‘บริษัทญี่ปุ่น’ เล็งขยายการลงทุนอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิตในเวียดนาม

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยผลการสำรวจกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนาม 700 ราย พบว่าในภาพรวม บริษัทญี่ปุ่นเข้าไปขยายการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิต (Non-manufacturing Industries) มากขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมการปลีก การศึกษา การดูแลสุขภาพ พลังงาน การเงินการประกันภัย การขนส่งและอสังหาริมทรัพย์ โดยยังพบว่าบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในภาคการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ 51.7% วางแผนที่จะขยายธุรกิจในเวียดนามอีก 1-2 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันเมื่อสอบถามถึงกลุ่มบริษัทที่ไม่ใช่ภาคการผลิตส่วนใหญ่ 58.7% ต้องการทำเช่นเดียวกัน เพิ่มขึ้น 12.1% ทั้งนี้ นาย Hirai Shinji หัวหน้าตัวแทนของ JETRO สาขานครโฮจิมินห์ กล่าวว่าบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในเวียดนามดำเนินธุรกิจการผลิตอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันเม็ดเงินทุนจากต่างชาติกำลังไหลเข้าไปยังอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค การค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1165354/japanese-firms-in-viet-nam-eye-non-manufacturing-industries.html

 

การค้าระหว่าง กัมพูชา-ญี่ปุ่น แตะ 180 ล้านดอลลาร์ ในเดือน ม.ค.

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 คิดเป็นมูลค่า 181 ล้านดอลลาร์ ในเดือนมกราคมปีนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 142 ล้านดอลลาร์ ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ในทางกลับกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมูลค่ารวม 39 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 โดยสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกัมพูชานำเข้า เครื่องจักร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ไฮเทคเป็นสินค้านำเข้าหลัก โดยในปีที่แล้ว ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 2,332 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 1,752 ล้านดอลลาร์ไปยังญี่ปุ่นในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501038181/cam bodia-japan-trade-tops-180-million-in-january/

กัมพูชา-ญี่ปุ่น จัดการเจรจาค้นหาโอกาสด้านการลงทุน

คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีและนักธุรกิจระดับทวิภาคีจากทั้งญี่ปุ่นและกัมพูชาได้จัดประชุมเมื่อต้นเดือน ก.พ. ณ สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เพื่อเปิดมุมมองใหม่สำหรับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในการลงทุน ในกัมพูชา ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขยายการลงทุนและเป็นส่วนในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในกัมพูชา โดยในการประชุมได้พูดถึงภายใต้กรอบความตกลงระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น ว่าด้วยการเปิดเสรี การส่งเสริม และการคุ้มครองการลงทุน ซึ่งลงนามโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน และอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เมื่อ 14 ม.ย. 2007 ที่ผ่านมา โดยได้ยกหัวข้อขึ้นมาอภิปราย ได้แก่ ผลประโยชน์ทางภาษี การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ ลดอัตราค่าไฟฟ้า และการนำเข้ารถยนต์โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในกัมพูชา ซึ่งในเดือน ม.ค. เพียงเดือนเดียว สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติและจดทะเบียนโครงการลงทุน 147 โครงการ ของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ด้วยเงินลงทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501028593/cambodia-and-japan-hold-high-level-talks-to-explore-investment-opportunities/

เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา ให้คำมั่นส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา

Sok Chenda Sophea รัฐมนตรีผู้แทนนายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และ Masahiro MIKAMI เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมกัมพูชา ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ณ สภาพัฒนากัมพูชา โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการรักษาระดับการลงทุน ซึ่งรัฐมนตรีผู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเพิ่งได้รับการอนุมัติและประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2021 ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานทางกฎหมายด้านการลงทุนสำหรับกัมพูชา ในการดึงดูดการลงทุนและช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501028646/the-japanese-ambassador-to-cambodia-committed-to-continue-efforts-to-promote-japanese-fdi-inflow-into-cambodia/

