรลุคือการให้ความเห็นชอบในที่เดียว แต่ในทางปฏิบัติเรายังไม่สามารถทำได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแต่ละสายที่รับผิดชอบด้านการลงทุนเสมอ” อย่างไรก็ตามรัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นว่าจะปรับปรุงด้านการอนุมัติต่างๆให้ดีขึ้นเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_One_stop_122.php

รัฐบาลสปป.ลาวลงทุน 6 แสนเหรียญสหรัฐฯ ในระบบปะปา

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่กรมโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กรม (MPWT) ลงนามสัญญากับ บริษัท standpipes ในการสร้างระบบน้ำประปา คาดว่าจะแล้วเสร็จ 16 เมษายน 2564 โดยมีมูลค่าสัญญาของโครงการประปาเทศบาลหลวงพระบางอยู่ที่ 392,988 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนดังกล่าวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งการลงทุน การจ้างงานรวมถึงระบบปะปาที่ได้มาตราฐานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนในภูมิภาคดังกล่าวให้ดีขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะทำให้ ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจได้สะดวกสบายมากขึ้นและจะเป็นโครงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/18/79135/

CDC อนุมัติการลงทุนใหม่มูลค่าประมาณ 90 ล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชาได้อนุมัติเงินทุนจำนวน 89.4 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงการลงทุนอีกสองโครงการครอบคลุมการผลิตถุงและเบียร์ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นถึง 1,600 ตำแหน่ง โดยโครงการแรกที่จะดำเนินการในจังหวัดกำปงสปือ ซึ่งเป็นของบริษัทบริลเลียนดราก้อนเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ในขณะที่โครงการที่สองจะอยู่ทางตอนใต้ของเมืองหลวงพนมเปญซึ่งเป็นของ บริษัทวัทเทคบริวเวอรี่ จำกัด ซึ่งมีการประกาศเพิ่มเติมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าสภาอนุมัติเงินลงทุนทั้งหมด 65.6 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงการลงทุนอีก 5 โครงการซึ่งสามารถสร้างงานให้ชาวกัมพูชาประมาณ 5,000 ตำแหน่ง โดยโครงการ 5 โครงการนี้จะครอบคลุมการผลิตเสื้อผ้า, ผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิดและการลงทุนในฟาร์มกล้วย รวมถึงโรงแรมระดับสี่ดาว ซึ่งการพัฒนาการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค การเมืองและสังคมของกัมพูชาแม้จะถูกคุกคามจากการระบาดใหญ่อย่าง Covid-19 ก็ตาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50732931/cdc-approves-about-90-million-worth-of-new-investments/