‘กัมพูชา-สปป.ลาว’ เตรียมถกศักยภาพรถไฟความเร็วสูง

นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว หารือสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในช่วงการเยือนอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆนี้ โดยมีสาระสำคัญ คือ โครงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังมีความเห็นตรงกันในเรื่องของการเชื่อมโยงระหว่างแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปิอ กับ 2 จังหวัดของกัมพูชา คือ ปราสาทพระวิหารและรัตนคีรี ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวยังได้ครอบคลุมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงเมืองต่างๆ โดยเฉพาะหลวงพระบาง เสียมราฐและพนมเปญ เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้มีการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/02/16/laos-cambodia-discuss-potential-high-speed-rail-link/

Jeju Air เตรียมเปิดให้บริการเที่ยวบิน เกาหลีใต้-สปป.ลาว

บริษัท เชจูแอร์ ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์รายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ประกาศจะกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่าง สปป.ลาว และเวียดนาม ในเดือนเมษายนที่จะถึง หลังจากระงับเที่ยวบินไปกว่า 3 ปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามรายงานของสำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้ โดยบริษัทวางแผนที่จะเริ่มให้บริการในเส้นทางจากอินชอนไปยังเวียงจันทน์ รวมถึงไปยังฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ ในเวียดนาม ในวันที่ 20 เมษายน หลังจาก สปป.ลาว เปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้ที่นั่งบนเที่ยวบินของสายการบิน สปป.ลาว ถูกจับจองไปแล้วกว่าร้อยละ 70-80 เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวยัง สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten32_Korea_y23.php

‘กัมพูชา-สปป.ลาว’ กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

จากการแถลงข่าวที่จัดขึ้นในนครเวียงจันทร์ สปป.ลาว สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวชื่นชมถึงความคืบหน้าในการค้าระหว่างทั้งสองประเทศที่สร้างมูลค่าสูงถึง 210 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 160 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้หารือถึงความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่างๆ อาทิเช่น พลังงาน ความร่วมมือทางชายแดน การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน อีกทั้ง เหตุจากสปป.ลาว เป็นแบตเตอรี่แห่งอาเซียน ทั้งสองประเทศจึงมุ่งเน้นความร่วมมือในด้านการพัฒนาพลังงานทั้งพลังงานไฟฟ้า น้ำและถ่านหิน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501238354/cambodia-laos-to-deepen-economic-cooperation/

นายกฯ ฮุนเซน ของกัมพูชา เดินทางเยือน สปป.ลาว เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมด้วยคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติวัดไตในเวียงจันทน์ ซึ่งมีกำหนดการเยือนสปป.ลาว ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีนาย Alounxay Sounnalath รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้การต้อนรับ ซึ่งในการเยือนสปป.ลาว ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ยาวนานระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ สปป.ลาวและกัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาตั้งแต่ปี 2499 และในปี 2562 ได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการพัฒนาในทุกมิติของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา: https://kpl.gov.la/En/detail.aspx?id=71435

ปี 2565 สปป.ลาว นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากเวียดนาม พุ่งไปถึง 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของ AEC CONNECT พบว่าในปีที่ผ่านมาการนำเข้าเชื้อเพลิงของสปป.ลาวจากเวียดนามเพิ่มขึ้น 439% มีมูลค่า 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนการส่งออกจากสปป.ลาวไปเวียดนามเพิ่มขึ้น 34.6% มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นต้น เช่น ไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และยางมะตอย   เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประเทศไทย ได้คาดการณ์ว่าสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา ในปี 2566 เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น    โดยที่ผ่านมา สปป.ลาว  ได้นำเข้าเชื้อเพลิงจากไทยเป็นหลัก  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า สปป.ลาว จะนำเข้าเชื้อเพลิงจากไทยเท่านั้นอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ในทางกลับกัน สื่อท้องถิ่นรายงานว่าเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินกีบ และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันมีความผันผวน จึงกลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้นำเข้าเชื้อเพลิงในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

ที่มา: https://laotiantimes.com/2023/02/10/laos-fuel-imports-from-vietnam-reaches-over-usd-120-million-in-2022/

ADB กล่าวถึงกุญแจสำคัญด้านการค้าและการลงทุนในอนาคตของ สปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กล่าวว่า การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียและแปซิฟิก รวมถึง สปป.ลาว ซึ่งจะข้อความร่วมมือไปยังรัฐบาลระดับภูมิภาคทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ตามรายงานฉบับล่าสุดของ ADB โดยรายงานการบูรณาการเศรษฐกิจในเอเชีย (AEIR) ประจำปี 2023 ระบุว่า แม้ว่าการค้าและการลงทุนจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในเอเชียในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็นำไปสู่การเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากสภาพอากาศโลก โดย ADB มุ่งหวังว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ เช่น การส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลธุรกิจสีเขียว การพัฒนากลไกการกำหนดราคาคาร์บอน และการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านข้อตกลงการค้าและการลงทุน เพื่อเป็นการผลักดันการลดคาร์บอนในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Greener28.php