กัมพูชาส่งออกไปยังญี่ปุ่นมูลค่าแตะ 1.752 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่าแตะ 1,752 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าแตะ 2,332 ล้านดอลลาร์ โดยกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นรวมมูลค่า 580 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นอยู่ที่ 1,172 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ซึ่ง JETRO ขึ้นบัญชีเสื้อผ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น และเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ไฮเทคเป็นสินค้านำเข้าหลักของกัมพูชาจากญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501018169/cambodias-export-to-japan-nets-1-752-billion-in-2021/

ญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญา 8.78 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับระบบเตือนภัยล่วงหน้า

รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงที่จะจัดหาเงิน 1 พันล้านเยน (8.78 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในหกจังหวัดของสปป.ลาว ระบบได้รับการออกแบบเพื่อให้ข้อมูลพยากรณ์อากาศและช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่เป็นอันตราย การใช้ระบบจะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงได้และยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวด้วย โดยมีมูลค่ารวมของความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศต่อปีมากถึง 164 ล้านเหรียญสหรัฐ ความช่วยเหลือของญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลญี่ปุ่นในการสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของลาวสำหรับปี 2564-2568 และช่วยให้ประเทศจัดการกับเหตุการณ์สภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างลาวและญี่ปุ่นกระชับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากทั้งสองประเทศยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2558

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan23.php

‘เวียดนาม-ญี่ปุ่น’ มูลค่าการค้าแตะ 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 64

จากข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นการส่งออก มีมูลค่า 20.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น มีมูลค่า 22.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้ากว่า 2.52 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเป็นสินค้าสำคัญสูงสุด ด้วยมูลค่าการนำเข้าราว 6.22 พันล้านเหรียญสหรัญ คิดเป็น 27.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากตลาดญี่ปุ่น รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ในขณะเดียวกัน สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดญี่ปุ่น มีจำนวน 3 รายการ ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ (2.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสินค้าเวียดนาม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร กำลังกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-japan-trade-turnover-hits-us427-billion-in-2021-post919292.vov

ญี่ปุน มอบเงิน 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับอุปกรณ์สนามบินสปป.ลาว

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีการลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับ “การจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน” และความช่วยเหลือแบบให้เปล่าที่กระทรวงการต่างประเทศในเวียงจันทน์โดยนาย Phoxay Khaykhamphithoune รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Kenichi Kobayashi เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำลาว ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น โครงการนี้จะจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน เช่น รถประจำทางเพื่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารกับเครื่องบิน ระบบปรับอากาศในสนามบิน และสะพานขึ้นเครื่อง เงินช่วยเหลือดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการขนส่งและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับปรุงคุณภาพการบริการสนามบินในประเทศสปป.ลาวและเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองแก่ผู้ใช้บริการ อีกทั้งความช่วยเหลือของญี่ปุ่นยังเป็นสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลลาวในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนามบินนานาชาติและส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างลาวกับส่วนอื่น ๆ ในภูมิภาค
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_249.php

พาณิชย์ เผย 10 เดือนแรกไฟเขียวต่างชาติลงทุนในไทย 213 ราย จ้างงานกว่า 5 พันคน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.64) คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 213 ราย เงินลงทุนรวมกว่า 11,554 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 5,000 คน ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 82 ราย คิดเป็น 38% สิงคโปร์ 33 ราย คิดเป็น 15% และฮ่องกง 20 ราย คิดเป็น 9%

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/148468

กัมพูชา อนุมัติโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นรวม 146 โครงการ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนของญี่ปุ่น ผ่านการรับการส่งเสริมการลงทุน (QIP) ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการรับรองไปแล้ว 146 โครงการ ณ เดือนตุลาคม ด้วยเงินลงทุนรวม 2,853 พันล้านดอลลาร์ โดยเลขาธิการ CDC กล่าวเสริมถึงการที่กัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมากในการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนและภาคธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 66 โครงการที่มีเงินลงทุนสะสมรวม 340 ล้านดอลลาร์ ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โดยในปีนี้ CDC อนุมัติโครงการการลงทุนใหม่ผ่าน QIP ไปแล้ว 87 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 3 พันล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา มีเพียง QIP เท่านั้น ที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายฉบับนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50970860/146-japanese-investment-projects-valued-at-2-8-billion-registered-at-cdc/