ข้าวเวียดนาม เผชิญการแข่งขันจากอินเดียและฟิลิปปินส์

ตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกข้าวของเวียดนาม อยู่ที่ 2.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.3% ในด้านปริมาณ และ 5% ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ราคาข้าวของเวียดนามนั้น สูงกว่าราคาข้าวของอินเดียและไทยค่อนข้างมาก ข้าวเวียดนาม 1 ตัน สูงกว่าข้าวไทย 20 เหรียญสหรัฐ และสูงกว่าข้าวอินเดีย 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากเฉลี่ยราคาข้าวของเวียดนามในช่วง 4 เดือยแรกของปีนี้ แตะ 543 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ฟิลิปปินส์ประกาศยกเลิกภาษีนำเข้าแก่กลุ่มประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตลอดจนประเทศที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการนำเข้าข้าวราคาถูกจากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดให้แก่ฟิลิปปินส์ แต่ว่าฟิลิปปินส์ยังรับซื้อข้าวจากไทยและอินเดีย รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-rice-faces-competition-from-india-in-philippines-4293486.html

พ่อค้าถั่วชี้ เกษตรควรปลูกถั่วดำ ถั่วแระเพิ่ม คาดราคาพุ่งขึ้นถึงปีหน้า

ผู้ค้าถั่ว เผย เกษตรกรควรหันมาปลูกถั่วดำและถั่วแระให้มากขึ้นเนื่องจากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงปีหน้าจากความต้องการของอินเดียที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอินเดียขอโควต้าการนำเข้า 400,000 ตัน ขณะที่สต๊อกถั่วมีประมาณ 250,000 ตัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มตามไปด้วย โดยถั่วดำจะทำการเพาะปลูกในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคม ในเขตพะโคและเขตอิระวดี พื้นที่ตอนบนของมัณฑะเลย์และเขตมะกเว ส่วนถั่วแระจะมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วประเทศและส่วนใหญ่ผลิตในตอนกลางของประเทศ ราคาของถั่วดำและถั่วแระขึ้นอยู่กับความต้องการของอินเดีย โดยราคาส่งออกถั่วเมียนมาลดลง 97,000 จาก 120,000 จัตในปี 2558 ซึ่งตั้งแต่ปี 60 จะเห็นว่าราคถั่วเมียนมาลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของอินเดียส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มหันมานำเข้าถั่วจากเมียนมามากขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 ราคาถั่วดำอยู่ที่ 100,000-130,000 จัตต่อ 60 visses ในขณะที่ถั่วแระราคาอยู่ที่ 86,000-95,000 จัตต่อ 60 visses (1 visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-black-beans-pigeon-peas-to-be-grown-as-prices-likely-to-rise-higher-until-next-year/

ปีงบฯ 64 ค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย พุ่ง 84 ล้านดอลลาร์ ฯ

จากรายงานขอวงกระทรวงพาณิชย์ การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียแตะ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 16 เมษายนในปีงบประมาณปัจจุบัน (63-64) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ โดยเพิ่มขึ้น 84.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออก 160.086 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 0.811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนส่วนใหญ่จะผ่านด่านทามู ด่านรีด และด่านถลาง สินค้าส่งออกประกอบด้วย ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน สินค้าประมง ผลไม้ และผัก ส่วนการนำเข้าจะเป็น ยา ออยล์เค๊ก เครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ เหล็ก และเครื่องจักรก่อสร้างอื่น ๆ และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-84-mln-this-fy/#article-title

อินเดียเล็งนำเข้าพริกไทยและขมิ้นจากกัมพูชา

สถานทูตอินเดียประจำกัมพูชาระบุถึงความต้องการของอินเดียที่จะนำเข้าสินค้าภาคการเกษตร ของกัมพูชา โดยเฉพาะพริกไทยและขมิ้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ทางสถานทูตอินเดียประจำประเทศกัมพูชาจะจัดให้มีการประชุมเสมือนจริงระหว่างคณะกรรมการเครื่องเทศของอินเดียและคู่สัญญาผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตรของกัมพูชา ในการหารือเกี่ยวกับโอกาสสำหรับเครื่องเทศกัมพูชาในตลาดอินเดีย พร้อมกับข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช หลังจากการหารือดังกล่าวบริษัทอินเดียและกัมพูชาจะต้องมีการประชุมแบบ B2B อีกทั้งรัฐบาลกัมพูชายังสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรมองหาโครงการในลักษณะปลอดภาษีอากรภายในประเทศอินเดีย ที่ขยายไปยังประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า (LDCs) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822835/india-seeking-pepper-and-turmeric-from-cambodia/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/

กัมพูชาเร่งศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอินเดีย

หลังจากการลงนามในข้อตกลงการค้าความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างกัมพูชาและจีน รวมถึงได้ข้อสรุปในการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้แล้ว กัมพูชายังคงมองหาคู่ค้าที่มีศักยภาพในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีต่อไป โดยเฉพาะกับอินเดีย ซึ่งโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันวิจัยอิสระในภูมิภาคเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ของ FTA ระหว่างประเทศคู่ค้าต่อไป โดยการศึกษายังอยู่ในระหว่างดำเนินการและเกี่ยวข้องกับการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเตรียมการสำหรับการเจรจาระหว่างอินเดียในระยะถัดไป ซึ่งอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีกำลังซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นถึงตลาดที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาและเป็นเป้าหมายเชิงตรรกะต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าที่หวังไว้สำหรับกัมพูชาในอนาคต ข้อมูลจากสถานทูตอินเดียในกัมพูชากล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2018 อยู่ที่ 227 ล้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816522/looking-to-india-for-next-major-fta-agreement/

