LMC เปิดตัวกองทุนพิเศษ 7 โครงการในเมียนมา

เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566  นาย อองจี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทานของเมียนมา เป็นประธานในพิธีการเปิดตัว 7 โครงการของกองทุนพิเศษ ภายใต้ความร่วมมือด้านแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและสถานะความเป็นอยู่ของชาวชนบทในเมียนมาและจะครอบคลุมการทำสวนยาง การผลิตอ้อยที่ได้คุณภาพ การผลิตงา และการเลี้ยงปลาน้ำจืด ทั้งนี้ จีนริเริ่มกองทุนพิเศษของ LMC ในปี 2559 เพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้กับ 6 ประเทศกลุ่มล้านช้าง-แม่โขง ประกอบด้วย จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20230114/1c970beba0fe46949a2f8f02f3c745d5/c.html

เดือนธ.ค 65 เมียนมาโกยเม็ดเงิน FDI เข้าประเทศกว่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ

จากสถิติของ คณะกรรมการของ การลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) พบว่า 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีบริษัทจากต่างชาติทั้งหมด 44 แห่ง ได้เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตเมียนมาคิดเป็นมูลค่ากว่า 187.426 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด้านการเกษตรดึงดูดเม็ดเงินกว่า 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 2 โครงการ, ด้านพลังงาน 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10 โครงการ, อสังหาริมทรัพย์ 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 1 โครงการ, ด้านบริการ  413.068 ล้านดอลลาร์ จำนวน 2โครงการ, ภาคการผลิตเหมืองแร่ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจาก 1 โครงการ ทั้งนี้ ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอที่ผลิตแบบการตัด การผลิต และการบรรจุภัณฑ์ (CMP) และเป็นส่วนสำคัญของ GDP ของประเทศ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเม็ดเงินลงทุนจะมาจากจีน และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-pilgrims-flock-to-shwedagon-pagoda-during-public-holidays/

“เดนมาร์ก” มอบเงินช่วยเหลือ MSMEs ของเมียนมา เป็นจำนวนกว่า 2 พันล้านจัต

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กองทุน the Responsible Business Fund (RBF) เป็นกองทุนที่สนับสนุนโดยเดนมาร์กเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เดนมาร์กให้คำมั่นว่าจะมอบเงินจำนวน 2 พันล้านจัต เป็นครั้งที่ 6 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเมียนมา (MSMEs)  ในการดำเนินในโครงการพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดย 5 ปี ที่ผ่านมา เดนมาร์กได้มอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือเมียนมาไปแล้วกว่า 19,576 พันล้านจัต ให้กับ MSMEs จำนวน 609 ราย ทั่วประเทศเพื่อสนับสนุน MSMEs ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจและปรับเพฤติกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/denmark-to-contribute-k2-billion-for-myanmar-smes/#article-title

9 เดือนที่ผ่านมา ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกแร่ธาตุ ไปแล้วมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนธันวาคม 25665) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มูลค่าการส่งออกแร่ธาตุของเมียนมา มีมูลค่ามากกว่า 222.341 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เป็นการส่งออกโดยภาครัฐมูลค่า 16.151 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ภาคเอกชนส่งออกแร่มูลค่า 206.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปีงบประมาณ 2564-2565 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จาการส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 519.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกแร่ธาตุไว้ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับแร่ธาตุส่งออกสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทอง หยก มุก ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และสินแร่อื่นๆ ทั้งนี้  ในช่วงงบประมาณย่อยปี 2564-2565 ( เดือนตุลาคม 2564-เดือนมีนาคม 2565) การส่งออกแร่ธาตุของเมียนมามีมูลค่า 288.599 ล้านดอลลาร์ และในปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 895.611 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-export-bags-over-200-million-in-past-nine-months/

9 เดือน ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกกุ้ง พุ่ง! 12,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศกว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน 2565-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศมากกว่า 12,355 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 10,388 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อน โดยสินค้าประมงของเมียนมาถูกส่งออกไปยัง 45 ประเทศในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่ส่งออกผ่านการค้าชายแดนเป็นหลัก ในธุรกิจเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่นำเข้าลูกพันธ์กุ้งจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้ ภาคการเกษตรถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของเมียนมา โดยคิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และคิดเป็นร้อยละ 68 ของรายได้หลักของชุมชนในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us44-mln-from-export-of-over-12000-mt-of-shrimps-to-foreign-markets-in-9-months/

ธุรกิจ 53 แห่ง แห่ลงทุนในย่างกุ้ง สร้างตำแหน่งงานมากกว่า 35,000 ตำแหน่ง

สำนักงานของรัฐบาลเขตย่างกุ้ง เผย ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีธุรกิจทั้งจากต่างประเทศและในประเทศจำนวน 53 แห่ง ได้เข้ามาลงทุนในสู่เขตย่างกุ้งสามารถสร้างตำแหน่งงานมากกว่า 35,792 ตำแหน่ง โดยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการและการผลิต แบ่งเป็นการลงทุนจากธุรกิจในประเทศ มากกว่า 19.396 พันล้านจัต จำนวน 12 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการผลิตกระเป๋า, ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, อาหารสำเร็จรูป, สินค้าประมง เช่น ปลาและกุ้ง เป็นต้น ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีการลงทุนมูลค่า 74.462 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 41 แห่ง ทั้งนี้ นอกเหนือจากการลงทุนในอุตสาหกรรม ยังมีการนำเงินมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจและจ้างแรงงานเพิ่มเติมอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/53-invested-businesses-create-more-than-35000-job-opportunities-for-local-people/#article-title