ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและค่าเงินแข็งค่า

แม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์ยังคงเพิ่มขึ้น ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 100 – 300 ล้านจัตส่วนใหญ่ถูกขายให้กับชาวจีน เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและเงินหยวนจีนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เศรษฐกิจเมียนมาชะลอตัวลงแต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาฟื้นตัวหลังจากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย ผู้คนจำนวนมากเริ่มลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งมันดาเลย์มีอสังหาริมทรัพย์ราคาปานกลางที่มีศักยภาพที่จะเติบโต เช่น ที่ Ye Mon Taung Ward และ Htan Koe Pin พื้นที่เหล่านี้เชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญระหว่างถนน 35th, Thate Pan Street และถนนวงแหวน Pyin Oo Lwin-Mandalay ตอนนี้มีโครงการที่อยู่อาศัย คลังสินค้า และโชว์รูมรถยนต์เพิ่มขึ้น อีกทั้งสนามกอล์ฟในบริเวณใกล้เคียงยังช่วยเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็เริ่มขยายตัว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-sales-spike-due-low-rates-strong-currency.html

เวียดนามเผยบริษัทอสังหาฯ พร้อมฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

บริษัทอสังหาริมทรัพย์เริ่มมองถึงก้าวต่อไป เล็งเห็นโอกาสหลังจากวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดฟื้นตัวในไม่ช้า จากรายงานทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง เผยว่าร้อยละ 80 ของตัวแทนขายอสังหาฯ หยุดการดำเนินงานชั่วคราวในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจอื่นๆ ยังคงสามารถดำเนินงานได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยจำนวนบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 12 ขณะที่ บริษัทที่หยุดดำเนินงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 94 อย่างไรก็ตาม คนในวงในส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบจะเป็นเพียงระยะสั้นและตลาดจะกลับมาแข็งแกร่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คุณ Nguyen Quoc Bao รองผู้อำนวยการบริษัทอสังหาฯแห่งหนึ่ง กล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อวงจรการเติบโตใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทที่มีกำลังการผลิตต่ำ แต่สำหรับธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการดำเนินงานอย่างมืออาชีพที่จะนำฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปได้ ผลกระทบเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น ‘วิกฤติสร้างโอกาส’ นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯเวียดนาม ยังคงมีข้อได้เปรียบอย่างมากและเป็นที่สนใจแก่นักลงทุน เพราะว่าด้วยจำนวนประชากรราว 100 ล้านคน และร้อยละ 55 อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่มีกำลังซื้อสูงและมีความต้องการที่อยู่อาศัย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมั่งคง ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/real-estate-firms-gear-up-for-race-after-pandemic/173808.vnp

ดิจิทัลไลเซชั่นดีสำหรับการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาท่ามกลางการระบาด Covid-19

คนในวงการกล่าวว่า digitalization มีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการดิ้นรนภายใต้การระบาดใหญ่ของ Covid-19 จากการพูดคุยในระหว่างการสัมมนาทางเว็บที่จัดทำโดย realestate.com.kh ได้พูดถึง Covid-19 จะให้บทเรียนในรูปแบบใหม่ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจีนและตลาดหลักในปี 2564 จะช่วยปรับปรุงแนวโน้มการเติบโตของกัมพูชาในปีหน้า ตามรายงานจาก บริษัท อสังหาริมทรัพย์ CBRE ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ตลาดจะยังคงเห็นการปรับลดลงของราคาขายในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับกลางและระดับบน ส่วนราคาขายช่วงกลางอ่อนตัวลง 1.4% และกลุ่มสินค้าระดับบนปรับตัวลงเพียง 0.5% ในขณะที่กลุ่มที่มีราคาไม่แพงได้เห็นการเพิ่ม 0.3% ราคาขายเฉลี่ยในส่วนนี้อยู่ที่ 1,549 ดอลลาร์ ต่อตารางเมตร ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ค่าเช่าคงที่ประมาณ 14.2 ดอลลาร์ต่อตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722122/digitalisation-said-to-be-good-for-real-estate-transactions-amid-pandemic/

กัมพูชาบันทึกการไหลเข้าของ FDI เพิ่มขึ้น 21% ในภาคอสังหาริมทรัพย์

การไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ (รวมอสังหาริมทรัพย์และคอนโดมิเนียมทุกประเภท) ในกัมพูชามีมูลค่ามากกว่า 437.3 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ตามข้อมูลจากรายงานNBC’s Annual Banking Supervision Report 2019 ในบรรดาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้าสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนมีการลงทุนมากสุดในกัมพูชา คิดเป็นส่วนแบ่งประมาณ 58.8% (หรือมากกว่า 262 ล้านเหรียญสหรัฐ) จาก FDI ทั้งหมดตามมาด้วยสิงคโปร์ 15.2% จากสหรัฐ 53.5 ล้านเหรียญสหรัฐ, เกาหลีใต้ 27.25 ล้านเหรียญสหรัฐ, ญี่ปุ่น 15.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากประเทศอื่นๆ 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น การก่อสร้างและการจำนองส่วนบุคคล โดยการเติบโตของสินเชื่อสำหรับการจำนองอยู่ที่ 41.7%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717905/cambodia-logged-21-percent-increase-in-inflow-of-fdi-into-the-real-estate-sector-in-2019/

เตือนผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชา

กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินได้เตือนโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจะถูกทำการดำเนินคดี นอกจากนี้ยังแจ้งเตือนผู้คนถึงความเป็นไปได้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์จากโครงการที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อมูลที่จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบเช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ดินที่ออกโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ใบอนุญาตก่อสร้างออกโดยกระทรวงการบริหารที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้างเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้ตัดสินใจยกเว้นภาษีตราประทับ 4% สำหรับทรัพย์สินที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่มีมูลค่าน้อยกว่า 70,000 เหรียญสหรัฐจนถึงเดือนมกราคมเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างท่ามกลางความหวาดกลัวการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Novel Coronavirus โดยการลดหย่อนภาษีนี้ใช้ได้กับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนที่กระทรวงการคลังและนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางสามารถซื้อบ้านได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องการให้ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดราคาบ้านด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50696935/warning-to-kingdoms-property-buyers

ธนาคารกลางกัมพูชาควบคุมและตรวจสอบภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด

          ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่ากำลังติดตามการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารในด้านการเติบโตของสินเชื่อภายในประเทศ โดยสำนักงานเครดิตบูโรประเทศกัมพูชา (CBC) รายงานว่าสินเชื่อผู้บริโภค ณ เดือนกันยายน 2562 มีมูลค่ารวมถึง 7.65 พันล้านเหรียญสหรัฐและคิดเป็นสินเชื่อจำนอง 48.36% บัตรเครดิต 0.61% และสินเชื่อส่วนบุคคลอีก 51% ซึ่ง CBC กล่าวว่าหนี้จำนองที่ค้างชำระ 30 วันขึ้นไป ณ เดือนกันยายน 2562 มีเพียง 0.57% ของทั้งหมดขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อผู้บริโภคอยู่ที่ 1.75% และบัตรเครดิตอยู่ที่ 2.65% โดยเหล่านี้เรียกว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) โดยธนาคารกลางเตือนว่าหากผู้บริโภคไม่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ทำให้การเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออาจกลายเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงผู้ว่าการธนาคารกลางกล่าวว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจเผชิญความเสี่ยงในปีนี้เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบเนื่องจากสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากอุปทานส่วนเกินในภาคการก่อสร้างที่อาจนำไปสู่วิกฤตสินเชื่อ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50681542/central-bank-closely-monitoring-real-estate-and-construction

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชายังคงมีแนวโน้มคงที่ในปี 2563

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของประเทศในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะยังคงมีความมั่นคงและเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคส่วนที่นักธุรกิจภายในมองว่าเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับนักลงทุน โดยผู้อำนวยการฝ่าย CBRE กัมพูชากล่าวว่าตลาดแสดงสัญญาณการฟื้นตัวในปีนี้แม้จะมีความเสี่ยงและความวุ่นวายต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาปะหยัดและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นน่าจะเป็นจุดสนใจสำหรับปี 2563 ตามรายงานของ CBRE ในไตรมาสที่สามของปี 2562 กรุงพนมเปญรายงานว่ามีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ 9 โครงการ คิดเป็น 5,140 ยูนิต โดยการเปิดตัวโครงการใหม่จะมุ่งเน้นไปที่อำเภอ Chamkarmon และ Chroy Changvar ซึ่งคิดเป็น 44% และ 40% ของหน่วยที่เปิดตัวใหม่ตามลำดับ ส่วนใหญ่ของการเปิดตัวใหม่อยู่ในตำแหน่งช่วงกลางซึ่งประกอบด้วยประมาณร้อยละ 52 (ประมาณ 2,700 หน่วย) ของการเปิดตัวทั้งหมด

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50679140/real-estate-market-stable-for-2020

ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งเปิดใหม่หรือมีชื่อว่า IWF Investment Cambodia ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Tin Yuet (TY) ของสิงคโปร์ โดยบริษัทในสิงคโปร์และ Asia Union Reits จะให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์แก่นักลงทุนต่างชาติในกัมพูชา ซึ่งมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างพิธีเปิดการลงทุนอย่างเป็นทางการของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ IWF Investment โดยกล่าวเสริมว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังเติบโตควบคู่ไปกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งให้โอกาสมากมายแก่นักลงทุน ซึ่งจะร่วมเป็นพันธมิตรกับ TY Capital นำนักลงทุนต่างชาติที่สนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มายังกัมพูชา โดย TY Capital จะให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนต่างชาติและจะแนะนำนักลงทุนให้กับ IWF Investment สำหรับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งหวังว่าการเป็นพันธมิตรกับ TY Capital จะนำนักลงทุนมาที่กัมพูชามากขึ้นและยังนำความรู้ด้านเทคนิคมาสู่กัมพูชาอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677277/real-estate-firms-cement-a-powerful-partnership

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619