รัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าจัดเก็บภาษีให้ได้ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรมสรรพากร (GDT) ประกาศว่ามีเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้จากภาษี 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้โดยในเดือนมกราคมมีการเก็บภาษีไปแล้วประมาณ 239 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็น 8.3% ของเป้าหมายประจำปีและเพิ่มขึ้น 14.75% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งผู้อำนวยการ GDT กล่าวว่าเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายในปี 2563 กรมฯจะดำเนินการอย่างเข้มงวดและดำเนินการตามการปฏิรูปนโยบายของรัฐบาล โดยการจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้นเกิดมาจากการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีใหม่ร่วมด้วย ท่ามกลางมาตรการที่ดำเนินการในปีนี้คือการหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะ รวมถึงวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรัฐบาลมีรายได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากรายได้ที่มาจากภาษีและไม่ใช่ภาษีโดยระบุว่าประเทศสามารถประหยัดได้ 100 ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากการจัดเก็บภาษี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692368/stricter-tax-collection-puts-2-9-billion-target-in-sight

ระบบชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งบริเวณพรหมแดนสปป.ลาว

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ทั้งในด้านการจัดการสำหรับยานพาหนะการท่องเที่ยวและรถบรรทุกขนสินค้าระหว่างพรหมแดน  โดยมีการติดตั้งระบบชำระเงิน QR Code ที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยทั้ง 4 แห่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและยังเป็นการช่วยป้องกันการรั่วไหลของการเงินอีกด้วย นอกจากนี้ด้านการค้าและการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนให้น้อยลงเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของสปป.ในบริเวรพรหมแดนต่างๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electronic-tax-payment-system-installed-bokeo-friendship-bridge-113258

จัดเก็บภาษีเพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของการค้าเสรี

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าจากการลงนามและการดำเนินงานตามข้อตกลงการค้าเสรีนั้น จะมีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นของเวียดนามในปีนี้ ซึ่งมูลค่าการจัดเก็บภาษีทั้งหมดอยู่ที่ 335.6 ล้านล้านดง (14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และยังคงสูงกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ ผลกระทบของการค้าเสรี จะขยายไปในทิศทางที่เป็นบวกทั้งการค้าและการลงทุนของเวียดนาม สำหรับงานแถลงข่าวในวันพุธที่ผ่านมา ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม เกาหลีใต้ (RoK) และ ASEAN ในเรื่องข้อตกลงหุ้นส่วนทางการค้า CPTPP ส่งผลเกิดการพัฒนาของธุรกิจเวียดนามและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ มูลค่าการจัดเก็บภาษีส่งออก-นำเข้า อยู่ที่ 105.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 7.97% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์และน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ทางสำนักงานศุลกากรเวียดนามได้ปราบปรามการลักลอบการนำเข้าและการทุจริตทางการค้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570061/free-trade-agreements-increase-tax-collection.html

‘ภาษีซ้ำซ้อน’ดับฝันลงทุนนอก สภาอุตฯจี้รัฐออกมาตรการลดหย่อนเพิ่ม

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ เผยรัฐแก้ปัญหาภาษีนิติบุคคลซ้ำซ้อน ไม่เอื้อดึงกำไรกลับ พร้อมแนะบีโอไอ ออกมาตรการลดหย่อนภาษีเสริมอีกชั้น ย้ำโฟกัสตลาดเพื่อนบ้านดีสุดเสี่ยงน้อย ส่วนการลงทุนในประเทศชะลอลากยาวถึงไตรมาส 1 ปี’63 ผลสำเร็จ EEC ยังไม่เร้าใจเท่าคู่แข่ง ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคเอกชนเดือนก.ย.62 ลดลงมาอยู่ที่ 92.1 ต่ำสุด ในรอบ 12 เดือน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ และเงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการจึงต้องกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดอื่นมากขึ้น แต่ยังมีพบข้อจำกัดหลายด้าน และการสนับสนุนผู้ประกอบการออกไปลงทุนต่างประเทศของบีโอไอ จะอยู่ภายใต้กองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมและกิจกรรมให้กับนักลงทุนไทยหน้าใหม่ ภายใต้โปรแกรม TOISC ซึ่งประเทศเป้าหมายและกลุ่มที่มีศักยภาพยังคงเป็น CLMV ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกอง ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายขนาดตลาดการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ  เพื่อแสวงหาวัตถุดิบและแรงงานที่ถูก เพื่อการกระจายความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพ และค้ำจุนตลาดการเงิน และเพื่อแลกเปลี่ยนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 ต.ค. – 3 พ.ย. 2562