บ.อินเดีย เริ่มซ่อมถนนชายแดนมิตรภาพอินเดีย – เมียนมา

เมียนมามีแผนจะซ่อมแซมสะพาน 69 แห่งที่อยู่บนถนนชายแดนกะเล่ถึงตามู นอกจากสะพานแล้วบางส่วนของถนนกะเล่-กะเล่วะก็จะได้รับการปรับปรุงด้วย ก่อนหน้านี้บริษัทอินเดียแห่งหนึ่งชนะการประกวดราคา แต่ถูกเพิกถอนเนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการยื่นประมูล รัฐบาลอินเดียได้จัดให้มีการประกวดราคาครั้งใหม่ กระทรวงการก่อสร้างของเมียนมาจะเตรียมการเพื่อยื่นเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเมียนมา (Hluttaw) ถนนกะเล่วะ – ญาจี บนเส้นทางการค้าชายแดนเมียนมา – อินเดียเป็นส่วนที่สั้นที่สุดโดยมีระยะทาง 115 ไมล์ ถนนสร้างขึ้นในปี 2543 ถนนข้ามสะพาน 175 แห่งและท่อระบายน้ำ 183 แห่ง เปิดใช้ในปี 2547 แต่เสื่อมโทรมลงทำให้รถบรรทุกไม่สามารถวิ่งได้ บริษัท IMT Expressway ของอินเดียคาดว่าจะซ่อมบำรุงอย่างหนักภายในปี 2564 นี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-friendship-road-repairs-works.html

อินเดีย-เมียนมา เดินหน้าเจรจาทวิภาคีหนุนการค้าและการลงทุน

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าเมียนมา – อินเดียครั้งที่ 7 ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี นายอูหมินหมิน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าเมียนมากล่าวว่าการหารือเป็นไปเพื่อกระตุ้นการค้ารวมถึงการเพิ่มโควต้าการนำเข้าของอินเดียสำหรับถั่วและพัลส์ และการเปิดตลาดชายแดน หลังจากแก้ปัญหาชายแดนการขยายตลาดสำหรับภาคสิ่งทอได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของอินเดียในภาคการเกษตรและปศุสัตว์และเร่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานตามเส้นทางการค้าเมียนมา – อินเดีย นอกจากนี้ยังจับมือกับ MyanTrade ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดโอกาสพัฒนาและการเติบโตใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ การขนส่ง และการธนาคารของเมียนมาด้วย ทั้งสองประเทศยังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการลงทุนของอินเดียในภาคพลังงานของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-strengthen-bilateral-trade-and-investment.html

อินเดียขยายโควตานำเข้าถั่วเพื่ออุ้มเกษตรกรในเมียนมา

ภายหลังการเจรจา 2 เดือน อินเดียได้อนุมัติการนำเข้าถั่วเขียว 150,000 ตัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งจะขยายจากกรอบเวลาเดิมคือสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นอกจากนี้ยังจะผลักดันราคาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อินเดียเริ่มกำหนดโควต้าการนำเข้าถั่วในเดือนสิงหาคม 2560 โดยปีนี้กำหนดโควต้าไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับถั่วที่จะส่งออกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรเมียนมาสามารถส่งออกได้เพียง 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งเมียนมาถือเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์รายใหญ่ที่สุดให้กับอินเดีย ขณะนี้อินเดียได้ให้โควต้าการนำเข้าถั่วเขียวไปแล้ว 150,000 ตัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 ในขณะเดียวกันเมียนมาส่งออกถั่วและพัลส์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ และเนปาล ความต้องการที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาถั่วเขียวได้พุ่งสูงถึง 1.12 ล้านจัตต่อตันเมื่อเทียบกับ 1.08 จัตล้านต่อตันก่อนการประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-extension-bean-import-quota-benefit-myanmar-farmers.html

สมาคมเมียนมา – อินเดีย เริ่มใช้ระบบนายหน้าในการนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศ

สมาคมเมียนมา – อินเดียตอนบนเริ่มธุรกิจนายหน้าการค้าหลังจากเศรษฐกิจเมียนมากลับสู่สภาวะปกติหลังจากการระบาดของโควิด -19 เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าจากเมียนมาและอินเดีย แม้ว่าผู้ค้าจากอินเดียต้องการทำธุรกิจในเมียนมา แต่ยังไม่มีพันธมิตรหรือผู้เชื่อมโยงทางการค้า ดังนั้นหากผู้ค้าของอินเดียที่ค้าขายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือถั่วมา โดยสามารถจะเชื่อมโยงกับคู่ค้าในเมียนมาได้ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในเดือนมีนาคมการค้าระหว่างสองประเทศหยุดชะงักลงและประตูพรมแดนที่รัฐชิน สะกาย และมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าหลัก ดังนั้นการค้าจึงดำเนินการผ่านเส้นทางเดินเรือเท่านั้น การค้าในปีงบประมาณ 2561-2562 มีมูลค่ารวม 201 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกมูลค่า 177.ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนการระบาดของ COVID-19 องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)ได้ปรับปรุงถนนที่เชื่อมโยง Reed กับ Tiddim และ Kalay ในรัฐ Chin เพื่อเชื่อมโยงการค้า เมียนมาส่งออกถั่วพลูและถั่วเป็นหลักตลอดจนเสื้อผ้าและพลาสติกไปยังชายแดนของอินเดีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2019 ในปีงบประมาณ 2562-2563 การส่งออกผ่านชายแดนจากสองเส้นทางนี้มีมูลค่าเพียง 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/traders-broker-direct-imports-exports-between-myanmar-india.html