รายได้จากศุลกากรของกัมพูชาถึงเป้าหมายก่อนสามเดือนที่กำหนดไว้

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีกัมพูชามีรายรับ 2.3 พันล้านดอลลาร์จากการจัดเก็บภาษีและภาษีสรรพสามิตซึ่งเกินเป้าหมายของรัฐบาลตลอดทั้งปีแล้ว 5% โดยหลังจากนี้อีกสามเดือนคาดหวังว่าจะจัดเก็บภาษีได้อีก 800 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี ซึ่งรายได้จากการจัดเก็บจะถูกใช้ไปกับการลงทุนภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับเพื่อเป็นการลดการพึ่งพารัฐบาลต่างประเทศลง โดยเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีศุลกากรและการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นสัญญาณเชิงบวกที่หมายถึงประเทศกำลังนำเข้ามากขึ้นเพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการต่อสู้กับการทุจริตและประสิทธิภาพของความพยายามร่วมกันของทุกหน่วยงาน ซึ่งยังมีช่องว่างมากมายสำหรับการปรับปรุงในเรื่องการจัดเก็บภาษี โดยบริษัท ใหญ่ทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านภาษี ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชามีรายรับและภาษีสรรพสามิต 2.5 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647257/govt-reaches-customs-revenue-goal-three-months-in-advance/

อุตสาหกรรมการก่อสร้างหวังลดภาษี

อุตสาหกรรมการก่อสร้างหวังจะได้รับการลดภาษีจากการเรียกร้องไปเมื่อปีที่แล้วแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งตัดสินใจที่จะไม่ลดภาษีได้สร้างแรงกดดันให้กับอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์นับตั้งแต่ปี 57 คณะกรรมการกลางผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมากล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องได้รับการผ่อนปรนเพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินโครงการต่างๆได้มากขึ้น โดยภาษีที่เสนอคือ 3% สำหรับการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าระหว่าง 1 จัต ถึง 100 ล้านจัต 5% สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านจัต ถึง 300 ล้านจัต 10% สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 300 ล้านจัตถึง 3 พันล้านจัตและ 30% สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงกว่า 3 พันล้านจัต ด้านเลขาธิการสมาคมบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ของเมียนมาร์กล่าวว่าภาษีน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่มองหาที่พักอาศัยเป็นครั้งแรก จึงควรลดภาษีในครั้งแรกเพื่อเป็นทางเลือกในการผ่อนระยะยาว ซึ่งการลดภาษีเป็นเวลาสองถึงสามปีจะช่วยกระตุ้นตลาด สามารถนำรายได้จากภาษีให้กับรัฐบาลและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจดีขึ้น อีกทั้งจะช่วยให้สามารถลงทุนได้มากขึ้นและเพิ่มทุนสำหรับการลงทุนและการขยายธุรกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-industry-hoping-less-taxes.html

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้รัฐบาลสปป.ลาว เพิ่มรายได้

จากข้อมูลจากกระทรวงการคลัง รายรับจากภาษีเพิ่มขึ้น 20% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นตามการเปิดตัวของระบบข้อมูลการจัดการสรรพกร (TAXRIS) เมื่อต้นปี จนถึงขณะนี้ระบบปฏิบัติการใน 10 เมืองใหญ่ใน 7 จังหวัดของสปป.ลาว และวางแผนที่จะขยายระบบไปยังทุกจังหวัดภายใน  ปี 63 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงระบบการชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์และปรับปรุงความโปร่งใสในภาคการเงิน ในขณะเดียวกันผู้เสียภาษีจะได้รับการสนับสนุนให้ชำระเงินผ่าน TAXRIS และระบบธนาคารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้ที่สะพานมิตรภาพสปป.ลาว – ​​ไทยแห่งแรก ซึ่งระบบอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้รายได้สะสมที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยแห่งแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 61 ในปี 62 รัฐบาลมีแผนที่จะเก็บรายได้ 26.3 ล้านล้านกีบซึ่งคาดว่ารายรับในประเทศจะอยู่ที่ระดับ 24.24 ล้านล้านกีบ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ 33.39 ล้านล้านกีบในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้การจัดเก็บรายได้คาดว่าจะถึง 12.96 ล้านล้านกีบคิดเป็น 49.2 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายตลอดทั้ง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electronic_175.php